ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากต้องเฝ้าดูแลลูกโลมาลายแถบอย่างใกล้ชิด ผลตรวจระบุติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องทำการเพาะเชื้อหาต้นเหตุ ขณะที่โลมาไม่สามารถกินอาหารเองได้ต้องให้ทางสายยาง เผยโอกาสรอดของโลมาที่เข้ามาเกยตื้นมีประมาณ 10-30% เท่านั้น เพราะส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยหนักมาแล้ว
วันนี้ (21 พ.ค.) ที่บ่อพักฟื้น กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ป่าชายเลนและชายฝั่งภูเก็ต เจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากยังต้องช่วยกันดูแลรักษาพยาบาลลูกโลมาลายแถบเพศเมีย อายุ 2 ปี ซึ่งว่ายน้ำเข้าเกยตื้นที่หาดกะตะ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อช่วงเช้าวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่นำมาอนุบาลที่บ่อพักฟื้นดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่พยายามประคองให้โลมาทรงตัว และว่ายน้ำในบ่อพักได้ โดยลูกโลมายังสามารถว่ายน้ำได้ในบางครั้ง แต่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากไม่สามารถทรงตัวได้ ทำให้เวลาว่ายน้ำมีอาการตะแคง
สัตวแพทย์หญิงพัชราภรณ์ แก้วโม่ง สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและป่าชายเลนภูเก็ต กล่าวว่า ลูกโลมาดังกล่าวหนักประมาณ 34 กิโลกรัม ภายนอกไม่พบบาดแผล มีเพียงรอยช้ำบริเวณหัวเล็กน้อย มีอาการอ่อนเพลีย และจากการส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจเพื่อหาสาเหตุการป่วยพบว่า โลมามีอาการป่วยจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งจะต้องเพาะเชื้ออีกครั้งว่า โลมาติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ซึ่งขณะนี้ การรักษาต้องทำไปตามอาการ โดยให้ยาปฏิชีวนะในเบื้องต้น และการรักษาก็จะต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าดูอาการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งพาว่ายน้ำเพื่อไม่ให้โลมาเครียด
ส่วนการกินอาหารนั้นพบว่า โลมาไม่สามารถกินอาหารเองได้ ทางเจ้าหน้าที่เลยต้องให้อาหารเหลวทางสายยาง ในเบื้องต้นพบว่า อาการของลูกโลมายังไม่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การรักษานั้นจะรักษาตามอาการต่อไป ซึ่งปกติแล้วโลมาที่ว่ายน้ำเข้ามาเกยตื้นบริเวณชายหาดจะมีอาการป่วยที่หนักอยู่แล้ว และที่ผ่านมาโอกาสรอดของโลมาที่ว่ายน้ำมาเกยตื้นจะอยู่ที่ประมาณ 10-30% สำหรับลูกโลมาตัวนี้ทางเจ้าหน้าที่จะดูแลรักษาอย่างเต็มที่
วันนี้ (21 พ.ค.) ที่บ่อพักฟื้น กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ป่าชายเลนและชายฝั่งภูเก็ต เจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากยังต้องช่วยกันดูแลรักษาพยาบาลลูกโลมาลายแถบเพศเมีย อายุ 2 ปี ซึ่งว่ายน้ำเข้าเกยตื้นที่หาดกะตะ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อช่วงเช้าวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่นำมาอนุบาลที่บ่อพักฟื้นดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่พยายามประคองให้โลมาทรงตัว และว่ายน้ำในบ่อพักได้ โดยลูกโลมายังสามารถว่ายน้ำได้ในบางครั้ง แต่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากไม่สามารถทรงตัวได้ ทำให้เวลาว่ายน้ำมีอาการตะแคง
สัตวแพทย์หญิงพัชราภรณ์ แก้วโม่ง สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและป่าชายเลนภูเก็ต กล่าวว่า ลูกโลมาดังกล่าวหนักประมาณ 34 กิโลกรัม ภายนอกไม่พบบาดแผล มีเพียงรอยช้ำบริเวณหัวเล็กน้อย มีอาการอ่อนเพลีย และจากการส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจเพื่อหาสาเหตุการป่วยพบว่า โลมามีอาการป่วยจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งจะต้องเพาะเชื้ออีกครั้งว่า โลมาติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ซึ่งขณะนี้ การรักษาต้องทำไปตามอาการ โดยให้ยาปฏิชีวนะในเบื้องต้น และการรักษาก็จะต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าดูอาการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งพาว่ายน้ำเพื่อไม่ให้โลมาเครียด
ส่วนการกินอาหารนั้นพบว่า โลมาไม่สามารถกินอาหารเองได้ ทางเจ้าหน้าที่เลยต้องให้อาหารเหลวทางสายยาง ในเบื้องต้นพบว่า อาการของลูกโลมายังไม่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การรักษานั้นจะรักษาตามอาการต่อไป ซึ่งปกติแล้วโลมาที่ว่ายน้ำเข้ามาเกยตื้นบริเวณชายหาดจะมีอาการป่วยที่หนักอยู่แล้ว และที่ผ่านมาโอกาสรอดของโลมาที่ว่ายน้ำมาเกยตื้นจะอยู่ที่ประมาณ 10-30% สำหรับลูกโลมาตัวนี้ทางเจ้าหน้าที่จะดูแลรักษาอย่างเต็มที่