ASTVผู้จัดการออนไลน์- สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจฯ เตรียมเสนอแนะรัฐบาลเร่งให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่มีปัญหาความไม่สงบ โดยปล่อยกู้ยืมลงทุนใช้เทคโนโลยีริมโฟลว์เพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยก๊าซเอทิลีน เพื่อลดความเสี่ยงเพราะกรีดยางในช่วงเย็น กรีดหน้าสั้น งานเสร็จเร็ว ผลผลิตเพิ่ม
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงินการคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รุนแรงขึ้นส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานล่าสุดเมื่อเดือน ม.ค. ปีนี้พบว่า เศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวจากผลผลิตการเกษตรลดลงโดยขยายตัวเพียง 18% จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 62.3% เป็นผลจากผลผลิตยางพาราชะลอลงเหลือ 4.9% ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวติดลบ 24.2% จากเดือนก่อนหน้านี้โต 17% จากการผลิตอุตสาหกรรมยางแปรรูป และไม้ยางแปรรูป เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น และตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักชะลอการซื้อหลังเกิดเหตุระเบิด
นายอุทัย กล่าวว่า รัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากสถานการณ์ความไม่สงบของเกษตรกรชาวสวนยางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่ประสบปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ พื้นที่ปลูกยางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีจำนวน 2,468,524 ไร่ แบ่งเป็นสวนยางที่เปิดกรีดแล้ว 1,964,670 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 19 โดยแบ่งสวนยางในจังหวัดปัตตานี 334,035 ไร่ (เปิดกรีดแล้ว 254,087 ไร่) สวนยางจังหวัดยะลา 1,154,309 ไร่ (เปิดกรีดแล้ว 792,414 ไร่) จังหวัดนราธิวาส 980,180 ไร่ (เปิดกรีดแล้ว 792,414 ไร่)
“คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคฯ ขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้ และพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐ โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการใช้ฮอร์โมนเอทิลีนกับต้นยาง สามารถกรีดได้ในตอนบ่าย 4-5 โมงเย็น ลดความเสี่ยงในการเข้าทำงานตอนกลางคืน โดยกรีดวันเว้นสองวันและกรีดยางหน้าสั้นทำให้กรีดได้เร็ว ขณะที่ได้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยตามคำแนะนำการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยางปี 2554 ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร”
ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางข้างต้น สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลโครงการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีงบประมาณรองรับนับหมื่นล้านบาท ทำให้รายได้ต่อครัวเรือเพิ่มขึ้น 126,000 บาทต่อปี บนพื้นฐานการครอบครองสวนยาง 6.3 ไร่ต่อครอบครัว ผลผลิตไร่ละ 250 กิโลกรัมต่อปี ราคายางเฉลี่ย กก.ละ 100 บาท
เมื่อเปรียบเทียบรายได้ก่อนติดตั้งเทคโนโลยีริมโพลว์ จะมีรายได้ครัวเรือนละ 157,500 บาทต่อปี ส่วนหลังทำริมโพลว์มีรายได้ต่อครัวเรือนละ 283,500 บาทต่อปี ขณะที่ต้นทุนติดตั้งตกไร่ละ 5,000 บาท รวม 6.3 ไร่ เป็นเงิน 315,000 บาท หากให้กู้รายละไม่เกิน 5 ไร่ ใช้เวลา 3 เดือนคืนทุน จากนั้น นำรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปลงทุนต่ออีก 3 เดือนจึงคืนเงินกู้ หากคิดในภาพรวมเกษตรกรชาวสวนยาง 168,907 ครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้น 21,282 ล้านบาทต่อปี
อนึ่ง เทคโนโลยีริมโฟลว์ คือ การเพิ่มระดับฮอร์โมนเอทิลีนที่ขาดหายไปในโครงสร้างของต้นยางพารา โดยการติดตั้งอุปกรณ์ริมโฟลว์กับต้นยางที่อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ประกอบด้วยกล่องพลาสติกฝาครอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม มุมล่างของฝาครอบมีสายยาง และวาล์ว ซึ่งการติดอุปกรณ์ครั้งแรกตกต้นละ 39 บาท ใช้ได้ 1 ปีต้องเปลี่ยนใหม่
หลังจากติดตั้งแล้วจะฉีดฮอร์โมนเอทิลีนซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแก๊ส ไปตามสายยางผ่านวาล์วในอัตรา 0.02 กรัมต่อต้น คิดเป็นเงินต้นละ 20 สตางค์ จากนั้นฮอร์โมนวิ่งผ่านสายเข้าไปในกล่องฝาครอบต้นยางและจะซึมเข้าในเปลือกยาง โดยใช้ระยะเวลาการเติมฮอร์โมนทุก 10 วัน สำหรับยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม และทุก 15 วัน สำหรับยางพันธุ์อื่นๆ เมื่อเติมฮอร์โมนเอทิลีนแล้วจะกรีดยาง 1 วัน เว้นอีก 2 วัน ระยะเวลา 10 วัน จะกรีดเพียง 3 วัน
การใช้เทคโนโลยีริมโพลว์นั้น ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี ระบุว่า ทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าการกรีดทุกวันถึง 1.5 เท่า กล่าวคือ จากเดิมกรีดยาง 10 วัน ได้ 30 กิโลกรัม แต่เมื่อใช้เทคโนโลยีนี้ กรีดเพียง 3 วัน จะได้น้ำยาง 45 กิโลกรัม โดยกรีดตอนกลางวัน หรือตอนเย็นก็ได้ เหมาะสำหรับพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับประเทศไทย มีการนำเทคโนโลยีตัวนี้มาเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ครั้งแรกทดลองใช้ในสวนยางพาราที่ อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน มีเกษตรกรติดตั้งเทคโนโลยีริมโฟลว์ประมาณ 4 ล้านต้นไร่ ที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดงบประมาณปี 2552 ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางนำไปฝึกอบรม และสาธิตการใช้เทคโนโลยีริมโฟลว์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดความเสี่ยงในพื้นที่อันตราย แต่ยังไม่ได้สนับสนุนเงินกู้ลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวแก่เกษตรกร
“คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคฯ จะเร่งหาข้อมูลในพื้นที่และสรุปปัญหาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในเร็วๆ นี้”
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงินการคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รุนแรงขึ้นส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานล่าสุดเมื่อเดือน ม.ค. ปีนี้พบว่า เศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวจากผลผลิตการเกษตรลดลงโดยขยายตัวเพียง 18% จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 62.3% เป็นผลจากผลผลิตยางพาราชะลอลงเหลือ 4.9% ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวติดลบ 24.2% จากเดือนก่อนหน้านี้โต 17% จากการผลิตอุตสาหกรรมยางแปรรูป และไม้ยางแปรรูป เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น และตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักชะลอการซื้อหลังเกิดเหตุระเบิด
นายอุทัย กล่าวว่า รัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากสถานการณ์ความไม่สงบของเกษตรกรชาวสวนยางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่ประสบปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ พื้นที่ปลูกยางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีจำนวน 2,468,524 ไร่ แบ่งเป็นสวนยางที่เปิดกรีดแล้ว 1,964,670 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 19 โดยแบ่งสวนยางในจังหวัดปัตตานี 334,035 ไร่ (เปิดกรีดแล้ว 254,087 ไร่) สวนยางจังหวัดยะลา 1,154,309 ไร่ (เปิดกรีดแล้ว 792,414 ไร่) จังหวัดนราธิวาส 980,180 ไร่ (เปิดกรีดแล้ว 792,414 ไร่)
“คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคฯ ขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางให้มีรายได้ และพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐ โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนเทคโนโลยีการใช้ฮอร์โมนเอทิลีนกับต้นยาง สามารถกรีดได้ในตอนบ่าย 4-5 โมงเย็น ลดความเสี่ยงในการเข้าทำงานตอนกลางคืน โดยกรีดวันเว้นสองวันและกรีดยางหน้าสั้นทำให้กรีดได้เร็ว ขณะที่ได้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยตามคำแนะนำการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยางปี 2554 ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร”
ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางข้างต้น สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลโครงการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีงบประมาณรองรับนับหมื่นล้านบาท ทำให้รายได้ต่อครัวเรือเพิ่มขึ้น 126,000 บาทต่อปี บนพื้นฐานการครอบครองสวนยาง 6.3 ไร่ต่อครอบครัว ผลผลิตไร่ละ 250 กิโลกรัมต่อปี ราคายางเฉลี่ย กก.ละ 100 บาท
เมื่อเปรียบเทียบรายได้ก่อนติดตั้งเทคโนโลยีริมโพลว์ จะมีรายได้ครัวเรือนละ 157,500 บาทต่อปี ส่วนหลังทำริมโพลว์มีรายได้ต่อครัวเรือนละ 283,500 บาทต่อปี ขณะที่ต้นทุนติดตั้งตกไร่ละ 5,000 บาท รวม 6.3 ไร่ เป็นเงิน 315,000 บาท หากให้กู้รายละไม่เกิน 5 ไร่ ใช้เวลา 3 เดือนคืนทุน จากนั้น นำรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปลงทุนต่ออีก 3 เดือนจึงคืนเงินกู้ หากคิดในภาพรวมเกษตรกรชาวสวนยาง 168,907 ครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้น 21,282 ล้านบาทต่อปี
อนึ่ง เทคโนโลยีริมโฟลว์ คือ การเพิ่มระดับฮอร์โมนเอทิลีนที่ขาดหายไปในโครงสร้างของต้นยางพารา โดยการติดตั้งอุปกรณ์ริมโฟลว์กับต้นยางที่อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ประกอบด้วยกล่องพลาสติกฝาครอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม มุมล่างของฝาครอบมีสายยาง และวาล์ว ซึ่งการติดอุปกรณ์ครั้งแรกตกต้นละ 39 บาท ใช้ได้ 1 ปีต้องเปลี่ยนใหม่
หลังจากติดตั้งแล้วจะฉีดฮอร์โมนเอทิลีนซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแก๊ส ไปตามสายยางผ่านวาล์วในอัตรา 0.02 กรัมต่อต้น คิดเป็นเงินต้นละ 20 สตางค์ จากนั้นฮอร์โมนวิ่งผ่านสายเข้าไปในกล่องฝาครอบต้นยางและจะซึมเข้าในเปลือกยาง โดยใช้ระยะเวลาการเติมฮอร์โมนทุก 10 วัน สำหรับยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม และทุก 15 วัน สำหรับยางพันธุ์อื่นๆ เมื่อเติมฮอร์โมนเอทิลีนแล้วจะกรีดยาง 1 วัน เว้นอีก 2 วัน ระยะเวลา 10 วัน จะกรีดเพียง 3 วัน
การใช้เทคโนโลยีริมโพลว์นั้น ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี ระบุว่า ทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าการกรีดทุกวันถึง 1.5 เท่า กล่าวคือ จากเดิมกรีดยาง 10 วัน ได้ 30 กิโลกรัม แต่เมื่อใช้เทคโนโลยีนี้ กรีดเพียง 3 วัน จะได้น้ำยาง 45 กิโลกรัม โดยกรีดตอนกลางวัน หรือตอนเย็นก็ได้ เหมาะสำหรับพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับประเทศไทย มีการนำเทคโนโลยีตัวนี้มาเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ครั้งแรกทดลองใช้ในสวนยางพาราที่ อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน มีเกษตรกรติดตั้งเทคโนโลยีริมโฟลว์ประมาณ 4 ล้านต้นไร่ ที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดงบประมาณปี 2552 ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางนำไปฝึกอบรม และสาธิตการใช้เทคโนโลยีริมโฟลว์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดความเสี่ยงในพื้นที่อันตราย แต่ยังไม่ได้สนับสนุนเงินกู้ลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวแก่เกษตรกร
“คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคฯ จะเร่งหาข้อมูลในพื้นที่และสรุปปัญหาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในเร็วๆ นี้”