พัทลุง - ข้าวเปลือกวูบ ชาวนาหมดโอกาสทองรับจำนำข้าวเนื่องจากภัยน้ำท่วม ผลผลิตน้อยความชื้นสูง ขณะมีข่าวสะพัดบางกลุ่มเตรียม “จำนำแกลบ” นำข้าวเก่าสวมรอยเข้าโครงการ
นายกสมาคมโรงสีข้าวจังหวัดพัทลุง และสมาชิกสมาคมโรงสีข้าวภาคใต้ เปิดเผยว่า จังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลิตข้าวรายใหญ่ของภาคใต้ที่สามารถผลิตได้ปีละ 1 ล้านตัน แต่ปรากฏว่า ข้าวนาปีรอบแรกปี 2554/2555 ไม่บรรลุเป้าหมาย
โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง เพราะนาข้าวถูกน้ำท่วมถึง 4-5 ระลอกใหญ่ ทำให้ข้าวด้อยคุณภาพและได้ผลผลิตน้อย โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจึงรับจำนำได้น้อยมาก เพราะเมื่อถูกน้ำท่วมชาวนาก็ต้องไปแจ้งความเสียหายเพื่อรับการช่วยเหลือชดเชย
“จึงเกิดปัญหา 2 ตลาดขึ้น ตลาดหนึ่งเข้าสู่โครงการรับจำนำของรัฐบาลที่ได้ราคาดีถึง 15,000 บาท/เกวียน อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่ตลาดโรงสีข้าว โรงสีข้าวรับซื้อเอง ตลาดตรงนี้ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มนาข้าวที่ถูกน้ำท่วมที่แจ้งรับความเสียหายเพื่อรับค่าชดเชย ข้าวที่เสียหายจึงนำมาขายกับโรงสี
อีกส่วนหนึ่งชาวนารายย่อย รายละ 3-5 ไร่ ไม่สนใจที่จะลงทะเบียน และอีกส่วนหนึ่งไม่เข้าใจโครงการจึงไม่ลงทะเบียน ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่โครงการรับจำนำได้ ตลาดตรงนี้ชาวนาจะได้ราคาถูกกว่าโครงการรับจำนำถึง 4,000-5,000 บาท/เกวียน” นายกสมาคมโรงสีข้าวจังหวัดพัทลุง กล่าว
นอกจากนี้ นายไสว ยังกล่าวอีกว่า โรงสีที่พัทลุงเข้าโครงการของรัฐบาลจำนวน 5 โรง โดยรับจำนำข้าว 10 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 14,600 บาท ส่วนโรงสีที่รับซื้อข้าวจากชาวนาที่ไม่สามารถเข้าสู่โครงการรับจำนำได้ ราคาอยู่ที่ 9,000-9,500 บาท และ 10,000 บาท
“โรงสีของตนตอนนี้มีชาวนาเข้ามาจำนำ วันละ 4-5 เกวียน จากเดิมที่ไม่ต่ำกว่า 100 เกวียน/วัน สาเหตุเนื่องมาจากตอนนี้โรงสีจำนวน 6 แห่ง ที่รับจำนำข้าว ยังได้ข้าวโครงการรับจำนำยังไม่ถึง 500 เกวียน โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมนี้” นายไสว กล่าว
โดยข้าวนาปีรอบแรกปี 2554/2555 สูญออกไปจากตลาดประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ เกิดจากภาวะภัยธรรมชาติ คนที่เคยขายข้าวได้ประมาณ 10 เกวียน กลับขายได้จำนวน 2 เกวียน ชาวนานาปีรอบแรกปีนี้ เสียโอกาสทองไปจากโครงการของรัฐบาลที่มีนโยบายยกระดับชาวนาไป ฤดูแล้งชาวนาสามารถบริหารจัดการน้ำได้ แต่มาในฤดูฝนตกยาวชาวนาไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้
นายไสว ยังกล่าวอีกว่า จากโครงการับจำนำข้าวของรัฐบาล ราคาอยู่ที่ 15,000 บาท ทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวไต่ราคามาอยู่ที่ 800 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทำให้ข้าวไทยไทยไม่สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดโลกได้ เพราะข้าวประเทศเวียนนาม พม่า อินเดีย ปากีสถาน ลาว กัมพูชา ราคาถูกกว่าของไทย โดยเฉพาะของประเทศเวียดนาม ราคาพียง 500 เหรียญเท่านั้น
แต่เมื่อไม่สามารถสู้กับตลาดต่างประเทศได้ รัฐบาลก็สามารถนำข้าวมาเก็บไว้ในคลังได้ 1-2 ปี ตอนนี้ประเทศไทยมีข้าวล้นตลาด คาดว่าทั้งคลังของรัฐบาล โรงสีข้าว และของคลังของพ่อค้าข้าวมีไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน ผู้บริโภคจึงไม่ต้องหวั่นวิตกว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นแต่อย่างใด หากราคาข้าวในท้องตลาดราคาสูง รัฐบาลก็ปล่อยข้าวออกมาจากคลัง หากราคาข้าวในท้องตลาดสูง 15 บาท รัฐบาลก็ออกเทขาย 12 บาท/กก.เป็นต้น
“จนถึงขณะนี้ราคาข้าวในท้องตลาดของโรงสีข้าวราคาอยู่ที่ 16 บาท/กก.ดังนั้น ผู้บริโภคไม่ต้องหวั่นวิตกว่าโครงการของรัฐบาลจะทำให้ราคาข้าวท้องตลาดสูงแล้วจะมีจะกระทบ แต่ผู้ที่ได้ราคาสูง คือ ชาวนาเพราะโครงการนี้รัฐบาลต้องการยกฐานะของชาวนา แต่ผู้บริโภคได้บริโภคราคาถูก” นายไสว กล่าว
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการข้าว เปิดเผยว่า ภาวะที่ชาวนาเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวมีน้อยในพื้นที่ ปัจจัยสำคัญเพราะเป็นชาวนารายย่อยที่ทำนาเอาข้าวไว้บริโภคเอง มิได้ทำเพื่อการค้าขาย จึงไม่ไปขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการรับจำนำ และที่สำคัญคือโครงการรับจำนำข้าว ชาวนาจะต้องเก็บข้าวไปส่งยังโรงสีเอง อุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถบรรทุกข้าว ชาวนาขนาดย่อยไม่มีความพร้อม แต่สำหรับนาขนาดใหญ่ จะมีความพร้อม
แหล่งข่าวยังเปิดเผยว่า ขณะนี้มีเบาะแสการเคลื่อนไหวของคนบางกลุ่มที่จะดำเนินการสวมทะเบียนข้าวเข้าสู่โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล โดยเอาข้าวเก่าที่เก็บกักตุนเอาไว้หรือเรียกกันว่า โครงการรับจำนำแกลบ จากเดิมที่เคยซื้อกับชาวนามาประมาณ 7,000-8,000 บาท มาเข้าสู่โครงการับจำนำข้าว 15,000 บาท/ตัน โดยเฉพาะมีการเคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดสงขลา และจังหวัดตรัง
ส่วนทางด้าน คณะทำงานติดตามกำกับดูแลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ได้เข้าตรวจสอบตรวจสต๊อกข้าวเปลือก โรงสีข้าวจำนวน 6 แห่ง ใน 3 อำเภอ อำเภอเมือง อำเภอปากพะยูน และอำเภอบางแก้ว จ.พัทลุง ที่ร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวนา ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรชาวนาจังหวัดพัทลุงนำผลผลิตข้าวนาปีออกจำนำ
โดยขณะนี้ชาวนาในพื้นที่ตำบลชัยบุรี ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมือง และพื้นที่ตำบลดอนประดู่ และตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน เริ่มทยอยนำข้าวเปลือกจำนำกับโรงสีข้าว ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าข้าวเปลือกที่เกษตรกรจำนำนั้นมีความชื้นอยู่ที่ 25% จะได้รับราคาตามโครงการรับจำนำตันละ 13,800 บาท และหากความชื้นไม่เกิน 15% ตันละ 14,600 บาท สาเหตุที่ข้าวเปลือกของเกษตรกรมีความชื้นสูงนั้นเนื่องจากพื้นที่นาข้าวที่ผ่านมานั้นถูกน้ำท่วม และขณะที่เกษตรกรเกี่ยวข้าวนั้นก็ยังสภาพน้ำขังภายในแปลงนา
ด้าน นายไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชาการชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ชาวนาในพื้นที่จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา สัดส่วนที่สูงมาก คือ จะเป็นชาวนารายย่อย ไม่ใช่ขนาดใหญ่เหมือนกับภาคกลาง แต่จะเป็นนาของตนเอง ไม่เป็นนาเช่า โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์เป็นขนาดย่อยที่มีนาไม่ถึง 10 ไร่ เป้าหมายคือทำไว้บริโภคภายใน สำหรับพื้นที่จะทำนาปีได้ ในจังหวัดพัทลุงมีประมาณ 220,000 ไร่
นายกสมาคมโรงสีข้าวจังหวัดพัทลุง และสมาชิกสมาคมโรงสีข้าวภาคใต้ เปิดเผยว่า จังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลิตข้าวรายใหญ่ของภาคใต้ที่สามารถผลิตได้ปีละ 1 ล้านตัน แต่ปรากฏว่า ข้าวนาปีรอบแรกปี 2554/2555 ไม่บรรลุเป้าหมาย
โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง เพราะนาข้าวถูกน้ำท่วมถึง 4-5 ระลอกใหญ่ ทำให้ข้าวด้อยคุณภาพและได้ผลผลิตน้อย โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจึงรับจำนำได้น้อยมาก เพราะเมื่อถูกน้ำท่วมชาวนาก็ต้องไปแจ้งความเสียหายเพื่อรับการช่วยเหลือชดเชย
“จึงเกิดปัญหา 2 ตลาดขึ้น ตลาดหนึ่งเข้าสู่โครงการรับจำนำของรัฐบาลที่ได้ราคาดีถึง 15,000 บาท/เกวียน อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่ตลาดโรงสีข้าว โรงสีข้าวรับซื้อเอง ตลาดตรงนี้ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มนาข้าวที่ถูกน้ำท่วมที่แจ้งรับความเสียหายเพื่อรับค่าชดเชย ข้าวที่เสียหายจึงนำมาขายกับโรงสี
อีกส่วนหนึ่งชาวนารายย่อย รายละ 3-5 ไร่ ไม่สนใจที่จะลงทะเบียน และอีกส่วนหนึ่งไม่เข้าใจโครงการจึงไม่ลงทะเบียน ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่โครงการรับจำนำได้ ตลาดตรงนี้ชาวนาจะได้ราคาถูกกว่าโครงการรับจำนำถึง 4,000-5,000 บาท/เกวียน” นายกสมาคมโรงสีข้าวจังหวัดพัทลุง กล่าว
นอกจากนี้ นายไสว ยังกล่าวอีกว่า โรงสีที่พัทลุงเข้าโครงการของรัฐบาลจำนวน 5 โรง โดยรับจำนำข้าว 10 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 14,600 บาท ส่วนโรงสีที่รับซื้อข้าวจากชาวนาที่ไม่สามารถเข้าสู่โครงการรับจำนำได้ ราคาอยู่ที่ 9,000-9,500 บาท และ 10,000 บาท
“โรงสีของตนตอนนี้มีชาวนาเข้ามาจำนำ วันละ 4-5 เกวียน จากเดิมที่ไม่ต่ำกว่า 100 เกวียน/วัน สาเหตุเนื่องมาจากตอนนี้โรงสีจำนวน 6 แห่ง ที่รับจำนำข้าว ยังได้ข้าวโครงการรับจำนำยังไม่ถึง 500 เกวียน โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมนี้” นายไสว กล่าว
โดยข้าวนาปีรอบแรกปี 2554/2555 สูญออกไปจากตลาดประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ เกิดจากภาวะภัยธรรมชาติ คนที่เคยขายข้าวได้ประมาณ 10 เกวียน กลับขายได้จำนวน 2 เกวียน ชาวนานาปีรอบแรกปีนี้ เสียโอกาสทองไปจากโครงการของรัฐบาลที่มีนโยบายยกระดับชาวนาไป ฤดูแล้งชาวนาสามารถบริหารจัดการน้ำได้ แต่มาในฤดูฝนตกยาวชาวนาไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้
นายไสว ยังกล่าวอีกว่า จากโครงการับจำนำข้าวของรัฐบาล ราคาอยู่ที่ 15,000 บาท ทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวไต่ราคามาอยู่ที่ 800 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทำให้ข้าวไทยไทยไม่สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดโลกได้ เพราะข้าวประเทศเวียนนาม พม่า อินเดีย ปากีสถาน ลาว กัมพูชา ราคาถูกกว่าของไทย โดยเฉพาะของประเทศเวียดนาม ราคาพียง 500 เหรียญเท่านั้น
แต่เมื่อไม่สามารถสู้กับตลาดต่างประเทศได้ รัฐบาลก็สามารถนำข้าวมาเก็บไว้ในคลังได้ 1-2 ปี ตอนนี้ประเทศไทยมีข้าวล้นตลาด คาดว่าทั้งคลังของรัฐบาล โรงสีข้าว และของคลังของพ่อค้าข้าวมีไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน ผู้บริโภคจึงไม่ต้องหวั่นวิตกว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นแต่อย่างใด หากราคาข้าวในท้องตลาดราคาสูง รัฐบาลก็ปล่อยข้าวออกมาจากคลัง หากราคาข้าวในท้องตลาดสูง 15 บาท รัฐบาลก็ออกเทขาย 12 บาท/กก.เป็นต้น
“จนถึงขณะนี้ราคาข้าวในท้องตลาดของโรงสีข้าวราคาอยู่ที่ 16 บาท/กก.ดังนั้น ผู้บริโภคไม่ต้องหวั่นวิตกว่าโครงการของรัฐบาลจะทำให้ราคาข้าวท้องตลาดสูงแล้วจะมีจะกระทบ แต่ผู้ที่ได้ราคาสูง คือ ชาวนาเพราะโครงการนี้รัฐบาลต้องการยกฐานะของชาวนา แต่ผู้บริโภคได้บริโภคราคาถูก” นายไสว กล่าว
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการข้าว เปิดเผยว่า ภาวะที่ชาวนาเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวมีน้อยในพื้นที่ ปัจจัยสำคัญเพราะเป็นชาวนารายย่อยที่ทำนาเอาข้าวไว้บริโภคเอง มิได้ทำเพื่อการค้าขาย จึงไม่ไปขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการรับจำนำ และที่สำคัญคือโครงการรับจำนำข้าว ชาวนาจะต้องเก็บข้าวไปส่งยังโรงสีเอง อุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถบรรทุกข้าว ชาวนาขนาดย่อยไม่มีความพร้อม แต่สำหรับนาขนาดใหญ่ จะมีความพร้อม
แหล่งข่าวยังเปิดเผยว่า ขณะนี้มีเบาะแสการเคลื่อนไหวของคนบางกลุ่มที่จะดำเนินการสวมทะเบียนข้าวเข้าสู่โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล โดยเอาข้าวเก่าที่เก็บกักตุนเอาไว้หรือเรียกกันว่า โครงการรับจำนำแกลบ จากเดิมที่เคยซื้อกับชาวนามาประมาณ 7,000-8,000 บาท มาเข้าสู่โครงการับจำนำข้าว 15,000 บาท/ตัน โดยเฉพาะมีการเคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดสงขลา และจังหวัดตรัง
ส่วนทางด้าน คณะทำงานติดตามกำกับดูแลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ได้เข้าตรวจสอบตรวจสต๊อกข้าวเปลือก โรงสีข้าวจำนวน 6 แห่ง ใน 3 อำเภอ อำเภอเมือง อำเภอปากพะยูน และอำเภอบางแก้ว จ.พัทลุง ที่ร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวนา ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรชาวนาจังหวัดพัทลุงนำผลผลิตข้าวนาปีออกจำนำ
โดยขณะนี้ชาวนาในพื้นที่ตำบลชัยบุรี ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมือง และพื้นที่ตำบลดอนประดู่ และตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน เริ่มทยอยนำข้าวเปลือกจำนำกับโรงสีข้าว ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าข้าวเปลือกที่เกษตรกรจำนำนั้นมีความชื้นอยู่ที่ 25% จะได้รับราคาตามโครงการรับจำนำตันละ 13,800 บาท และหากความชื้นไม่เกิน 15% ตันละ 14,600 บาท สาเหตุที่ข้าวเปลือกของเกษตรกรมีความชื้นสูงนั้นเนื่องจากพื้นที่นาข้าวที่ผ่านมานั้นถูกน้ำท่วม และขณะที่เกษตรกรเกี่ยวข้าวนั้นก็ยังสภาพน้ำขังภายในแปลงนา
ด้าน นายไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชาการชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ชาวนาในพื้นที่จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา สัดส่วนที่สูงมาก คือ จะเป็นชาวนารายย่อย ไม่ใช่ขนาดใหญ่เหมือนกับภาคกลาง แต่จะเป็นนาของตนเอง ไม่เป็นนาเช่า โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์เป็นขนาดย่อยที่มีนาไม่ถึง 10 ไร่ เป้าหมายคือทำไว้บริโภคภายใน สำหรับพื้นที่จะทำนาปีได้ ในจังหวัดพัทลุงมีประมาณ 220,000 ไร่