กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สั่งการศูนย์ ปภ. 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันประกอบด้วย ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง ระนอง และสตูล รวมทั้งฝั่งอ่าวไทย อาทิ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา เตรียมรับมือคลื่นยักษ์สึนามิ เปิดสายด่วนนิรภัย 1784 ให้การช่วยเหลือ
วันนี้ (11 เม.ย.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณชายฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจากชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย 860 กิโลเมตร เมื่อเวลาประมาณ 15.39 น. วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.7 ริกเตอร์ ลึกลงไปใต้ทะเล 33 กิโลเมตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา และเขต 18 ภูเก็ต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 6 จังหวัด อันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง ระนอง และสตูล จัดเจ้าหน้าที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สนับสนุนทรัพยากรในการอพยพประชาชน จัดเตรียมเครื่องจักรกล วัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทันที รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนอพยพและติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยริมชายฝั่งทะเลอันดามัน ให้อพยพขึ้นที่สูงหรือหลบในอาคารสูงที่มั่นคงแข็งแรง ทั้งนี้ ประชาชนสามารกติดต่อแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
นายวิบูลย์ กล่าวว่า จากการประสานติดตามการเตรียมพร้อมรับมือสึนามิในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน พบว่า จังหวัดพังงาซึ่งเป็นจุดแรกที่คาดว่าจะเกิดสึนามิ ได้อพยพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยครบทั้ง 5 จุดแล้ว และยังไม่มีรายงานการเกิดสึนามิ ส่วนที่จังหวัดกระบี่ ยังไม่มีรายงานการเกิดสึนามิเช่นเดียวกัน ซึ่งกำชับให้ทั้ง 2 จังหวัดติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพราะคลื่นสึนามิอาจเดินทางมาถึงล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ หากได้รับการประสานยืนยันยกเลิกประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์สึนามิจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะได้ประสานแจ้งจังหวัดทราบโดยด่วนต่อไป
วันนี้ (11 เม.ย.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณชายฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจากชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย 860 กิโลเมตร เมื่อเวลาประมาณ 15.39 น. วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.7 ริกเตอร์ ลึกลงไปใต้ทะเล 33 กิโลเมตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา และเขต 18 ภูเก็ต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 6 จังหวัด อันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง ระนอง และสตูล จัดเจ้าหน้าที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สนับสนุนทรัพยากรในการอพยพประชาชน จัดเตรียมเครื่องจักรกล วัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทันที รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนอพยพและติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยริมชายฝั่งทะเลอันดามัน ให้อพยพขึ้นที่สูงหรือหลบในอาคารสูงที่มั่นคงแข็งแรง ทั้งนี้ ประชาชนสามารกติดต่อแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
นายวิบูลย์ กล่าวว่า จากการประสานติดตามการเตรียมพร้อมรับมือสึนามิในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน พบว่า จังหวัดพังงาซึ่งเป็นจุดแรกที่คาดว่าจะเกิดสึนามิ ได้อพยพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยครบทั้ง 5 จุดแล้ว และยังไม่มีรายงานการเกิดสึนามิ ส่วนที่จังหวัดกระบี่ ยังไม่มีรายงานการเกิดสึนามิเช่นเดียวกัน ซึ่งกำชับให้ทั้ง 2 จังหวัดติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพราะคลื่นสึนามิอาจเดินทางมาถึงล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ หากได้รับการประสานยืนยันยกเลิกประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์สึนามิจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะได้ประสานแจ้งจังหวัดทราบโดยด่วนต่อไป