ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมแก้ปัญหาชาวเลอันดามัน จัดประชุมวิชาการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตตามมติ ครม.ปี 2553 ระบุที่ผ่านมา การดำเนินงานยังมีปัญหาในการขับเคลื่อน
ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 ซึ่งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องแววราไวย์ โรงแรมเมโทรโพลภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้แทนคณะกรรมการอำนวยการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลระดับจังหวัด ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนองค์กรหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชาวเล และผู้แทนชาวเลในพื้นที่จังหวัดอันดามัน ได้แก่ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และระนอง
ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลตามที่กระทรวงวัฒธรรมเสนอ โดยมีประเด็นเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงด้านที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และการสร้างความมั่นคงในอาชีพประมงแบบดั้งเดิม การผ่อนปรนพิเศษ การช่วยเหลือด้านสาธารณสุข การแก้ปัญหาสัญชาติ การส่งเสริมด้านการศึกษา การแก้ปัญหาอคติทางชาติพันธุ์และมองชาวเลอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น การส่งเสริมชุมชนและเครือข่ายชาวเลให้เกิดความเข้มแข็งและมีกิจกรรมต่อเนื่อง และการพิจารณากำหนดเขตพื้นที่สังคมและวัฒนธรรมพิเศษแก่ชาวเล ภายใต้มาตรการฟื้นฟูระยะยาว 1-3 ปี ซึ่งได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักการ และแนวนโยบายดังกล่าวไปปรับใช้บ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา
แต่การดำเนินการยังพบปัญหาอุปสรรคบางประการ ทั้งด้านการรับรู้และความเข้าใจในเจตนารมณ์ของมติ ครม. ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการร่วมกำหนดเป้าหมาย แผนการดำเนินการ และกลไกการดำเนินงานที่ชัดเจน การประสานความร่วมมือกับเอกชน ประชาสังคม และสื่อมวลชน เป็นต้น ทั้งหลายดังกล่าวทำให้ผู้ปฏิบัติงานวัฒนธรรมและเครือข่ายชาวเลในระดับพื้นที่ไม่สามารถขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามเป้าหมายได้
“จึงมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และถอดบทเรียนการทำงานในช่วงที่ผ่านมาให้แก่คณะกรรมการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลระดัดจังหวัด และผู้แทนชาวเล เพื่อให้เจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสามารถปรับตัวทันกับสถานการณ์ และร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลไปพร้อมกัน” ผศ.สุวรรณากล่าว
ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 ซึ่งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องแววราไวย์ โรงแรมเมโทรโพลภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้แทนคณะกรรมการอำนวยการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลระดับจังหวัด ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนองค์กรหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชาวเล และผู้แทนชาวเลในพื้นที่จังหวัดอันดามัน ได้แก่ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และระนอง
ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลตามที่กระทรวงวัฒธรรมเสนอ โดยมีประเด็นเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงด้านที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และการสร้างความมั่นคงในอาชีพประมงแบบดั้งเดิม การผ่อนปรนพิเศษ การช่วยเหลือด้านสาธารณสุข การแก้ปัญหาสัญชาติ การส่งเสริมด้านการศึกษา การแก้ปัญหาอคติทางชาติพันธุ์และมองชาวเลอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น การส่งเสริมชุมชนและเครือข่ายชาวเลให้เกิดความเข้มแข็งและมีกิจกรรมต่อเนื่อง และการพิจารณากำหนดเขตพื้นที่สังคมและวัฒนธรรมพิเศษแก่ชาวเล ภายใต้มาตรการฟื้นฟูระยะยาว 1-3 ปี ซึ่งได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักการ และแนวนโยบายดังกล่าวไปปรับใช้บ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา
แต่การดำเนินการยังพบปัญหาอุปสรรคบางประการ ทั้งด้านการรับรู้และความเข้าใจในเจตนารมณ์ของมติ ครม. ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการร่วมกำหนดเป้าหมาย แผนการดำเนินการ และกลไกการดำเนินงานที่ชัดเจน การประสานความร่วมมือกับเอกชน ประชาสังคม และสื่อมวลชน เป็นต้น ทั้งหลายดังกล่าวทำให้ผู้ปฏิบัติงานวัฒนธรรมและเครือข่ายชาวเลในระดับพื้นที่ไม่สามารถขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามเป้าหมายได้
“จึงมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และถอดบทเรียนการทำงานในช่วงที่ผ่านมาให้แก่คณะกรรมการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลระดัดจังหวัด และผู้แทนชาวเล เพื่อให้เจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสามารถปรับตัวทันกับสถานการณ์ และร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลไปพร้อมกัน” ผศ.สุวรรณากล่าว