ตรัง - เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง ขู่หากรัฐบาลให้รีบเร่งแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ ขีดเส้นตายรวมตัวชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ หากไม่เป็นที่น่าพอใจ สิ้นเดือน มิ.ย.นี้รวมตัวประท้วงครั้งใหญ่
นายวิรัตน์ อินทรัตน์ ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง กล่าวว่า ที่ผ่านมาชาวสวนยางในภาคใต้ ได้ทำข้อตกลงกับ 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไทย ว่า จะมีการแทรกแซงราคายางให้อยู่ที่ กก.ละ 120 บาท แต่มาวันนี้ราคายางกลับตกต่ำลดลงเหลือ กก.ละ 90 บาท ซึ่งถือว่าต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบันที่สูง ทำให้ส่งผลกระทบต่อชาวสวนยางที่มีรายได้น้อยทั่วทุกภาคแล้ว ไม่เฉพาะภาคใต้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ตกลงว่า จะประกันราคา กก.ละ 120 บาท แต่ก็ไม่สามารถทำได้
ดังนั้น เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับชาวสวนยาง เมื่อครั้งที่มีการปิดถนนประท้วง ที่ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา พร้อมกับหามาตรการที่ดีกว่าการให้เงินสนับสนุนแก่สถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา จำนวน 15,000 ล้านบาท เนื่องจากทุกวันนี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเทียบไม่ได้กับมูลค่าของยาง ที่มีมากกว่า 400,000-500,000 ล้านบาท
ขณะที่องค์การสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ยังไม่สามารถยกระดับการแทรกแซงราคายาง ให้สูงกว่าในท้องตลาดได้ถึง กก.ละ 120 บาท จึงทำให้ชาวสวนยางมีความเดือดร้อนอย่างมาก อีกทั้งรัฐบาลควรหามาตรการดูแลยาง ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับ 1 ของประเทศ ให้เหมือนกับการดูแลข้าว เพื่อทำให้น้ำยางสด มีราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่ กก.ละ 100 บาท และยางแผ่นดิบ มีราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่ กก.ละ 110-120 บาท
โดยเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง กำลังขอรอดูท่าทีของรัฐบาลว่า จะสามารถทำให้ยางอยู่ที่ราคา กก.ละ 120 บาท ได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นที่น่าพอใจ ในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ จะรวมตัวกันชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ เพื่อหามาตรการกดดันต่อไป พร้อมมั่นใจว่า พ่อค้าคนกลางและโรงงานจะไม่หยุดรับซื้อยางจากชาวสวน เพราะอาจมีผลกระทบต่อออร์เดอร์สินค้าที่รับมาล่วงหน้า แต่หากมีการหยุดรับซื้อจริง ชาวสวนยาง จ.ตรัง ก็ไม่ได้กังวล เพราะยังมีสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) รับซื้อผลผลิตอยู่
นายวิรัตน์ อินทรัตน์ ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง กล่าวว่า ที่ผ่านมาชาวสวนยางในภาคใต้ ได้ทำข้อตกลงกับ 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไทย ว่า จะมีการแทรกแซงราคายางให้อยู่ที่ กก.ละ 120 บาท แต่มาวันนี้ราคายางกลับตกต่ำลดลงเหลือ กก.ละ 90 บาท ซึ่งถือว่าต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบันที่สูง ทำให้ส่งผลกระทบต่อชาวสวนยางที่มีรายได้น้อยทั่วทุกภาคแล้ว ไม่เฉพาะภาคใต้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ตกลงว่า จะประกันราคา กก.ละ 120 บาท แต่ก็ไม่สามารถทำได้
ดังนั้น เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับชาวสวนยาง เมื่อครั้งที่มีการปิดถนนประท้วง ที่ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา พร้อมกับหามาตรการที่ดีกว่าการให้เงินสนับสนุนแก่สถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา จำนวน 15,000 ล้านบาท เนื่องจากทุกวันนี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเทียบไม่ได้กับมูลค่าของยาง ที่มีมากกว่า 400,000-500,000 ล้านบาท
ขณะที่องค์การสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ยังไม่สามารถยกระดับการแทรกแซงราคายาง ให้สูงกว่าในท้องตลาดได้ถึง กก.ละ 120 บาท จึงทำให้ชาวสวนยางมีความเดือดร้อนอย่างมาก อีกทั้งรัฐบาลควรหามาตรการดูแลยาง ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับ 1 ของประเทศ ให้เหมือนกับการดูแลข้าว เพื่อทำให้น้ำยางสด มีราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่ กก.ละ 100 บาท และยางแผ่นดิบ มีราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่ กก.ละ 110-120 บาท
โดยเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง กำลังขอรอดูท่าทีของรัฐบาลว่า จะสามารถทำให้ยางอยู่ที่ราคา กก.ละ 120 บาท ได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นที่น่าพอใจ ในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ จะรวมตัวกันชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ เพื่อหามาตรการกดดันต่อไป พร้อมมั่นใจว่า พ่อค้าคนกลางและโรงงานจะไม่หยุดรับซื้อยางจากชาวสวน เพราะอาจมีผลกระทบต่อออร์เดอร์สินค้าที่รับมาล่วงหน้า แต่หากมีการหยุดรับซื้อจริง ชาวสวนยาง จ.ตรัง ก็ไม่ได้กังวล เพราะยังมีสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) รับซื้อผลผลิตอยู่