พญ.สมรมาศ กันเงิน
ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ่านเจอบทความนี้ในเว็บบอร์ดของคณะแพทยศาสตร์ ผู้โพสต์ anothai เขียนโดย พญ.สมรมาศ กันเงิน ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ (ม.อ.)
สอบถามไปยังอาจารย์ผู้เขียน ท่านบอกว่า บทความนี้เขียนไว้นานแล้วใน GO TO KNOW (คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้) จึงขออนุญาตนำบทความมาเผยแพร่ เป็นแนวทางให้นักศึกษาแพทย์
ช่วงที่เป็นนักศึกษา เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการ “ค้นหาตัวเอง” เรียนรู้ชีวิตให้รอบด้าน รู้จักคนให้หลากหลาย สะสมไว้เป็น “ต้นทุน” ชีวิตให้เยอะที่สุดเท่าที่จะเยอะได้
วันก่อน ได้รับเชิญจากหน่วยกิจการนักศึกษาของคณะ ให้ไปร่วมพูดคุยกับนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก (ปี 4-6) ในกิจกรรมวันพุธบ่ายเรื่อง “แพทย์เฉพาะทางกับการศึกษาต่อ” ซึ่งมีตัวแทนอาจารย์แพทย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งหมด 10 ภาควิชาไปร่วมพูดคุย บรรยากาศเป็นกันเองมากๆ ค่ะ เพราะตัวแทนที่ไปล้วนเป็น “เลือดใหม่” อาจารย์ที่เป็น “รุ่นเดอะ” ในวันนั้น เป็นรุ่นพี่ของฉันเพียง 3 รุ่น (อาจารย์รุ่นเก่ากว่านี้เลยไม่มีใครมาเป็นตัวแทน เพราะกลัวจะกลายเป็น “รุ่นเดอะสุด”) การพูดคุยเลยสนุก แซวกันไปแซวกันมาตามประสาพี่ๆ น้องๆ
ผิดกับสมัยที่ฉันเป็นนักศึกษาแพทย์ที่กิจกรรมวันพุธบ่าย มีแต่กิจกรรมวิชาการ ไม่บรรยายวิชาการ โดยอาจารย์จากภาคต่างๆ ก็เป็น CPC (clinico-pathological conference) ซึ่งนำเอาผู้ป่วยที่น่าสนใจ และได้รับการผ่าตรวจศพมาอภิปราย แต่ก็รู้ๆ กันนั่นแหละค่ะ กิจกรรมแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับการบรรยายในห้องเรียน คือ นักศึกษาเล่นบทเป็นผู้ฟังอย่างเดียว ไม่ซักถาม หรืออภิปรายอะไร
ฉันชอบกิจกรรม CPC ของโรงพยาบาลศิริราช เพราะเป็นกิจกรรมที่นักศึกษาแพทย์ของที่นั่นมี “บทบาท” ชัดเจน เด็กๆ จะรู้โดยอัตโนมัติว่า ในวันนั้น เขาจะต้องส่งตัวแทนของแต่ละชั้นปีขึ้นอภิปรายปัญหาผู้ป่วย ดังนั้น หลังจากที่เขาได้รับ scenario (สถานการณ์) ผู้ป่วยซึ่งกระจายแจกทั่วทั้งโรงพยาบาลแล้ว เขาจะเลือกตัวแทน ช่วยตัวแทนหาข้อมูล และช่วยอภิปราย พอถึงวันจริง ตัวแทนก็อภิปรายด้วยความมั่นใจ เพราะสิ่งที่เขาพูดได้ผ่านการคิดอย่างเป็นระบบ และได้รับการกลั่นกรองทั้งจากตัวเขาเอง และเพื่อนๆ มาแล้ว แม้ว่าจะมีการ “เตี๊ยม” ผู้พูดมาก่อน แต่ฉันมองว่า เป็นโอกาสดีของตัวแทนที่จะได้ฝึกพูด ฝึกอภิปรายโดยมีอาจารย์คอยสนับสนุนในสิ่งที่เขาพูดถูก เพิ่มเติมในสิ่งที่เขาตกหล่น และแก้ไขในสิ่งที่เขาเข้าใจผิด ดีกว่าไปพูดผิดพูดถูกเอาตอนจบเป็นหมอ ถึงตอนนั้นคงไม่มีอาจารย์ตามไปช่วยอีกแล้ว
นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสดีที่นักศึกษาจะได้เห็นแบบอย่างการอภิปรายจากอาจารย์ รุ่นน้องเห็นแบบอย่างการอภิปรายจากรุ่นพี่ สำหรับคณะของเรา ฉันคิดว่าน่าจะนำเอารูปแบบนี้มาปรับใช้ในกิจกรรม CPC ของเราบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายของกิจกรรมว่าจัดเพื่อใคร ถ้าเพื่ออาจารย์ การจัดแบบเดิมก็คงใช้ได้ แต่ถ้าจัดเพื่อนักศึกษา ซึ่งฉันเข้าใจว่าน่าจะเป็นข้อนี้มากกว่า เราคงต้องเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมมากขึ้น และยอมสละเวลาส่วนหนึ่งให้นักศึกษาเล่น “บทนำ” บ้าง
กิจกรรมวันพุธบ่ายปัจจุบัน น่าสนใจ (ระคนน่าอิจฉาเด็กๆ) มาก เพราะนอกจากกิจกรรม CPC ที่ยังคงเดิม (แต่อาจต้องเปลี่ยนรูปแบบอย่างที่ว่าไป) แล้ว ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ แต่ไม่ใช่วิชาการ อย่างเช่นกิจกรรมคราวนี้ และกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแพทย์เลย เช่น การแสดงดนตรี การเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านต่างๆ มาเล่าประสบการณ์ชีวิตด้านอื่นๆ ให้ฟัง ทั้งนักพูด ศิลปิน คอลัมนิสต์ ฉันเลยได้อานิสงส์ของเด็กๆ เข้าไปฟังด้วย
ฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการจัดกิจกรรมเหล่านี้ให้แก่นักศึกษาแพทย์ เพราะเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็กๆ รู้ว่า ชีวิตของเขาในวันข้างหน้าไม่ได้มีแต่โรงพยาบาลกับคนไข้เท่านั้น แต่ยังมีส่วนประกอบสำคัญอีกหลายอย่างที่จะทำให้ “ชีวิตเป็นชีวิต” ฉันนึกเสียดายช่วงชีวิตตอนเป็นนักเรียนแพทย์ที่ไม่ใส่ใจกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียน ทำให้ “โลก” ของฉันแคบมาก ฉันไม่รู้จักศิลปะ ไม่รู้จักดนตรี ไม่รู้จักการทำชีวิตให้รื่นรมย์ ฉันรู้ว่ามันเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในชีวิต และไม่อยากให้เกิดขึ้นกับเด็กๆ
ฉันมักจะบอกนักศึกษาแพทย์อยู่เสมอว่า ช่วงที่เขาเป็นนักศึกษา เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการ “ค้นหาตัวเอง” เรียนรู้ชีวิตให้รอบด้าน รู้จักคนให้หลากหลาย สะสมไว้เป็น “ต้นทุน” ชีวิตให้เยอะที่สุดเท่าที่จะเยอะได้ เพราะวันข้างหน้า เมื่อเราเรียนสูงขึ้น หรือเรียนต่อเฉพาะทาง ความรู้ของเราก็จะยิ่งแคบลง เพื่อนวิชาชีพอื่นของเราก็ยิ่งน้อยลง แทบจะเหลือแต่เพื่อนที่เป็นหมอด้วยกัน เพราะเพื่อนวิชาชีพอื่นที่เคยมีนั้น คุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว เขาคุยเรื่องเศรษฐกิจ เงินๆ ทองๆ การทำมาหากิน เราคุยเป็นแต่เรื่องคนไข้ ความเจ็บป่วย หลายๆ ครั้งเข้า ไม่เพื่อนเราก็เราที่ต้องถอยหลัง และห่างกันไปในที่สุด แต่ถ้าเรามีต้นทุนชีวิตเยอะ เราก็มีสังคมที่กว้างขึ้น มีเรื่องหลากหลายในการคบ และพูดคุยกับคนอื่น หรือถ้าคนอื่นๆ ที่จะทำให้ชีวิตเรารื่นรมย์เหลืออยู่น้อย เราก็ยังรู้จักวิธีการที่จะทำให้ชีวิตเรารื่นรมย์ได้ด้วยตัวเราเอง
ฉันมีโอกาสถ่ายทอดข้อความข้างบนให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ฟัง เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะทางหน่วยกิจการนักศึกษาของคณะจัดกิจกรรมพัฒนานิเทศนอกสถานที่ที่จังหวัดตรัง อย่างที่บอกนั่นแหละค่ะ ฉันพลาดโอกาสที่ดีในชีวิตไปเมื่อคราวที่ฉันเป็นนักศึกษาแพทย์ เมื่อถึงวันที่ฉันกลายมาเป็นอาจารย์ ฉันจึง “ฉวยโอกาส” เหล่านี้ของนักศึกษาแพทย์ไว้ ฉันพยายามเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาแพทย์ทั้งหลายด้วยเหตุผล มิใช่เพื่อทำตามหน้าที่ของอาจารย์แต่เพียงอย่างเดียว แต่เพื่อเติมส่วนของชีวิตที่ยังไม่สมบูรณ์ของฉันด้วย
ฉันไม่อาจทราบได้ว่าเด็กๆ เข้าใจ และมองเห็นสิ่งที่ฉันพูดหรือไม่ ด้วยวัยของพวกเขาที่ผ่านโลกมาน้อยกว่าฉัน และโลกที่ผ่านมาของพวกเขามีแต่เรียน เรียน เรียน และเรียน ทำให้เขามิอาจมองเห็นภาพทั้งหมดของชีวิตในวันข้างหน้าได้ แต่อย่างน้อย ฉันก็ดีใจที่ได้บอกในสิ่งที่อยากบอก และหวังว่า บนเส้นทางที่พวกเขากำลังเดินไปนั้น คงมีสักคนที่ได้ทำให้ “ชีวิตเป็นชีวิต” จริงๆ ไม่ใช่ชีวิตที่ต้องคอยเติมส่วนที่ขาดหายไปอย่างฉัน
ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ่านเจอบทความนี้ในเว็บบอร์ดของคณะแพทยศาสตร์ ผู้โพสต์ anothai เขียนโดย พญ.สมรมาศ กันเงิน ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ (ม.อ.)
สอบถามไปยังอาจารย์ผู้เขียน ท่านบอกว่า บทความนี้เขียนไว้นานแล้วใน GO TO KNOW (คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้) จึงขออนุญาตนำบทความมาเผยแพร่ เป็นแนวทางให้นักศึกษาแพทย์
ช่วงที่เป็นนักศึกษา เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการ “ค้นหาตัวเอง” เรียนรู้ชีวิตให้รอบด้าน รู้จักคนให้หลากหลาย สะสมไว้เป็น “ต้นทุน” ชีวิตให้เยอะที่สุดเท่าที่จะเยอะได้
วันก่อน ได้รับเชิญจากหน่วยกิจการนักศึกษาของคณะ ให้ไปร่วมพูดคุยกับนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก (ปี 4-6) ในกิจกรรมวันพุธบ่ายเรื่อง “แพทย์เฉพาะทางกับการศึกษาต่อ” ซึ่งมีตัวแทนอาจารย์แพทย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งหมด 10 ภาควิชาไปร่วมพูดคุย บรรยากาศเป็นกันเองมากๆ ค่ะ เพราะตัวแทนที่ไปล้วนเป็น “เลือดใหม่” อาจารย์ที่เป็น “รุ่นเดอะ” ในวันนั้น เป็นรุ่นพี่ของฉันเพียง 3 รุ่น (อาจารย์รุ่นเก่ากว่านี้เลยไม่มีใครมาเป็นตัวแทน เพราะกลัวจะกลายเป็น “รุ่นเดอะสุด”) การพูดคุยเลยสนุก แซวกันไปแซวกันมาตามประสาพี่ๆ น้องๆ
ผิดกับสมัยที่ฉันเป็นนักศึกษาแพทย์ที่กิจกรรมวันพุธบ่าย มีแต่กิจกรรมวิชาการ ไม่บรรยายวิชาการ โดยอาจารย์จากภาคต่างๆ ก็เป็น CPC (clinico-pathological conference) ซึ่งนำเอาผู้ป่วยที่น่าสนใจ และได้รับการผ่าตรวจศพมาอภิปราย แต่ก็รู้ๆ กันนั่นแหละค่ะ กิจกรรมแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับการบรรยายในห้องเรียน คือ นักศึกษาเล่นบทเป็นผู้ฟังอย่างเดียว ไม่ซักถาม หรืออภิปรายอะไร
ฉันชอบกิจกรรม CPC ของโรงพยาบาลศิริราช เพราะเป็นกิจกรรมที่นักศึกษาแพทย์ของที่นั่นมี “บทบาท” ชัดเจน เด็กๆ จะรู้โดยอัตโนมัติว่า ในวันนั้น เขาจะต้องส่งตัวแทนของแต่ละชั้นปีขึ้นอภิปรายปัญหาผู้ป่วย ดังนั้น หลังจากที่เขาได้รับ scenario (สถานการณ์) ผู้ป่วยซึ่งกระจายแจกทั่วทั้งโรงพยาบาลแล้ว เขาจะเลือกตัวแทน ช่วยตัวแทนหาข้อมูล และช่วยอภิปราย พอถึงวันจริง ตัวแทนก็อภิปรายด้วยความมั่นใจ เพราะสิ่งที่เขาพูดได้ผ่านการคิดอย่างเป็นระบบ และได้รับการกลั่นกรองทั้งจากตัวเขาเอง และเพื่อนๆ มาแล้ว แม้ว่าจะมีการ “เตี๊ยม” ผู้พูดมาก่อน แต่ฉันมองว่า เป็นโอกาสดีของตัวแทนที่จะได้ฝึกพูด ฝึกอภิปรายโดยมีอาจารย์คอยสนับสนุนในสิ่งที่เขาพูดถูก เพิ่มเติมในสิ่งที่เขาตกหล่น และแก้ไขในสิ่งที่เขาเข้าใจผิด ดีกว่าไปพูดผิดพูดถูกเอาตอนจบเป็นหมอ ถึงตอนนั้นคงไม่มีอาจารย์ตามไปช่วยอีกแล้ว
นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสดีที่นักศึกษาจะได้เห็นแบบอย่างการอภิปรายจากอาจารย์ รุ่นน้องเห็นแบบอย่างการอภิปรายจากรุ่นพี่ สำหรับคณะของเรา ฉันคิดว่าน่าจะนำเอารูปแบบนี้มาปรับใช้ในกิจกรรม CPC ของเราบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายของกิจกรรมว่าจัดเพื่อใคร ถ้าเพื่ออาจารย์ การจัดแบบเดิมก็คงใช้ได้ แต่ถ้าจัดเพื่อนักศึกษา ซึ่งฉันเข้าใจว่าน่าจะเป็นข้อนี้มากกว่า เราคงต้องเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมมากขึ้น และยอมสละเวลาส่วนหนึ่งให้นักศึกษาเล่น “บทนำ” บ้าง
กิจกรรมวันพุธบ่ายปัจจุบัน น่าสนใจ (ระคนน่าอิจฉาเด็กๆ) มาก เพราะนอกจากกิจกรรม CPC ที่ยังคงเดิม (แต่อาจต้องเปลี่ยนรูปแบบอย่างที่ว่าไป) แล้ว ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ แต่ไม่ใช่วิชาการ อย่างเช่นกิจกรรมคราวนี้ และกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแพทย์เลย เช่น การแสดงดนตรี การเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านต่างๆ มาเล่าประสบการณ์ชีวิตด้านอื่นๆ ให้ฟัง ทั้งนักพูด ศิลปิน คอลัมนิสต์ ฉันเลยได้อานิสงส์ของเด็กๆ เข้าไปฟังด้วย
ฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการจัดกิจกรรมเหล่านี้ให้แก่นักศึกษาแพทย์ เพราะเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็กๆ รู้ว่า ชีวิตของเขาในวันข้างหน้าไม่ได้มีแต่โรงพยาบาลกับคนไข้เท่านั้น แต่ยังมีส่วนประกอบสำคัญอีกหลายอย่างที่จะทำให้ “ชีวิตเป็นชีวิต” ฉันนึกเสียดายช่วงชีวิตตอนเป็นนักเรียนแพทย์ที่ไม่ใส่ใจกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียน ทำให้ “โลก” ของฉันแคบมาก ฉันไม่รู้จักศิลปะ ไม่รู้จักดนตรี ไม่รู้จักการทำชีวิตให้รื่นรมย์ ฉันรู้ว่ามันเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในชีวิต และไม่อยากให้เกิดขึ้นกับเด็กๆ
ฉันมักจะบอกนักศึกษาแพทย์อยู่เสมอว่า ช่วงที่เขาเป็นนักศึกษา เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการ “ค้นหาตัวเอง” เรียนรู้ชีวิตให้รอบด้าน รู้จักคนให้หลากหลาย สะสมไว้เป็น “ต้นทุน” ชีวิตให้เยอะที่สุดเท่าที่จะเยอะได้ เพราะวันข้างหน้า เมื่อเราเรียนสูงขึ้น หรือเรียนต่อเฉพาะทาง ความรู้ของเราก็จะยิ่งแคบลง เพื่อนวิชาชีพอื่นของเราก็ยิ่งน้อยลง แทบจะเหลือแต่เพื่อนที่เป็นหมอด้วยกัน เพราะเพื่อนวิชาชีพอื่นที่เคยมีนั้น คุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว เขาคุยเรื่องเศรษฐกิจ เงินๆ ทองๆ การทำมาหากิน เราคุยเป็นแต่เรื่องคนไข้ ความเจ็บป่วย หลายๆ ครั้งเข้า ไม่เพื่อนเราก็เราที่ต้องถอยหลัง และห่างกันไปในที่สุด แต่ถ้าเรามีต้นทุนชีวิตเยอะ เราก็มีสังคมที่กว้างขึ้น มีเรื่องหลากหลายในการคบ และพูดคุยกับคนอื่น หรือถ้าคนอื่นๆ ที่จะทำให้ชีวิตเรารื่นรมย์เหลืออยู่น้อย เราก็ยังรู้จักวิธีการที่จะทำให้ชีวิตเรารื่นรมย์ได้ด้วยตัวเราเอง
ฉันมีโอกาสถ่ายทอดข้อความข้างบนให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ฟัง เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะทางหน่วยกิจการนักศึกษาของคณะจัดกิจกรรมพัฒนานิเทศนอกสถานที่ที่จังหวัดตรัง อย่างที่บอกนั่นแหละค่ะ ฉันพลาดโอกาสที่ดีในชีวิตไปเมื่อคราวที่ฉันเป็นนักศึกษาแพทย์ เมื่อถึงวันที่ฉันกลายมาเป็นอาจารย์ ฉันจึง “ฉวยโอกาส” เหล่านี้ของนักศึกษาแพทย์ไว้ ฉันพยายามเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาแพทย์ทั้งหลายด้วยเหตุผล มิใช่เพื่อทำตามหน้าที่ของอาจารย์แต่เพียงอย่างเดียว แต่เพื่อเติมส่วนของชีวิตที่ยังไม่สมบูรณ์ของฉันด้วย
ฉันไม่อาจทราบได้ว่าเด็กๆ เข้าใจ และมองเห็นสิ่งที่ฉันพูดหรือไม่ ด้วยวัยของพวกเขาที่ผ่านโลกมาน้อยกว่าฉัน และโลกที่ผ่านมาของพวกเขามีแต่เรียน เรียน เรียน และเรียน ทำให้เขามิอาจมองเห็นภาพทั้งหมดของชีวิตในวันข้างหน้าได้ แต่อย่างน้อย ฉันก็ดีใจที่ได้บอกในสิ่งที่อยากบอก และหวังว่า บนเส้นทางที่พวกเขากำลังเดินไปนั้น คงมีสักคนที่ได้ทำให้ “ชีวิตเป็นชีวิต” จริงๆ ไม่ใช่ชีวิตที่ต้องคอยเติมส่วนที่ขาดหายไปอย่างฉัน