ขวดหลากสี หลายชนิด ถูกนำมาประดับตกแต่ง ทั้ง กำแพง ศาลาการเปรียญ วิหารเจดีย์ทรงไทย หรือแม้แต่ ห้องน้ำ ห้องส้วม รวมทั้งกุฏิของพระสงฆ์ นับเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเลิศที่โดดเด่นเป็นแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ที่นี่คือ “วัดขวด” อยู่ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา
วัด คือ สถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ภายในวัดจะมี กุฏิ ซึ่งใช้เป็นเป็นที่อาศัยของนักบวชในศาสนาพุทธซึ่งก็คือ พระสงฆ์ อีกทั้งยังมีเจดีย์ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่างๆ เช่นการเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ ลักษณะตัวอาคารไม่ว่าจะเป็น กุฏิ อุโบสถ หรือศาลาการเปรียญ ที่ชาวพุทธคุ้นตากันดี จะมีลักษณะการตกแต่งที่สวยงามด้วยลวดลายกระหนกต่างๆ เป็นสถาปัตยกรรมที่งดงาม แต่ที่ “วัดขวด” บ้านคลองหาน ต.บ้านแค อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นสถาปัตยกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่งดงามไม่แพ้กัน สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดภายในวัดก่อสร้างด้วยขวดทั้งสิ้น
“วัดขวด” หรือสถานปฏิบัติธรรมโคกสัก เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จ.สงขลา ซึ่งมีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างทุกอย่างภายในวัดสร้างด้วยขวดทั้งหมด จนได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์ และสื่อของไต้หวันว่า เป็นแหล่งสร้างงานรีไซเคิลที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบัน “วัดขวด” มีความซบเซาลงมากจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ประกอบกับพระครูสุนทรธรรมสิริ หรือหลวงพ่อคำใส ผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ได้มรณภาพลง ส่งผลให้วัดทรุดโทรมลงไปด้วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่นิยมมาท่องเที่ยวและไหว้พระหายไปเกือบหมด
ด้วยความเสียดายความวิจิตรงดงามของสถาปัตยกรรม “วัดขวด” ซึ่งมีเพียงแค่ 2 แห่ง ในประเทศไทย คือที่ จ.ศรีสะเกษ และ อ.จะนะ จ.สงขลา “เที่ยวท่องล่องใต้” จึงหยิบยกมานำเสนอ เพราะไม่อยากให้สถาปัตยกรรมที่สวยงาม และสร้างสรรค์แบบนี้ต้องถูกลืม และสูญหายไป
พระครูโสภณ วินัยการ เจ้าอาวาส วัดขวด เล่าว่า เดิมที่วัดแห่งนี้เป็นฌาปณสถาน สำนักสงฆ์โคกสัก โดยมีหลวงตาคง เป็นผู้ดูแล ต่อมา หลวงตาคง ได้นิมนต์พระครูสุนทรธรรมสิริ หรือหลวงพ่อคำใส ซึ่งธุดงค์ผ่านมา นิมนต์ให้อยู่ที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ หลวงพ่อคำใส เป็นพระมาจาก จ.ศรีสะเกษ และท่านได้เห็น วัดล้านขวด ที่ จ.ศรีสะเกษ ก็เลยมีความคิดริเริ่มที่จะนำขวดเหลือใช้มาก่อสร้างเป็นวัด โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 แต่มาโด่งดังเป็นวัดขวดเมื่อปี พ.ศ.2536 โดยการรับบริจาคขวดชนิดต่างๆ จากญาติโยม ไม่ว่าจะเป็นขวดเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มชูกำลัง มาสร้างวัด นอกจากจะเป็นการประหยัดงบประมาณแล้ว วัสดุรีไซเคิลเหล่านี้ยังแฝงคติธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความฟุ่มเฟือยของมนุษย์ ที่หมดไปกับสิ่งมึนเมาไร้ประโยชน์ พระครูสุนทรธรรมสิริ สร้างวัดขวดนี่ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่คอยย้ำเตือนจิตใจปุถุชนคนรุ่นหลังไม่ให้ลุ่มหลงในสุรา ยาเสพติด
สำหรับสถาปัตยกรรมชั้นเลิศที่ล้วนสร้างจากขวดนั้น เริ่มตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าที่มีสัญลักษณ์เป็นขวดใบใหญ่ 3 ใบ อยู่บนซุ้มประตู กำแพงวัด ศาลาการเปรียญ วิหารเจดีย์ทรงไทย ห้องน้ำ ห้องส้วม รวมทั้งกุฏิของพระสงฆ์ ทั้งหมดตกแต่งลวดลายด้วยฝาขวด และเปลือกหอยเข้ากันได้อย่างสวยงาม
น่าเสียดายที่ปัจจุบัน “วัดขวด” ทรุดโทรมลงมาก แต่ยังมีความงดงามแปลกตาหลงเหลือให้ได้เชยชมกันอยู่ จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่ยังไม่เคยมาเยือน แวะเวียนมาชมกัน รับประกันความปลอดภัย ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะห่างไกลกับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พอควร หากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวอย่างเช่นเคย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เข้าไปดูแล บูรณะ ศาสนสถานแห่งนี้ให้กลับมางดงามเช่นดังเดิม
สำหรับการเดินทาง ไปไม่ยาก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 408 จะนะ-นาทวี ถึงกิโลเมตรที่ 43 เลี้ยวขวาตรงกำแพงโรงเรียนบ้านแค จะมีถนนผ่านหมู่บ้านเข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร สุดสายถนนก็จะเจอซุ้มประตูวัดขวด
วัด คือ สถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ภายในวัดจะมี กุฏิ ซึ่งใช้เป็นเป็นที่อาศัยของนักบวชในศาสนาพุทธซึ่งก็คือ พระสงฆ์ อีกทั้งยังมีเจดีย์ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่างๆ เช่นการเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ ลักษณะตัวอาคารไม่ว่าจะเป็น กุฏิ อุโบสถ หรือศาลาการเปรียญ ที่ชาวพุทธคุ้นตากันดี จะมีลักษณะการตกแต่งที่สวยงามด้วยลวดลายกระหนกต่างๆ เป็นสถาปัตยกรรมที่งดงาม แต่ที่ “วัดขวด” บ้านคลองหาน ต.บ้านแค อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นสถาปัตยกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่งดงามไม่แพ้กัน สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดภายในวัดก่อสร้างด้วยขวดทั้งสิ้น
“วัดขวด” หรือสถานปฏิบัติธรรมโคกสัก เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จ.สงขลา ซึ่งมีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างทุกอย่างภายในวัดสร้างด้วยขวดทั้งหมด จนได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์ และสื่อของไต้หวันว่า เป็นแหล่งสร้างงานรีไซเคิลที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปัจจุบัน “วัดขวด” มีความซบเซาลงมากจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ประกอบกับพระครูสุนทรธรรมสิริ หรือหลวงพ่อคำใส ผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ได้มรณภาพลง ส่งผลให้วัดทรุดโทรมลงไปด้วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่นิยมมาท่องเที่ยวและไหว้พระหายไปเกือบหมด
ด้วยความเสียดายความวิจิตรงดงามของสถาปัตยกรรม “วัดขวด” ซึ่งมีเพียงแค่ 2 แห่ง ในประเทศไทย คือที่ จ.ศรีสะเกษ และ อ.จะนะ จ.สงขลา “เที่ยวท่องล่องใต้” จึงหยิบยกมานำเสนอ เพราะไม่อยากให้สถาปัตยกรรมที่สวยงาม และสร้างสรรค์แบบนี้ต้องถูกลืม และสูญหายไป
พระครูโสภณ วินัยการ เจ้าอาวาส วัดขวด เล่าว่า เดิมที่วัดแห่งนี้เป็นฌาปณสถาน สำนักสงฆ์โคกสัก โดยมีหลวงตาคง เป็นผู้ดูแล ต่อมา หลวงตาคง ได้นิมนต์พระครูสุนทรธรรมสิริ หรือหลวงพ่อคำใส ซึ่งธุดงค์ผ่านมา นิมนต์ให้อยู่ที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ หลวงพ่อคำใส เป็นพระมาจาก จ.ศรีสะเกษ และท่านได้เห็น วัดล้านขวด ที่ จ.ศรีสะเกษ ก็เลยมีความคิดริเริ่มที่จะนำขวดเหลือใช้มาก่อสร้างเป็นวัด โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 แต่มาโด่งดังเป็นวัดขวดเมื่อปี พ.ศ.2536 โดยการรับบริจาคขวดชนิดต่างๆ จากญาติโยม ไม่ว่าจะเป็นขวดเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มชูกำลัง มาสร้างวัด นอกจากจะเป็นการประหยัดงบประมาณแล้ว วัสดุรีไซเคิลเหล่านี้ยังแฝงคติธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความฟุ่มเฟือยของมนุษย์ ที่หมดไปกับสิ่งมึนเมาไร้ประโยชน์ พระครูสุนทรธรรมสิริ สร้างวัดขวดนี่ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่คอยย้ำเตือนจิตใจปุถุชนคนรุ่นหลังไม่ให้ลุ่มหลงในสุรา ยาเสพติด
สำหรับสถาปัตยกรรมชั้นเลิศที่ล้วนสร้างจากขวดนั้น เริ่มตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าที่มีสัญลักษณ์เป็นขวดใบใหญ่ 3 ใบ อยู่บนซุ้มประตู กำแพงวัด ศาลาการเปรียญ วิหารเจดีย์ทรงไทย ห้องน้ำ ห้องส้วม รวมทั้งกุฏิของพระสงฆ์ ทั้งหมดตกแต่งลวดลายด้วยฝาขวด และเปลือกหอยเข้ากันได้อย่างสวยงาม
น่าเสียดายที่ปัจจุบัน “วัดขวด” ทรุดโทรมลงมาก แต่ยังมีความงดงามแปลกตาหลงเหลือให้ได้เชยชมกันอยู่ จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่ยังไม่เคยมาเยือน แวะเวียนมาชมกัน รับประกันความปลอดภัย ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะห่างไกลกับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พอควร หากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวอย่างเช่นเคย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เข้าไปดูแล บูรณะ ศาสนสถานแห่งนี้ให้กลับมางดงามเช่นดังเดิม
สำหรับการเดินทาง ไปไม่ยาก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 408 จะนะ-นาทวี ถึงกิโลเมตรที่ 43 เลี้ยวขวาตรงกำแพงโรงเรียนบ้านแค จะมีถนนผ่านหมู่บ้านเข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร สุดสายถนนก็จะเจอซุ้มประตูวัดขวด