ศูนย์ข่าวภูเก็ต - องค์กรภาคเอกชนจังหวัดภูเก็ต 21 แห่ง ร่วมกันจัดกิจกรรม “24 มิถุนายน วาระอำนาจประชาชน ภูเก็ตจัดการตนเอง” พร้อมร่วมแถลงคำประกาศ รวมพลภูเก็ตจัดการตนเอง หรือ “คำประกาศพลเมืองภูเก็ต”
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมจามจุรี โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน ห้องจามจุรี อำเภอเมือง องค์กรภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 21 แห่ง ร่วมกันจัดนิทรรศการ “24 มิถุนายน วาระอำนาจประชาชน ภูเก็ตจัดการตนเอง” ประกอบไปด้วย เครือข่ายสถาบันประชาคมภูเก็ต,แผนที่ชุมชน รากลึกทางประวัติศาสตร์ ก้าวหน้าอย่างมั่นคง, ชุมชนกับการกำหนดแผ่นแม่บทพัฒนาบ้านไม้ขาว, การจัดการสวัสดิการชุมชน เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จ.ภูเก็ต, สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เครือข่ายชุมชนชายฝั่ง จ.ภูเก็ต, การจัดการแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้โดยชุมชน ชุมชนบ้านโรง, อาสาสมัครสาธารณสุข รวมทั้งฉายวิดีทัศน์ภูเก็ตจัดการตนเอง
พร้อมกันนี้ ดร.จันทินี บุญชัย จากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต ได้รายงานการศึกษาและแลกเปลี่ยน “แนวทางการพัฒนาภูเก็ตที่ยั่งยืน” ในขณะเดียวกัน ยังมีการอภิปรายภูเก็ตจัดการตนเอง บริหารรูปแบบพิเศษ การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน โดยนายชาญ วงศ์สัตยานนท์ ผู้ประกอบท่องเที่ยวภูเก็ต, ว่าที่ ร.ต.ไตรบัญญัติ จริยะเลอพงศ์ สถาบันประชาคมภูเก็จ, ดร.ปรีดี โชติช่วง สภาพัฒนาการเมือง, นายจีรศักดิ์ ท่อทิพย์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดภูเก็ต ดำเนินรายการโดย นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว นายกสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย
นายไตรบัญญัติ จริยเลอพงศ์ จากสถาบันประชาคมภูเก็ต กล่าวว่า เป้าหมายคือ เป็นการเปิดพื้นที่เวทีให้มีการพูดคุยกัน เพราะเรามองเห็นว่า ปัจจุบัน ผลจากการพัฒนาภูเก็ตกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ผลจึงมีปัญหาสะสมมากมาย แต่วิธีแก้ปัญหา หรือระบบเครื่องมือของส่วนกลางแก้ไม่ได้ ทิ้งปัญหาตกค้าง ขาดการดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางส่วนไม่เข้าใจรายละเอียด มองแค่ว่าภูเก็ตมีศักยภาพสูงในการสร้างรายได้ โดยมีการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ
“จริงๆ แล้ว ภูเก็ตตอนนี้เหมือนคนป่วย วันนี้คุยกันเพื่อจะให้คนภูเก็ตลุกมาดูตัวเองว่าเรามีความสุขดีอยู่หรือเปล่า ในขณะที่เรามียอดตัวเลขสูงขึ้นเรื่อยๆ มีโครงการขนาดใหญ่ที่รองรับการท่องเที่ยว แต่คุณภาพชีวิตของคนภูเก็ต เยาวชน มีปัญหาสารพัดทุกด้าน วันนี้ให้คนภูเก็ตเริ่มมาคุยกัน และถามตัวเองว่า พร้อมที่จะมองปัญหาตัวเอง ศึกษาความต้องการตัวเอง แล้วมาประมวลว่าจะทำอะไรเป็นเรื่องหลัก เป็นเรื่องรวมกันที่คนภูเก็ตจะต้องผลักดันออกมา ทั้งในเชิงนโยบาย และผ่านกระบวนการโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญมีข้อหนึ่งที่ว่า เราจะสามารถจัดการตนเองได้ในระดับหนึ่ง”
ขณะที่ ดร.ปรีดี โชติช่วง กล่าวว่า หากถามว่าทำไมภูเก็ตจะต้องจัดการตนเอง ประเด็นแรกคือ 1.ภูเก็ตมีต้นทุน คือ ต้นทุนด้านแรงงาน ต้นทุนสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร การศึกษา และด้านอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะต้นทุนที่เป็นรากเหง้าดั้งเดิมของคนภูเก็ต เช่น เรื่องระบบกงสี ระบบนายหัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกระบวนการในการจัดการชุมชนที่มันมีมาแต่อดีต ถัดมาคือ เรื่องของเครือข่ายในการทำงาน ในวันนี้ได้เห็นว่า มีเครือข่ายต่างๆ เข้าร่วมกว่า 30-40 เครือข่าย และมีทุกภาคี ตั้งแต่ธุรกิจระดับท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน สถาบันการศึกษามองว่าเป็นการรวมตัวที่ดีที่สุด เพราะมีกันทุกภาคี
ด้าน ดร.จันทินี บุญชัย อาจารย์คณะเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวถึงเหตุผลในการเลือกศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาภูเก็ตที่ยั่งยืน” ว่า เป็นเพราะภูเก็ตกำลังเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว และเราเคยได้ยินเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนมานานแล้ว แต่ทุกวันนี้ ปัญหาขอภูเก็ตยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งๆ ที่รู้สึกว่ามันน่าจะแก้ไขได้ในระยะยาว จึงอยากทราบว่า ในทางปฏิบัติแล้วถ้าเราเข้ามาอยู่ภูเก็ต เราจะทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ด้วยความเข้าใจของคนในพื้นที่มากกว่าการตีความจากนักวิชาการ หรือแนวคิดจากต่างประเทศ
และจากที่ได้ศึกษาปัญหาของจังหวัดภูเก็ตมาอย่างต่อเนื่อง พบว่า ปัญหาที่ควรจะต้องมีการแก้ไขในประการแรกคือ ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาขยะ น้ำเสีย น้ำท่วม การขาดแคลนทรัพยากร เช่น น้ำ แต่สิ่งเหล่านี้มันคือผลของปัญหา แท้ที่จริงมันควรจะแก้ไขคือ เรื่องการไม่ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพราะถ้าไม่แก้เรื่องนี้ก่อนก็ไม่สามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆได้
อย่างไรก็ตาม ในช่วงค่ำวันเดียวกัน ตัวแทนองค์กรภาคเอกชนภูเก็ต ทั้ง 21 แห่ง ร่วมแถลงคำประกาศ “รวมพลภูเก็ตจัดการตนเอง” หรือ “คำประกาศพลเมืองภูเก็ต” ที่มีข้อความระบุว่า เป็นเวลา 80 ปี ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งได้ทรงสละพระราชอำนาจ เพื่อประชาชนโดยส่วนรวม ท่ามกลางกระแส โลกาภิวัตน์ ชะตากรรมของคนไทยยังต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจภายใต้การรวมศูนย์ อำนาจของส่วนกลาง ซึ่งขาดประสิทธิภาพในการพัฒนาและแก้ปัญหา ส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ ประชาชนอ่อนแอ ปัญหาที่ป้อนกลับมายังส่วนกลาง จึงมีมากมายท่วมท้น เกินกว่ากำลังที่จะรับไหว ในที่สุด ทำให้บ้านเมืองใกล้ถึงทางตัน
จังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาการจราจร ปัญหาขยะ ปัญหาน้ำเสียลงทะเล ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะ ปัญหาการครอบครองที่ดินโดยชาวต่างชาติ ปัญหาสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาภูเก็ตอย่างไร้ทิศทาง ที่มองเฉพาะความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงมิติเดียว ส่วนกลางได้ละเลยการพัฒนาภูเก็ตอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวพอกพูน ทำให้ภูเก็ตเป็นเมืองไม่น่าอยู่อีกต่อไป
เราในฐานะพลเมืองภูเก็ต ต้องการหลักประกันในการพัฒนาภูเก็ตอย่างยั่งยืน จึงขอประกาศเจตนารมณ์ของพลเมืองภูเก็ตว่า 1.เราพร้อมที่จะเป็นภูเก็ต จังหวัดจัดการตนเอง ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 78 (3) 2.เราจะร่วมกันผลักดันให้มีสภาพลเมืองภูเก็ต และขอเรียกร้องต่อภาครัฐดังนี้ 1.รัฐต้องเร่งสร้างกลไกการถ่ายโอนอำนาจให้แก่จังหวัดภูเก็ต 2.รัฐจะต้องเร่งจัดสรรงบประมาณมาให้เพียงพอต่อการพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่างๆ ของจังหวัดภูเก็ต 3.รัฐต้องให้พลเมืองทุกภาคส่วนในภูเก็ต โดยสภาพลเมืองภูเก็ตจัดการตนเอง ร่วมตัดสินใจในการจัดทำแผนพัฒนา และแก้ไขปัญหา
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมจามจุรี โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน ห้องจามจุรี อำเภอเมือง องค์กรภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 21 แห่ง ร่วมกันจัดนิทรรศการ “24 มิถุนายน วาระอำนาจประชาชน ภูเก็ตจัดการตนเอง” ประกอบไปด้วย เครือข่ายสถาบันประชาคมภูเก็ต,แผนที่ชุมชน รากลึกทางประวัติศาสตร์ ก้าวหน้าอย่างมั่นคง, ชุมชนกับการกำหนดแผ่นแม่บทพัฒนาบ้านไม้ขาว, การจัดการสวัสดิการชุมชน เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จ.ภูเก็ต, สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เครือข่ายชุมชนชายฝั่ง จ.ภูเก็ต, การจัดการแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้โดยชุมชน ชุมชนบ้านโรง, อาสาสมัครสาธารณสุข รวมทั้งฉายวิดีทัศน์ภูเก็ตจัดการตนเอง
พร้อมกันนี้ ดร.จันทินี บุญชัย จากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต ได้รายงานการศึกษาและแลกเปลี่ยน “แนวทางการพัฒนาภูเก็ตที่ยั่งยืน” ในขณะเดียวกัน ยังมีการอภิปรายภูเก็ตจัดการตนเอง บริหารรูปแบบพิเศษ การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน โดยนายชาญ วงศ์สัตยานนท์ ผู้ประกอบท่องเที่ยวภูเก็ต, ว่าที่ ร.ต.ไตรบัญญัติ จริยะเลอพงศ์ สถาบันประชาคมภูเก็จ, ดร.ปรีดี โชติช่วง สภาพัฒนาการเมือง, นายจีรศักดิ์ ท่อทิพย์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดภูเก็ต ดำเนินรายการโดย นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว นายกสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย
นายไตรบัญญัติ จริยเลอพงศ์ จากสถาบันประชาคมภูเก็ต กล่าวว่า เป้าหมายคือ เป็นการเปิดพื้นที่เวทีให้มีการพูดคุยกัน เพราะเรามองเห็นว่า ปัจจุบัน ผลจากการพัฒนาภูเก็ตกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ผลจึงมีปัญหาสะสมมากมาย แต่วิธีแก้ปัญหา หรือระบบเครื่องมือของส่วนกลางแก้ไม่ได้ ทิ้งปัญหาตกค้าง ขาดการดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางส่วนไม่เข้าใจรายละเอียด มองแค่ว่าภูเก็ตมีศักยภาพสูงในการสร้างรายได้ โดยมีการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ
“จริงๆ แล้ว ภูเก็ตตอนนี้เหมือนคนป่วย วันนี้คุยกันเพื่อจะให้คนภูเก็ตลุกมาดูตัวเองว่าเรามีความสุขดีอยู่หรือเปล่า ในขณะที่เรามียอดตัวเลขสูงขึ้นเรื่อยๆ มีโครงการขนาดใหญ่ที่รองรับการท่องเที่ยว แต่คุณภาพชีวิตของคนภูเก็ต เยาวชน มีปัญหาสารพัดทุกด้าน วันนี้ให้คนภูเก็ตเริ่มมาคุยกัน และถามตัวเองว่า พร้อมที่จะมองปัญหาตัวเอง ศึกษาความต้องการตัวเอง แล้วมาประมวลว่าจะทำอะไรเป็นเรื่องหลัก เป็นเรื่องรวมกันที่คนภูเก็ตจะต้องผลักดันออกมา ทั้งในเชิงนโยบาย และผ่านกระบวนการโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญมีข้อหนึ่งที่ว่า เราจะสามารถจัดการตนเองได้ในระดับหนึ่ง”
ขณะที่ ดร.ปรีดี โชติช่วง กล่าวว่า หากถามว่าทำไมภูเก็ตจะต้องจัดการตนเอง ประเด็นแรกคือ 1.ภูเก็ตมีต้นทุน คือ ต้นทุนด้านแรงงาน ต้นทุนสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร การศึกษา และด้านอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะต้นทุนที่เป็นรากเหง้าดั้งเดิมของคนภูเก็ต เช่น เรื่องระบบกงสี ระบบนายหัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกระบวนการในการจัดการชุมชนที่มันมีมาแต่อดีต ถัดมาคือ เรื่องของเครือข่ายในการทำงาน ในวันนี้ได้เห็นว่า มีเครือข่ายต่างๆ เข้าร่วมกว่า 30-40 เครือข่าย และมีทุกภาคี ตั้งแต่ธุรกิจระดับท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน สถาบันการศึกษามองว่าเป็นการรวมตัวที่ดีที่สุด เพราะมีกันทุกภาคี
ด้าน ดร.จันทินี บุญชัย อาจารย์คณะเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวถึงเหตุผลในการเลือกศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาภูเก็ตที่ยั่งยืน” ว่า เป็นเพราะภูเก็ตกำลังเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว และเราเคยได้ยินเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนมานานแล้ว แต่ทุกวันนี้ ปัญหาขอภูเก็ตยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งๆ ที่รู้สึกว่ามันน่าจะแก้ไขได้ในระยะยาว จึงอยากทราบว่า ในทางปฏิบัติแล้วถ้าเราเข้ามาอยู่ภูเก็ต เราจะทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ด้วยความเข้าใจของคนในพื้นที่มากกว่าการตีความจากนักวิชาการ หรือแนวคิดจากต่างประเทศ
และจากที่ได้ศึกษาปัญหาของจังหวัดภูเก็ตมาอย่างต่อเนื่อง พบว่า ปัญหาที่ควรจะต้องมีการแก้ไขในประการแรกคือ ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาขยะ น้ำเสีย น้ำท่วม การขาดแคลนทรัพยากร เช่น น้ำ แต่สิ่งเหล่านี้มันคือผลของปัญหา แท้ที่จริงมันควรจะแก้ไขคือ เรื่องการไม่ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพราะถ้าไม่แก้เรื่องนี้ก่อนก็ไม่สามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆได้
อย่างไรก็ตาม ในช่วงค่ำวันเดียวกัน ตัวแทนองค์กรภาคเอกชนภูเก็ต ทั้ง 21 แห่ง ร่วมแถลงคำประกาศ “รวมพลภูเก็ตจัดการตนเอง” หรือ “คำประกาศพลเมืองภูเก็ต” ที่มีข้อความระบุว่า เป็นเวลา 80 ปี ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งได้ทรงสละพระราชอำนาจ เพื่อประชาชนโดยส่วนรวม ท่ามกลางกระแส โลกาภิวัตน์ ชะตากรรมของคนไทยยังต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจภายใต้การรวมศูนย์ อำนาจของส่วนกลาง ซึ่งขาดประสิทธิภาพในการพัฒนาและแก้ปัญหา ส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ ประชาชนอ่อนแอ ปัญหาที่ป้อนกลับมายังส่วนกลาง จึงมีมากมายท่วมท้น เกินกว่ากำลังที่จะรับไหว ในที่สุด ทำให้บ้านเมืองใกล้ถึงทางตัน
จังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาการจราจร ปัญหาขยะ ปัญหาน้ำเสียลงทะเล ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะ ปัญหาการครอบครองที่ดินโดยชาวต่างชาติ ปัญหาสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาภูเก็ตอย่างไร้ทิศทาง ที่มองเฉพาะความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงมิติเดียว ส่วนกลางได้ละเลยการพัฒนาภูเก็ตอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวพอกพูน ทำให้ภูเก็ตเป็นเมืองไม่น่าอยู่อีกต่อไป
เราในฐานะพลเมืองภูเก็ต ต้องการหลักประกันในการพัฒนาภูเก็ตอย่างยั่งยืน จึงขอประกาศเจตนารมณ์ของพลเมืองภูเก็ตว่า 1.เราพร้อมที่จะเป็นภูเก็ต จังหวัดจัดการตนเอง ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 78 (3) 2.เราจะร่วมกันผลักดันให้มีสภาพลเมืองภูเก็ต และขอเรียกร้องต่อภาครัฐดังนี้ 1.รัฐต้องเร่งสร้างกลไกการถ่ายโอนอำนาจให้แก่จังหวัดภูเก็ต 2.รัฐจะต้องเร่งจัดสรรงบประมาณมาให้เพียงพอต่อการพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่างๆ ของจังหวัดภูเก็ต 3.รัฐต้องให้พลเมืองทุกภาคส่วนในภูเก็ต โดยสภาพลเมืองภูเก็ตจัดการตนเอง ร่วมตัดสินใจในการจัดทำแผนพัฒนา และแก้ไขปัญหา