xs
xsm
sm
md
lg

ยางตายนึ่งวิกฤติหนัก สูญเปล่าปีละกกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พัทลุง - ต้นยางตายนึ่งวิกฤติหนัก สูญเปล่าปีละกกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท สกย.พัทลุงทดสอบวิจัยยาง 14 สายพันธุ์ เพื่อรองรับตลาด พร้อมถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี

นายพูลสุข อุเทนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง (สกย.) เปิดเผยว่า สกย.พัทลุง ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยยางสงขลา ทำการทดสอบพันธุ์ยาง จำนวน 14 สายพันธุ์ พื้นที่ 42 ไร่ ที่ศูนย์เรียนรู้ยางพารา สกย.พัทลุง โดยศูนย์เรียนรู้ มีเนื้อที่ทั้งหมด 495 ไร่ เพื่อใช้เป็นแปลงผลิตภัณฑ์ยางเพื่อจ่ายให้กับเจ้าของสาวผู้รับการสงเคราะห์ และเป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตร การกรีดยาง การติดตายาง ศึกษาทดสอบพัฒนาพันธุ์ยาง ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี

"เฉพาะในปี 2554 มีการฝึกอบรม และศึกษาดูงานประมาณ 10,000 คน และมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวเติบโตขึ้นทุกปี สำหรับจังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ปลูกยางพารา จำนวน 856,792 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 622,113 ไร่ ผลผลิตประมาณ 164,161 ตัน มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท/ปี" ผู้อำนวยการ สกย.จังหวัดพัทลุง กล่าว

นายนิรันดร์ เทพรัตน์ หัวหน้าศูนย์เรียนรู้ยางพารา สกย.พัทลุง เปิดเผยว่า การทดลองวิจัยสายพันธุ์จำนวน 14 สายพันธุ์ ต้องใช้ระยะเวลาถึง 12 ปี ทั้งนี้ เพื่อหาความเหมาะสมในการปลูกยางของแต่ละพื้นที่และแต่ภาค ตลอดจนเป็นยางที่จะต้องทนทานต่อการต้านทานโรค หน้ายางมีความทนทานต่อการกรีด และยางมีคุณภาพทางด้านน้ำยาง

"ขณะนี้ยางพารามีปัญหาเรื่องโรคตายนึ่งมากซึ่งมีอยู่ทุกสวนและทุกไร่ โดยเฉพาะเกิดโรคหน้าตายนึ่งระบาดมาก โดยจะอยู่ในสายพันธุ์ ทีบี 235 และบีทีเอ็ม 24 มีถึง 30 - 40 เปอร์เซ็นต์/ไร่ ส่วน อาร์ไอเอ็ม 600 และ อาร์ไอที 251 เกิดเป็นโรคประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์/ไร่ ซึ่งแต่ละปีจะสูญเสียรายได้ไปมากจากการเกิดโรคหน้าตายนึ่งเป็นจำนวนมหาศาล"

แหล่งข่าวจาก สกย. เปิดเผยว่า ปัญหายางโรคตายนึ่ง เกิดจากการกรีดยางไม่มีวันหยุด ความจริงต้องกรีดวัน 1 วัน หยุด 1 วัน ยางจะให้ปริมาณน้ำยางมากกว่า และคุณภาพน้ำยางจะดีกว่า และจะมีรายได้ที่ที่ดีกว่า และยังเป็นการประหยัดพลังงานได้มาก ทั้งยังป้องกันปัญหาโรคหน้าตายนึ่งอีกด้วย

"โรคหน้ายางตายหนึ่งระบาดที่สุดในภาคใต้ เฉลี่ยประมาณ 15 ต้น/ไร่ มีภาพรวมกว่า 2.5 ล้านไร่ ประมาณ 180 ล้านต้น จากที่กรีดได้ 12 ล้านไร่ จึงมีผลทำให้น้ำยางสูญหายไปประมาณกว่า 6.4 ตัน เป็นเงินมูลค่าประมาณ 65,000 ล้านบาท/ปี หรือรวมแล้วสูญเสียรายได้ไปประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ จากมูลค่ารายได้ประมาณ 500,000 ล้านบาท/ปี แต่ถึงอย่างไรโรคหน้ายางตายนึ่งสามารถฟื้นฟูได้ประมาณ 60 -70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ฟื้นฟูไม่ได้ก็โค่นจำหน่ายไป"
กำลังโหลดความคิดเห็น