ตรัง - ปภ.ตรัง สั่งทุกฝ่ายเตรียมพร้อมรับมือคลื่นยักษ์สึนามิ หลังเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ส่วนที่เกาะลิบงอพยพผู้คนแล้ว
เมื่อเวลา 16.30 น.วันนี้ (11 เม.ย.) นายอำนวย จันทรัฐ ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จ.ตรัง กล่าวว่า จากกรณีที่ได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 8.6 ริกเตอร์ บริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่า จะมีโอกาสทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามินั้น ในส่วนของ จ.ตรัง ได้ประสานไปยังทุกส่วนราชการ เช่น อำเภอ ตำรวจภูธร ตำรวจน้ำ เจ้าท่าภูมิภาค อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนผู้นำส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
โดยเฉพาะ 4 อำเภอชายฝั่งทะเลอันดามันของ จ.ตรัง ซึ่งเคยเกิดคลื่นยักษ์สึนามิมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อปลายปี 2547 ซึ่งคาดว่า เวลาที่คลื่นยักษ์สึนามิจะกระทบฝั่ง ดังนี้ คือ หาดเจ้าไหม อ.สิเกา ในเวลา 18.36 น. หาดท่าข้าม อ.ปะเหลียน ในเวลา 19.23 น. หาดสำราญ อ.หาดสำราญ และพื้นที่ อ.กันตัง ในเวลา 20.38 น. อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประชาชน และนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ได้รับทราบข่าวคลื่นยักษ์สึนามิแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมรับมือ และการอพยพ
เกาะลิบงอพยพผู้คนแล้วรับมือสึนามิ
เมื่อเวลา 17.30 น.วันเดียวกัน นายอิสมาแอล เบ็ญสะอาด แกนนำชาวบ้านเกาะลิบง ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งเป็นเกาะกลางทะเลอันดามันที่ใหญ่ที่สุดของ จ.ตรัง กล่าวว่า ช่วงขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหว มีชาวบ้านบางส่วนในพื้นที่สามารถรับความรู้สึกได้ และมีรายงานว่ามีแนวต้นสนในบริเวณบ้านมดตะนอย ม.3 ต.เกาะลิบง หักโค่นลงมา ซึ่งอาจจะเป็นเพราะรอยแยกที่เกิดขึ้นใต้ท้องทะเล โดยทำให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวบางส่วนรู้สึกตกใจบ้าง แต่หลังจากตั้งสติได้ ก็ทยอยกันอพยพออกมาจากพื้นที่ เหมือนอย่างที่เคยซักซ้อมกันไว้มาหลายครั้งก่อนหน้านี้ โดยเลือกไปอยู่บนภูเขา หรือบนที่สูง ที่มีความสูงประมาณ 6-7 เมตร
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าบางจุดในพื้นที่ ต.เกาะลิบง เช่น ที่เกาะมุกด์ ระบบสัญญาณเตือนภัยไม่ดัง ทำให้ชาวบ้านบางส่วนไม่ได้รับรู้ ต้องใช้วิธีการแจ้งผ่านทางผู้นำท้องถิ่น และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตามปกติ เพียงแต่อาจจะยากลำบากบ้าง เนื่องจากมีการใช้สายกันมาก ประกอบกับหลายคนมีประสบการณ์ในเหตุการณ์จริงเมื่อปี 2547 มาแล้ว อีกทั้งยังโชคดีที่ในวันเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพิ่งจะผ่านวันหยุดยาวช่วงเทศกาลเช็งเม้ง และยังไม่ได้เริ่มต้นเทศกาลสงกรานต์อย่างเต็มรูปแบบ จึงยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาลงทะเลตรังจำนวนไม่มาก เมื่อได้รับการแจ้งข่าวเตือนภัย จึงสามารถอพยพได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อเวลา 16.30 น.วันนี้ (11 เม.ย.) นายอำนวย จันทรัฐ ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จ.ตรัง กล่าวว่า จากกรณีที่ได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 8.6 ริกเตอร์ บริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่า จะมีโอกาสทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามินั้น ในส่วนของ จ.ตรัง ได้ประสานไปยังทุกส่วนราชการ เช่น อำเภอ ตำรวจภูธร ตำรวจน้ำ เจ้าท่าภูมิภาค อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนผู้นำส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
โดยเฉพาะ 4 อำเภอชายฝั่งทะเลอันดามันของ จ.ตรัง ซึ่งเคยเกิดคลื่นยักษ์สึนามิมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อปลายปี 2547 ซึ่งคาดว่า เวลาที่คลื่นยักษ์สึนามิจะกระทบฝั่ง ดังนี้ คือ หาดเจ้าไหม อ.สิเกา ในเวลา 18.36 น. หาดท่าข้าม อ.ปะเหลียน ในเวลา 19.23 น. หาดสำราญ อ.หาดสำราญ และพื้นที่ อ.กันตัง ในเวลา 20.38 น. อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประชาชน และนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ได้รับทราบข่าวคลื่นยักษ์สึนามิแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมรับมือ และการอพยพ
เกาะลิบงอพยพผู้คนแล้วรับมือสึนามิ
เมื่อเวลา 17.30 น.วันเดียวกัน นายอิสมาแอล เบ็ญสะอาด แกนนำชาวบ้านเกาะลิบง ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งเป็นเกาะกลางทะเลอันดามันที่ใหญ่ที่สุดของ จ.ตรัง กล่าวว่า ช่วงขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหว มีชาวบ้านบางส่วนในพื้นที่สามารถรับความรู้สึกได้ และมีรายงานว่ามีแนวต้นสนในบริเวณบ้านมดตะนอย ม.3 ต.เกาะลิบง หักโค่นลงมา ซึ่งอาจจะเป็นเพราะรอยแยกที่เกิดขึ้นใต้ท้องทะเล โดยทำให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวบางส่วนรู้สึกตกใจบ้าง แต่หลังจากตั้งสติได้ ก็ทยอยกันอพยพออกมาจากพื้นที่ เหมือนอย่างที่เคยซักซ้อมกันไว้มาหลายครั้งก่อนหน้านี้ โดยเลือกไปอยู่บนภูเขา หรือบนที่สูง ที่มีความสูงประมาณ 6-7 เมตร
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าบางจุดในพื้นที่ ต.เกาะลิบง เช่น ที่เกาะมุกด์ ระบบสัญญาณเตือนภัยไม่ดัง ทำให้ชาวบ้านบางส่วนไม่ได้รับรู้ ต้องใช้วิธีการแจ้งผ่านทางผู้นำท้องถิ่น และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตามปกติ เพียงแต่อาจจะยากลำบากบ้าง เนื่องจากมีการใช้สายกันมาก ประกอบกับหลายคนมีประสบการณ์ในเหตุการณ์จริงเมื่อปี 2547 มาแล้ว อีกทั้งยังโชคดีที่ในวันเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพิ่งจะผ่านวันหยุดยาวช่วงเทศกาลเช็งเม้ง และยังไม่ได้เริ่มต้นเทศกาลสงกรานต์อย่างเต็มรูปแบบ จึงยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาลงทะเลตรังจำนวนไม่มาก เมื่อได้รับการแจ้งข่าวเตือนภัย จึงสามารถอพยพได้อย่างรวดเร็ว