แพทยสภา ห่วงนักเรียนที่อยากเป็นแพทย์แล้วแห่ไปเรียนที่สาธารณรัฐประชาชนจีน แนะผู้ปกครองศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมด้านภาษาจีน ก่อนส่งบุตรหลานไปเรียน
แพทย์หญิง ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการ แพทยสภา วันที่ 14 มิถุนายน 2555 ว่า นักเรียนอยากศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ และนิยมไปศึกษาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายไม่แพงมากนัก และมีผู้ประสานงานรับดำเนินการเกี่ยวกับการสมัครศึกษาต่อให้อย่างสะดวก จึงขอฝากเตือนผู้ปกครองที่กำลังคิดส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในประเทศดังกล่าว ให้ศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบจากเว็บไซด์ของแพทยสภา (www. tmc.or.th) และวางแผนการเรียนล่วงหน้าก่อนตกลงใจสมัครไปศึกษา นอกจากนี้ ตัวนักเรียนเองต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาจีนในระดับอ่านออก พูด และเขียน ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ หลักสูตรการเรียนการสอนในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน โดยในระดับปรีคลินิกจะเป็นการสอนแบบบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติการ ไม่ใช่การเรียนแบบผสมผสานเหมือนในประเทศไทย และแม้ว่าทางสถาบันจะแจ้งว่าเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) แต่ในความเป็นจริงการเรียนการสอนเวชปฏิบัติในระดับคลินิกนั้น จะมีการใช้ภาษาจีนด้วยเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับบุคลากรในโรงพยาบาล ผู้ป่วย และญาติ รวมทั้งภาษาที่ใช้ในการเขียนเวชระเบียนภายในโรงพยาบาล การสั่งยา ฯลฯ ซึ่งจะต้องใช้ภาษาจีนทั้งสิ้น ทำให้เกิดปัญหาคนไข้และญาติไม่สามารถสื่อสารกับนักศึกษาแพทย์ได้ เมื่อไม่เข้าใจภาษาก็ไม่สามารถวินิจฉัย และเรียนรู้แนวทางการรักษาโรคได้ ถึงแม้ว่าทางสถาบันจะจัดล่ามไว้ช่วยแปลภาษาให้ แต่มีจำนวนไม่เพียงพอ ผลที่ตามมา ก็คือ นักศึกษาที่ไปเรียนไม่สามารถเรียนได้ต้องลาออกกลางคัน เสียเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้น ผู้ปกครองและนักเรียนที่คิดจะไปศึกษาที่ประเทศดังกล่าว ควรจะต้องติดตามประเมินจากรุ่นพี่ที่ไปเรียนอยู่แล้วว่าประสบปัญหาอย่างไร และที่สถาบันใด โดยเฉพาะหากไปเพื่อกลับมาเป็นแพทย์รักษาในประเทศไทย จะต้องเข้าสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยควรเข้าสอบแต่ละขั้นตอนเป็นระยะๆ ทั้งนี้ จากข้อมูลที่มีอยู่ที่แพทยสภาผลการสอบของนักศึกษาที่ไปเรียนแล้วกลับมาสอบ ขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 ยังไม่ประสบความสำเร็จ
แพทย์หญิง ประสบศรี กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ แพทยสภาได้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และโรงพยาบาลที่ใช้ฝึกปฏิบัติงานชั้นคลินิก ของสาธารณรัฐประชาชนจีนไปแล้วจำนวน 13 แห่ง โดยการรับรองดังกล่าว พิจารณาจากโครงสร้างของหลักสูตร จำนวนหน่วยกิต และรายวิชาที่มีการเรียนการสอนเทียบเคียงได้กับหลักสูตรแพทยศาสตร์ในประเทศไทย แต่ไม่สามารถลงลึกไปในเรื่องการบริหารจัดการเรียนการสอนของแต่ละสถาบันได้ ปัจจุบันมีนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ และมาขึ้นทะเบียนไว้ที่แพทยสภาทั้งสิ้น 349 คน อยู่ในระดับชั้นปีที่ 1,2 และ 3 จำนวน 337 คน อยู่ในระดับปีที่ 4, 5 และ 6 จำนวน 12 คน มีนักศึกษาลาออกกลางคันในระดับปีที่ 3 แล้วจำนวน 3 คน อย่างไรก็ตาม อาจจะยังมีนักศึกษาที่ไปเรียนแล้วแต่ไม่ได้มาขึ้นทะเบียนไว้ที่แพทยสภา หรือไปเรียนแล้วลาออกอีกจำนวนมาก โดยที่ไม่ได้แจ้งให้แพทยสภาทราบ
แพทย์หญิง ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการ แพทยสภา วันที่ 14 มิถุนายน 2555 ว่า นักเรียนอยากศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ และนิยมไปศึกษาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายไม่แพงมากนัก และมีผู้ประสานงานรับดำเนินการเกี่ยวกับการสมัครศึกษาต่อให้อย่างสะดวก จึงขอฝากเตือนผู้ปกครองที่กำลังคิดส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในประเทศดังกล่าว ให้ศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบจากเว็บไซด์ของแพทยสภา (www. tmc.or.th) และวางแผนการเรียนล่วงหน้าก่อนตกลงใจสมัครไปศึกษา นอกจากนี้ ตัวนักเรียนเองต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาจีนในระดับอ่านออก พูด และเขียน ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ หลักสูตรการเรียนการสอนในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน โดยในระดับปรีคลินิกจะเป็นการสอนแบบบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติการ ไม่ใช่การเรียนแบบผสมผสานเหมือนในประเทศไทย และแม้ว่าทางสถาบันจะแจ้งว่าเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) แต่ในความเป็นจริงการเรียนการสอนเวชปฏิบัติในระดับคลินิกนั้น จะมีการใช้ภาษาจีนด้วยเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับบุคลากรในโรงพยาบาล ผู้ป่วย และญาติ รวมทั้งภาษาที่ใช้ในการเขียนเวชระเบียนภายในโรงพยาบาล การสั่งยา ฯลฯ ซึ่งจะต้องใช้ภาษาจีนทั้งสิ้น ทำให้เกิดปัญหาคนไข้และญาติไม่สามารถสื่อสารกับนักศึกษาแพทย์ได้ เมื่อไม่เข้าใจภาษาก็ไม่สามารถวินิจฉัย และเรียนรู้แนวทางการรักษาโรคได้ ถึงแม้ว่าทางสถาบันจะจัดล่ามไว้ช่วยแปลภาษาให้ แต่มีจำนวนไม่เพียงพอ ผลที่ตามมา ก็คือ นักศึกษาที่ไปเรียนไม่สามารถเรียนได้ต้องลาออกกลางคัน เสียเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้น ผู้ปกครองและนักเรียนที่คิดจะไปศึกษาที่ประเทศดังกล่าว ควรจะต้องติดตามประเมินจากรุ่นพี่ที่ไปเรียนอยู่แล้วว่าประสบปัญหาอย่างไร และที่สถาบันใด โดยเฉพาะหากไปเพื่อกลับมาเป็นแพทย์รักษาในประเทศไทย จะต้องเข้าสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยควรเข้าสอบแต่ละขั้นตอนเป็นระยะๆ ทั้งนี้ จากข้อมูลที่มีอยู่ที่แพทยสภาผลการสอบของนักศึกษาที่ไปเรียนแล้วกลับมาสอบ ขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 ยังไม่ประสบความสำเร็จ
แพทย์หญิง ประสบศรี กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ แพทยสภาได้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และโรงพยาบาลที่ใช้ฝึกปฏิบัติงานชั้นคลินิก ของสาธารณรัฐประชาชนจีนไปแล้วจำนวน 13 แห่ง โดยการรับรองดังกล่าว พิจารณาจากโครงสร้างของหลักสูตร จำนวนหน่วยกิต และรายวิชาที่มีการเรียนการสอนเทียบเคียงได้กับหลักสูตรแพทยศาสตร์ในประเทศไทย แต่ไม่สามารถลงลึกไปในเรื่องการบริหารจัดการเรียนการสอนของแต่ละสถาบันได้ ปัจจุบันมีนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ และมาขึ้นทะเบียนไว้ที่แพทยสภาทั้งสิ้น 349 คน อยู่ในระดับชั้นปีที่ 1,2 และ 3 จำนวน 337 คน อยู่ในระดับปีที่ 4, 5 และ 6 จำนวน 12 คน มีนักศึกษาลาออกกลางคันในระดับปีที่ 3 แล้วจำนวน 3 คน อย่างไรก็ตาม อาจจะยังมีนักศึกษาที่ไปเรียนแล้วแต่ไม่ได้มาขึ้นทะเบียนไว้ที่แพทยสภา หรือไปเรียนแล้วลาออกอีกจำนวนมาก โดยที่ไม่ได้แจ้งให้แพทยสภาทราบ