ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.) แจ้งเลื่อนการจัดเวทีเสวนาเรื่อง “พลังงานหมุนเวียนกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดตรัง” จากวันนี้ เป็นวันที่ 9 มิถุนายน 2555 ในเวลา 13.00-17.00 น. ที่ห้องประชุมดุสิตตรัง อาคารดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต วิทยาเขตตรัง
น.ส.ศยามล ไกรยูรวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.) เปิดเผยว่า จากการที่เครือข่ายคนตรัง อันประกอบด้วย เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาจังหวัดตรังยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง เครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง มูลนิธิหยาดฝน มูลนิธิอันดามัน โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา มีวงสนทนาในระดับจังหวัดตรังเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องดุสิตา 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วิทยาเขตตรัง จะจัดเวทีเสวนาเรื่อง “พลังงานหมุนเวียนกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดตรัง” ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดตรังนั้น ล่าสุด มีความเห็นร่วมกันว่า ควรเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 มิถุนายน 2555 ในเวลา 13.00-17.00 น. ที่ห้องประชุมดุสิตตรัง อาคารดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต วิทยาเขตตรังแทน
น.ส.ศยามล เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับเวทีพลังงานหมุนเวียนกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดตรัง มีการเชิญนายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิชาการด้านพลังงานมูลนิธินโยบายสุขภาวะ นำเสนอเรื่องนโยบายพลังงานของประเทศไทย และเทคโนโลยี ผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยและต่างประเทศ, ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ นำเสนอเกี่ยวกับศักยภาพความเป็นไปได้ของภาคใต้ และจังหวัดตรังในการทำพลังงานหมุนเวียน และนายอำนาจ คงทอง พลังงานจังหวัดตรัง นำเสนอเกี่ยวกับศักยภาพ และตัวอย่างการทำพลังงานหมุนเวียนในจังหวัดตรัง
น.ส.ศยามล เปิดเผยอีกว่า ส่วนเวทีเสวนาการให้ข้อมูลเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังในวันที่ 13 มิถุนายน 2555 นั้นก็เห็นว่าควรกำหนดวันเวลาใหม่อีกครั้ง จากการสนทนาตกลงร่วมกันในวันที่ 9 มิถุนายน 2555 นี้ เพื่อวางแผนการจัดเวทีเสวนาครั้งต่อไปในการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลโรงไฟฟ้าถ่านหิน ให้แก่ประชาชนในจังหวัดตรังรับรู้อย่างทั่วถึง
น.ส.ศยามล กล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีแผนงานที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ 9 โรง เฉลี่ยกำลังการผลิตไฟฟ้าโรงละ 800 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมหนักตามแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาล จากรายงานโครงการศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด กฟผ.ในพื้นที่ศักยภาพจังหวัดตรัง ระบุว่า ใช้ถ่านหินจำนวน 7,184 ตันต่อวัน คิดเป็น 2.23 ล้านตันต่อปี โดยนำเข้าถ่านหินซับบิทูมินัสจากอินโดนีเซีย การขนส่งถ่านหินใช้เรือท้องแบนขนาดบรรทุก 8,000-9,000 ตัน
กรณีที่พื้นที่ที่ตั้งโรงไฟฟ้าเรือไม่สามารถเข้าได้ จะขนส่งต่อด้วยรถบรรทุกขนาด 40 ตัน จำนวน 200 คัน เดินทาง 400 เที่ยวต่อวัน และต้องมีสายพานลำเลียงถ่านหินขึ้นจากเรือผ่านชุมชน หรือป่าชายเลน ระยะทาง 5-7 กิโลเมตร และจะมีการส่งไฟฟ้าเข้าระบบที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงทุ่งสง พื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่ กฟผ. มีทางเลือกสามพื้นที่ ได้แก่ คลองเจ้าไหม ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง, บริเวณลุ่มแม่น้ำตรัง ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง และบริเวณลุ่มแม่น้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง
“เป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่เจ้าหน้าที่ กฟผ. ได้มาทำงานมวลชนสัมพันธ์กับชุมชนในตำบลวังวน ตำบลใกล้เคียง ผู้ปกครองท้องที่ ผู้ปกครองท้องถิ่น และพาไปศึกษาดูงานที่โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแผนงานระยะที่ 1 ในช่วงของการริเริ่มโครงการ โดยที่กำลังหาบริษัทที่ปรึกษาเพื่อว่าจ้างการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความสับสน ขัดแย้งทางความคิด ระหว่างกลุ่มที่เอา กับกลุ่มที่ไม่เอา คนตรังที่มีจิตใจอาสาในนามสมัชชาตรัง และเครือข่ายเพื่อความร่วมมือพัฒนาจังหวัดตรังยั่งยืน มีความเห็นว่า ควรเร่งดำเนินการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้านแก่ประชาชน และข้าราชการในจังหวัดตรัง และประชาชนพื้นที่ตำบลวังวน และตำบลใกล้เคียงในอำเภอกันตัง” น.ส.ศยามล กล่าว
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้
น.ส.ศยามล ไกรยูรวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.) เปิดเผยว่า จากการที่เครือข่ายคนตรัง อันประกอบด้วย เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาจังหวัดตรังยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง เครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง มูลนิธิหยาดฝน มูลนิธิอันดามัน โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา มีวงสนทนาในระดับจังหวัดตรังเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องดุสิตา 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วิทยาเขตตรัง จะจัดเวทีเสวนาเรื่อง “พลังงานหมุนเวียนกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดตรัง” ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดตรังนั้น ล่าสุด มีความเห็นร่วมกันว่า ควรเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 มิถุนายน 2555 ในเวลา 13.00-17.00 น. ที่ห้องประชุมดุสิตตรัง อาคารดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต วิทยาเขตตรังแทน
น.ส.ศยามล เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับเวทีพลังงานหมุนเวียนกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดตรัง มีการเชิญนายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิชาการด้านพลังงานมูลนิธินโยบายสุขภาวะ นำเสนอเรื่องนโยบายพลังงานของประเทศไทย และเทคโนโลยี ผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยและต่างประเทศ, ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ นำเสนอเกี่ยวกับศักยภาพความเป็นไปได้ของภาคใต้ และจังหวัดตรังในการทำพลังงานหมุนเวียน และนายอำนาจ คงทอง พลังงานจังหวัดตรัง นำเสนอเกี่ยวกับศักยภาพ และตัวอย่างการทำพลังงานหมุนเวียนในจังหวัดตรัง
น.ส.ศยามล เปิดเผยอีกว่า ส่วนเวทีเสวนาการให้ข้อมูลเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังในวันที่ 13 มิถุนายน 2555 นั้นก็เห็นว่าควรกำหนดวันเวลาใหม่อีกครั้ง จากการสนทนาตกลงร่วมกันในวันที่ 9 มิถุนายน 2555 นี้ เพื่อวางแผนการจัดเวทีเสวนาครั้งต่อไปในการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลโรงไฟฟ้าถ่านหิน ให้แก่ประชาชนในจังหวัดตรังรับรู้อย่างทั่วถึง
น.ส.ศยามล กล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีแผนงานที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ 9 โรง เฉลี่ยกำลังการผลิตไฟฟ้าโรงละ 800 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมหนักตามแผนพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาล จากรายงานโครงการศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด กฟผ.ในพื้นที่ศักยภาพจังหวัดตรัง ระบุว่า ใช้ถ่านหินจำนวน 7,184 ตันต่อวัน คิดเป็น 2.23 ล้านตันต่อปี โดยนำเข้าถ่านหินซับบิทูมินัสจากอินโดนีเซีย การขนส่งถ่านหินใช้เรือท้องแบนขนาดบรรทุก 8,000-9,000 ตัน
กรณีที่พื้นที่ที่ตั้งโรงไฟฟ้าเรือไม่สามารถเข้าได้ จะขนส่งต่อด้วยรถบรรทุกขนาด 40 ตัน จำนวน 200 คัน เดินทาง 400 เที่ยวต่อวัน และต้องมีสายพานลำเลียงถ่านหินขึ้นจากเรือผ่านชุมชน หรือป่าชายเลน ระยะทาง 5-7 กิโลเมตร และจะมีการส่งไฟฟ้าเข้าระบบที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงทุ่งสง พื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่ กฟผ. มีทางเลือกสามพื้นที่ ได้แก่ คลองเจ้าไหม ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง, บริเวณลุ่มแม่น้ำตรัง ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง และบริเวณลุ่มแม่น้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง
“เป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่เจ้าหน้าที่ กฟผ. ได้มาทำงานมวลชนสัมพันธ์กับชุมชนในตำบลวังวน ตำบลใกล้เคียง ผู้ปกครองท้องที่ ผู้ปกครองท้องถิ่น และพาไปศึกษาดูงานที่โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแผนงานระยะที่ 1 ในช่วงของการริเริ่มโครงการ โดยที่กำลังหาบริษัทที่ปรึกษาเพื่อว่าจ้างการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความสับสน ขัดแย้งทางความคิด ระหว่างกลุ่มที่เอา กับกลุ่มที่ไม่เอา คนตรังที่มีจิตใจอาสาในนามสมัชชาตรัง และเครือข่ายเพื่อความร่วมมือพัฒนาจังหวัดตรังยั่งยืน มีความเห็นว่า ควรเร่งดำเนินการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้านแก่ประชาชน และข้าราชการในจังหวัดตรัง และประชาชนพื้นที่ตำบลวังวน และตำบลใกล้เคียงในอำเภอกันตัง” น.ส.ศยามล กล่าว
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้