ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กลุ่มแพทย์ พยาบาล มอ.ลุกฮือพบนายกรัฐมนตรี ครม.สัญจรภูเก็ต ขอเปลี่ยนมติ ครม.สมัย ปชป. ทำให้อาจารย์แพทย์ รศ.นายแพทย์ พยาบาล ไม่สามารถบรรจุเป็นข้าราชการได้ ระบุผู้บริหารมหาวิทยาลัยเงินเดือนกว่า 200,000 บาท หมกเม็ดไม่ยอมเคลื่อนไหว ผวามหาวิทยาลัยจะต้องถูกนำเข้าสู่ระบบอีก
นายมนูญ หมวดเอียด ตัวแทนพยาบาลสงขลานครินทร์ (มอ.) เปิดเผยว่า ภายหลังที่ได้ยื่นหนังสือถึงนายนัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อประสานงานไปยัง นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตลอดจนไปถึงนายแพทย์ อาจารย์แพทย์ ที่มีผลกระทบต่อมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
“จากมติ ครม.สมัยนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ให้มหาวิทยาลัยถูกปรับออกนอกระบบ มีผลกระทบทำให้บรรดาพยาบาล นายแพทย์ อาจารย์แพทย์ รองศาสตราจารย์แพทย์ ไม่มีโอกาสบรรจุเป็นข้าราชการได้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 60 % ของ มอ.ที่อยู่ในฐานะลูกจ้าง ใช้ระเบียบประกันสังคม นอกนั้น 40 % เป็นข้าราชการ บรรดานายแพทย์ พยาบาล ไม่ได้เข้ารับบรรจุเป็นข้าราชการมาตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้”
นายมนูญ กล่าวว่า จากการที่ยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ปรากฏว่าได้รับการประสานงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยให้ไปพบและยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 20 มีนาคม 2555 ในคราวเดินทางประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร
ซึ่งกลุ่มพยาบาล และแพทย์ มอ.จะเดินทางไปพบประมาณ 100 คน จำนวน 6 คณะ ประกอบด้วยคณะแพทย์ศาสตร์,ทันตแพทย์, เทคนิคการแพทย์, กายภาพบบัด, และคณะเภสัชกร โดยมีคณะพยาบาลศาสตร์เป็นแกนนำ ปัจจุบันกลุ่มพยาบาลทั่วประเทศมีประมาณ 160,000 คน
แหล่งข่าวรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางคณะการศึกษาแต่ละคณะ อยู่ระหว่างดำเนินยกร่างรายละเอียดหนังสือที่จะยื่นถึงนายกรัฐมนตรีในการที่มหาวิทยาลัยของรัฐ ถูกปรับออกจากระบบที่ส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย บุคลากร และนักศึกษา แต่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย เช่น อธิการบดี เป็นต้น ไม่มีผลกระทบ การที่ถูกปรับออกนอกระบบ จะทำให้มีอำนาจในการจัดการบริหารตนเอง
“ขณะนี้เกิดความเหลื่อมล้ำสูงมากในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งกระทบไปถึงนักศึกษา โดยบางแห่งอธิการบดีมีรายได้เป็นเงินเดือนประมาณ 240,000 บาท ยังไม่นับเงินโบนัสอีก ส่วนนักศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งค่าเทอมละ 3,000 บาท ขยับขึ้นเป็น 18,000 - 20,000 บาท”
แหล่งข่าว รายดังกล่าว ยังกล่าวอีกว่า ในระยะ 14 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มหาวิทยาลัยของรัฐถูกปรับออกนอกระบบ ยังไม่มีหน่วยงานใดๆ ของรัฐ องค์กรภาคเอกชน และองค์การอิสระ เข้ามาดำเนินการการสำรวจ และตรวจสอบแต่อย่างใดในกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย แม้แต่กระทั้งในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยก็ตาม
“ผู้มีอำนาจผู้บริหารแห่งมหาวิทยาลัย ที่ไม่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องให้กับพยาบาล นายแพทย์ อาจารย์แพทย์ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทย์สาขาต่าง ๆ ตลอดจนคณะพยาบาล เพราะหวั่นวิตกว่า มหาวิทยาลัยอาจจะต้องถูกนำข้าสู่ระบบอีก ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะทำรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบทั้งหมด” แหล่งข่าวระบุ
นายมนูญ หมวดเอียด ตัวแทนพยาบาลสงขลานครินทร์ (มอ.) เปิดเผยว่า ภายหลังที่ได้ยื่นหนังสือถึงนายนัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อประสานงานไปยัง นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตลอดจนไปถึงนายแพทย์ อาจารย์แพทย์ ที่มีผลกระทบต่อมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
“จากมติ ครม.สมัยนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ให้มหาวิทยาลัยถูกปรับออกนอกระบบ มีผลกระทบทำให้บรรดาพยาบาล นายแพทย์ อาจารย์แพทย์ รองศาสตราจารย์แพทย์ ไม่มีโอกาสบรรจุเป็นข้าราชการได้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 60 % ของ มอ.ที่อยู่ในฐานะลูกจ้าง ใช้ระเบียบประกันสังคม นอกนั้น 40 % เป็นข้าราชการ บรรดานายแพทย์ พยาบาล ไม่ได้เข้ารับบรรจุเป็นข้าราชการมาตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้”
นายมนูญ กล่าวว่า จากการที่ยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ปรากฏว่าได้รับการประสานงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยให้ไปพบและยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 20 มีนาคม 2555 ในคราวเดินทางประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร
ซึ่งกลุ่มพยาบาล และแพทย์ มอ.จะเดินทางไปพบประมาณ 100 คน จำนวน 6 คณะ ประกอบด้วยคณะแพทย์ศาสตร์,ทันตแพทย์, เทคนิคการแพทย์, กายภาพบบัด, และคณะเภสัชกร โดยมีคณะพยาบาลศาสตร์เป็นแกนนำ ปัจจุบันกลุ่มพยาบาลทั่วประเทศมีประมาณ 160,000 คน
แหล่งข่าวรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางคณะการศึกษาแต่ละคณะ อยู่ระหว่างดำเนินยกร่างรายละเอียดหนังสือที่จะยื่นถึงนายกรัฐมนตรีในการที่มหาวิทยาลัยของรัฐ ถูกปรับออกจากระบบที่ส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย บุคลากร และนักศึกษา แต่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย เช่น อธิการบดี เป็นต้น ไม่มีผลกระทบ การที่ถูกปรับออกนอกระบบ จะทำให้มีอำนาจในการจัดการบริหารตนเอง
“ขณะนี้เกิดความเหลื่อมล้ำสูงมากในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งกระทบไปถึงนักศึกษา โดยบางแห่งอธิการบดีมีรายได้เป็นเงินเดือนประมาณ 240,000 บาท ยังไม่นับเงินโบนัสอีก ส่วนนักศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งค่าเทอมละ 3,000 บาท ขยับขึ้นเป็น 18,000 - 20,000 บาท”
แหล่งข่าว รายดังกล่าว ยังกล่าวอีกว่า ในระยะ 14 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มหาวิทยาลัยของรัฐถูกปรับออกนอกระบบ ยังไม่มีหน่วยงานใดๆ ของรัฐ องค์กรภาคเอกชน และองค์การอิสระ เข้ามาดำเนินการการสำรวจ และตรวจสอบแต่อย่างใดในกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย แม้แต่กระทั้งในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยก็ตาม
“ผู้มีอำนาจผู้บริหารแห่งมหาวิทยาลัย ที่ไม่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องให้กับพยาบาล นายแพทย์ อาจารย์แพทย์ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทย์สาขาต่าง ๆ ตลอดจนคณะพยาบาล เพราะหวั่นวิตกว่า มหาวิทยาลัยอาจจะต้องถูกนำข้าสู่ระบบอีก ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะทำรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบทั้งหมด” แหล่งข่าวระบุ