ศูนย์ข่าวภูเก็ต - อบจ.ภูเก็ต ลงพื้นที่สำรวจ-ออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างถนนใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง แก้ปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ต เผยแนวคิดดำเนินการต่อ แบ่งการพัฒนาออกเป็นระยะ ช่วงแรกจะดำเนินการก่อนระยะทาง 2 กิโลเมตร บริเวณบ้านศรีสุนทร-หัวหาร เพื่อนำร่องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมโครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดถนนใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยมี นายชวลิต ณ นคร รองนายก อบจ.ภูเก็ต นายสรธรรม จินดา รองนายก อบจ.ภูเก็ต นายมานพ ลีลาสุธานนท์ ปลัด อบจ.ภูเก็ต พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ อบจ.ภูเก็ต ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แขวงการทางจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม พร้อมลงพื้นที่สำรวจเส้นทางบริเวณถนนศรีสุนทร-หัวหาร ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกอบจ.ภูเก็ต กล่าวว่า สืบเนื่องจากการประชุมศูนย์เครือข่ายเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาการจราจรเส้นทางเข้าออกเมืองภูเก็ต- สนามบิน ซึ่งปัจจุบัน มีเส้นทางหลักเพียงเส้นเดียว คือ ถนนเทพกระษัตรี หรือทางหลวงหมายเลข 402 ทำให้การสัญจรในพื้นที่ดังกล่าวติดขัด ประกอบกับทางเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา แขวงการทางจังหวัดภูเก็ตได้ศึกษาสำรวจ และออกแบบรายละเอียดของโครงการดังกล่าวไว้แล้ว ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร รวมทั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเส้นทางที่จะตัดถนนผ่านบางส่วนได้บริจาคที่ดินแล้ว เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในการสัญจรไปมา
ทางอบจ.ภูเก็ต จึงมีแนวความคิดในการดำเนินโครงการดังกล่าวต่อ โดยจะแบ่งการพัฒนาออกเป็นระยะๆ เบื้องต้น จากที่ได้หารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ข้อสรุปเลือกพื้นที่ใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงบริเวณบ้านศรีสุนทร-หัวหาร ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร นำร่องดำเนินการเป็นลำดับแรก เพื่อให้เป็นตัวอย่างสำหรับพื้นที่อื่นๆ เพราะเส้นทางที่จะตัดถนนผ่านนั้นจะต้องขอบริจาคที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้รอนสิทธิ์ไว้แล้ว
อบจ.ภูเก็ต จึงเชิญทางจังหวัดภูเก็ต แขวงการทางจังหวัดภูเก็ต กำนัน และนายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด มาร่วมประชุม พร้อมทั้งได้ลงพื้นที่จริงเพื่อทำการสำรวจ ซึ่งปรากฏว่า เส้นทางที่จะทำถนนใต้สายส่งไฟฟ้าแรงสูงอย่างรวดเร็วที่สุด คือถนนศรีสุนทร ไปที่บริเวณถนนหัวหาร เส้นทางยาวประมาณ 2 กิโลเมตร มีเจ้าของที่ดินจำนวน 4 ราย และคาดว่าหลังจากสำรวจแล้วจะสามารถสร้างถนนเส้นนี้ได้ โดยใช้เวลาและงบประมาณไม่มาก ซึ่งทางสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต กำลังดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ในขณะนี้ โดยทางกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงเทศบาลตำบลศรีสุนทร และ อบจ.ภูเก็ต จะร่วมกับทางจังหวัดภูเก็ต เพื่อจะทำเส้นทางนี้ให้ปรากฏโดยด่วนที่สุด
นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า เนื่องจากที่ดินที่จะดำเนินการนั้นจะต้องขออุทิศจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งคงต้องให้นายกเทศมนตรีศรีสุนทร กำนัน ต.ศรีสุนทร และผู้เกี่ยวข้องได้ช่วยเจรจา หากสำเร็จทาง อบจ.ภูเก็ตจะได้จัดสรรงบประมาณปี 2556 ในการก่อสร้างต่อไป เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์แท้จริง
ขณะที่นายกิตติศักดิ์ โสตรักษา กำนันตำบลศรีสุนทร กล่าวว่า แม้ที่ดินที่จะก่อสร้างถูกรอนสิทธิ์โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว แต่หากจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยจะต้องทำเป็นหลักฐานทางราชการเพื่อยืนยันกับเจ้าของที่ดิน ว่าถ้าไม่มีการก่อสร้างเจ้าของเดิมก็ไม่สามารถทวงคืนได้ ดังนั้น จึงอยากให้มีการลงไปทำความเข้าใจกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน และอาจกำหนดเงื่อนไขว่าหากไม่มีการก่อสร้างในระยะเวลาเท่าใด กรรมสิทธิ์จะกลับไปเป็นของเจ้าของเดิม
ด้านนายทรงกริช สรรพกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบรายละเอียดของโครงการถนนใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กล่าวว่า จากข้อมูลที่ทางบริษัทฯ ได้ศึกษาไว้นั้น ถนนสายดังกล่าวมีระยะทางประมาณ 20.50 กิโลเมตร ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 955 ล้านบาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 50 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในแต่ละช่วงที่แตกต่างกัน ส่วนที่จะมีการนำร่องก่อสร้างบริเวณบ้านศรีสุนทร-หัวหาร ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตรนั้น จะต้องไปทำการถอดแบบออกมาใหม่จึงจะได้รายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะใช้งบประมาณเท่าใด
สำหรับความเป็นมาของโครงการก่อสร้างถนนใต้เสาไฟฟ้าแรงสูง ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สืบเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มการขยายตัวมากขึ้นในอนาคต แต่ปัจจุบัน โครงข่ายสายหลักในการเดินทางเชื่อมโยงจากพื้นที่ภายนอกเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดภูเก็ตมีเพียงทางหลวงหมายเลข 402 ได้มีการปรับปรุงและขยายช่องทางจราจรบริเวณทางแยกสำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านจราจรที่สูงขึ้น โดยในแต่ละปี มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดภูเก็ตไม่ต่ำกว่าปีละ 5 ล้านคน
และจากข้อมูลสถิติของสำนักงานอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง พบว่า ถนนสายหลักที่ใช้ในการเดินทางในจังหวัดภูเก็ต คือ ทางหลวงหมายเลข 402 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่ตำบลโคกกลอย จังหวัดพังงา และไปสิ้นสุดที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีปริมาณจราจรตลอดเส้นทางค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากต้องรองรับการเดินทางภายในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนปริมาณจราจรที่เกิดขึ้นจากสนามบินนานาชาติภูเก็ต โดยในปี พ.ศ.2550 มีปริมาณจราจรบนช่วงทางประมาณ 38,421 คันต่อวัน ซึ่งช่วงที่มีปริมาณจราจรสูงสุดบนทางหลวง 402 มีปริมาณจราจรบนช่วงทางประมาณ 42,840 คันต่อวัน
ดังนั้น จังหวัดภูเก็ตจึงมีแนวคิดในการที่จะสร้างโครงข่ายทางหลวงเพิ่มขึ้น เพื่อเชื่อมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 (ถนนทางเข้าท่าอากาศยานภูเก็ต) กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 ตัดใหม่ (ถนนบายพาส) ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร เป็นถนนคู่ขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจร และความเดือดร้อนของประชาชน และสนับสนุนให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นของภาคธุรกิจท่องเที่ยวโดยรวมของจังหวัด ซึ่งถนนดังกล่าว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้รอนสิทธิ์ไว้แล้ว ด้วยเหตุนี้ จังหวัดภูเก็ตจึงมีแนวคิดที่จะก่อสร้างถนนใต้สายไฟฟ้าแรงสูง อันนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาจราจรของจังหวัดภูเก็ตต่อไป
ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมโครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดถนนใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยมี นายชวลิต ณ นคร รองนายก อบจ.ภูเก็ต นายสรธรรม จินดา รองนายก อบจ.ภูเก็ต นายมานพ ลีลาสุธานนท์ ปลัด อบจ.ภูเก็ต พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ อบจ.ภูเก็ต ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แขวงการทางจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม พร้อมลงพื้นที่สำรวจเส้นทางบริเวณถนนศรีสุนทร-หัวหาร ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกอบจ.ภูเก็ต กล่าวว่า สืบเนื่องจากการประชุมศูนย์เครือข่ายเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาการจราจรเส้นทางเข้าออกเมืองภูเก็ต- สนามบิน ซึ่งปัจจุบัน มีเส้นทางหลักเพียงเส้นเดียว คือ ถนนเทพกระษัตรี หรือทางหลวงหมายเลข 402 ทำให้การสัญจรในพื้นที่ดังกล่าวติดขัด ประกอบกับทางเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา แขวงการทางจังหวัดภูเก็ตได้ศึกษาสำรวจ และออกแบบรายละเอียดของโครงการดังกล่าวไว้แล้ว ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร รวมทั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเส้นทางที่จะตัดถนนผ่านบางส่วนได้บริจาคที่ดินแล้ว เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในการสัญจรไปมา
ทางอบจ.ภูเก็ต จึงมีแนวความคิดในการดำเนินโครงการดังกล่าวต่อ โดยจะแบ่งการพัฒนาออกเป็นระยะๆ เบื้องต้น จากที่ได้หารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ข้อสรุปเลือกพื้นที่ใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงบริเวณบ้านศรีสุนทร-หัวหาร ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร นำร่องดำเนินการเป็นลำดับแรก เพื่อให้เป็นตัวอย่างสำหรับพื้นที่อื่นๆ เพราะเส้นทางที่จะตัดถนนผ่านนั้นจะต้องขอบริจาคที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้รอนสิทธิ์ไว้แล้ว
อบจ.ภูเก็ต จึงเชิญทางจังหวัดภูเก็ต แขวงการทางจังหวัดภูเก็ต กำนัน และนายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด มาร่วมประชุม พร้อมทั้งได้ลงพื้นที่จริงเพื่อทำการสำรวจ ซึ่งปรากฏว่า เส้นทางที่จะทำถนนใต้สายส่งไฟฟ้าแรงสูงอย่างรวดเร็วที่สุด คือถนนศรีสุนทร ไปที่บริเวณถนนหัวหาร เส้นทางยาวประมาณ 2 กิโลเมตร มีเจ้าของที่ดินจำนวน 4 ราย และคาดว่าหลังจากสำรวจแล้วจะสามารถสร้างถนนเส้นนี้ได้ โดยใช้เวลาและงบประมาณไม่มาก ซึ่งทางสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต กำลังดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ในขณะนี้ โดยทางกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงเทศบาลตำบลศรีสุนทร และ อบจ.ภูเก็ต จะร่วมกับทางจังหวัดภูเก็ต เพื่อจะทำเส้นทางนี้ให้ปรากฏโดยด่วนที่สุด
นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า เนื่องจากที่ดินที่จะดำเนินการนั้นจะต้องขออุทิศจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งคงต้องให้นายกเทศมนตรีศรีสุนทร กำนัน ต.ศรีสุนทร และผู้เกี่ยวข้องได้ช่วยเจรจา หากสำเร็จทาง อบจ.ภูเก็ตจะได้จัดสรรงบประมาณปี 2556 ในการก่อสร้างต่อไป เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์แท้จริง
ขณะที่นายกิตติศักดิ์ โสตรักษา กำนันตำบลศรีสุนทร กล่าวว่า แม้ที่ดินที่จะก่อสร้างถูกรอนสิทธิ์โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว แต่หากจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยจะต้องทำเป็นหลักฐานทางราชการเพื่อยืนยันกับเจ้าของที่ดิน ว่าถ้าไม่มีการก่อสร้างเจ้าของเดิมก็ไม่สามารถทวงคืนได้ ดังนั้น จึงอยากให้มีการลงไปทำความเข้าใจกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน และอาจกำหนดเงื่อนไขว่าหากไม่มีการก่อสร้างในระยะเวลาเท่าใด กรรมสิทธิ์จะกลับไปเป็นของเจ้าของเดิม
ด้านนายทรงกริช สรรพกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบรายละเอียดของโครงการถนนใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กล่าวว่า จากข้อมูลที่ทางบริษัทฯ ได้ศึกษาไว้นั้น ถนนสายดังกล่าวมีระยะทางประมาณ 20.50 กิโลเมตร ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 955 ล้านบาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 50 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในแต่ละช่วงที่แตกต่างกัน ส่วนที่จะมีการนำร่องก่อสร้างบริเวณบ้านศรีสุนทร-หัวหาร ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตรนั้น จะต้องไปทำการถอดแบบออกมาใหม่จึงจะได้รายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะใช้งบประมาณเท่าใด
สำหรับความเป็นมาของโครงการก่อสร้างถนนใต้เสาไฟฟ้าแรงสูง ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สืบเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มการขยายตัวมากขึ้นในอนาคต แต่ปัจจุบัน โครงข่ายสายหลักในการเดินทางเชื่อมโยงจากพื้นที่ภายนอกเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดภูเก็ตมีเพียงทางหลวงหมายเลข 402 ได้มีการปรับปรุงและขยายช่องทางจราจรบริเวณทางแยกสำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านจราจรที่สูงขึ้น โดยในแต่ละปี มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดภูเก็ตไม่ต่ำกว่าปีละ 5 ล้านคน
และจากข้อมูลสถิติของสำนักงานอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง พบว่า ถนนสายหลักที่ใช้ในการเดินทางในจังหวัดภูเก็ต คือ ทางหลวงหมายเลข 402 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่ตำบลโคกกลอย จังหวัดพังงา และไปสิ้นสุดที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีปริมาณจราจรตลอดเส้นทางค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากต้องรองรับการเดินทางภายในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนปริมาณจราจรที่เกิดขึ้นจากสนามบินนานาชาติภูเก็ต โดยในปี พ.ศ.2550 มีปริมาณจราจรบนช่วงทางประมาณ 38,421 คันต่อวัน ซึ่งช่วงที่มีปริมาณจราจรสูงสุดบนทางหลวง 402 มีปริมาณจราจรบนช่วงทางประมาณ 42,840 คันต่อวัน
ดังนั้น จังหวัดภูเก็ตจึงมีแนวคิดในการที่จะสร้างโครงข่ายทางหลวงเพิ่มขึ้น เพื่อเชื่อมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 (ถนนทางเข้าท่าอากาศยานภูเก็ต) กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 ตัดใหม่ (ถนนบายพาส) ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร เป็นถนนคู่ขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจร และความเดือดร้อนของประชาชน และสนับสนุนให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นของภาคธุรกิจท่องเที่ยวโดยรวมของจังหวัด ซึ่งถนนดังกล่าว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้รอนสิทธิ์ไว้แล้ว ด้วยเหตุนี้ จังหวัดภูเก็ตจึงมีแนวคิดที่จะก่อสร้างถนนใต้สายไฟฟ้าแรงสูง อันนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาจราจรของจังหวัดภูเก็ตต่อไป