ตรัง - นายอำเภอนาโยง ร่วมหลายหน่วยงาน จัดการเรียนแนวใหม่ให้นักเรียนสัมผัสเรียนรู้เกี่ยวกับการทำนา โดยหวังกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้วิถีชีวิตชาวนาไทยนอกห้องเรียน และสืบทอดอาชีพที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษก่อนที่จะสูญหายไป
นายกมล ประเสริฐกุล นายอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ร่วมเกี่ยวข้าวนาปีกับนักเรียนโรงเรียนไทรงาม จำนวน 54 คน ซึ่งนำโดย นายปริญญา สุพรรณรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทรงาม และนักเรียนโรงเรียนตรังวิทยา จำนวน 45 คน ซึ่งนำโดย นายนิวรณ์ แสงวิสุทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 และคณะครูอาจารย์ตามโครงการ “เปิดประตูการเรียนรู้สู่ทุ่งนา”
ทั้งนี้ เป็นโครงการที่โรงเรียนไทรงาม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วน จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นาหมื่นศรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และพ่อแม่ผู้ปกครองโรงเรียนไทรงาม
โดย นางมาลี เชยชื่นจิตร เกษตรกรชาวตำบลนาหมื่นศรี ได้มอบที่นาจำนวน 2 แปลง ให้กับทางโรงเรียนไทรงาม เพื่อให้นักเรียนได้นำไปใช้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวนา และทุกๆ กระบวนการของการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นการหว่าน การปักดำ การดูแลบำรุงรักษา ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้นอกห้องเรียน และได้เรียนรู้คุณค่าของข้าวทุกเม็ดที่นำมาบริโภค
นางระเบียบ คงฉาง ครูประจำชั้นปีที่ 5 โรงเรียนไทรงาม กล่าวว่า ในยุคปฏิวัติการศึกษา ได้เน้นให้ผู้เรียนหรือนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวัน สิ่งรอบตัว และเห็นถึงสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในท้องถิ่น โดยเฉพาะยุคของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน ซึ่งจะต้องโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อจะได้เรียนรู้สิ่งๆ ต่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
แม้แต่คำสอนเมื่อครั้งโบราณที่เด็กๆ เองยังไม่เคยทราบว่า ทำไมผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ต้องตักเตือนว่า หากลูกรับประทานข้าวในจานไม่หมด จะทำให้แม่ขวัญข้าว หรือแม่โพสพเกิดความไม่พอใจ แต่วิธีการสอนเช่นนี้ทำให้เด็กๆ ไม่เข้าใจถึงความหมาย กระทั่งเมื่อพวกเขาได้มาเรียนรู้และปฎิบัติจริง จึงทราบว่าข้าวกว่าจะได้มาแต่เม็ด ชาวนาต้องเหนื่อยยากลำบากอย่างมาก จึงทำให้นักเรียนเข้าใจถึงการตักเตือนดังกล่าว
นอกจากนั้น กิจกรรมการทำนายังทำให้นักเรียนมีความสุข และเป็นการเรียน การสอน ในรูปแบบของนอกชั้นเรียนหรือนอกรั้วโรงเรียน จนทำให้นักเรียนมีความรู้รอบตัว หรือสัมผัสกับสิ่งมีชีวิตรอบตัว เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หนูนา หอยเชอรี่ เป็นต้น จึงสามารถนำสิ่งที่เห็นจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ไปถ่ายทอดเป็นภาพต่างๆ ได้ดี รวมทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนด้วย
นายกมล ประเสริฐกุล นายอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ร่วมเกี่ยวข้าวนาปีกับนักเรียนโรงเรียนไทรงาม จำนวน 54 คน ซึ่งนำโดย นายปริญญา สุพรรณรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทรงาม และนักเรียนโรงเรียนตรังวิทยา จำนวน 45 คน ซึ่งนำโดย นายนิวรณ์ แสงวิสุทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 และคณะครูอาจารย์ตามโครงการ “เปิดประตูการเรียนรู้สู่ทุ่งนา”
ทั้งนี้ เป็นโครงการที่โรงเรียนไทรงาม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วน จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นาหมื่นศรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และพ่อแม่ผู้ปกครองโรงเรียนไทรงาม
โดย นางมาลี เชยชื่นจิตร เกษตรกรชาวตำบลนาหมื่นศรี ได้มอบที่นาจำนวน 2 แปลง ให้กับทางโรงเรียนไทรงาม เพื่อให้นักเรียนได้นำไปใช้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวนา และทุกๆ กระบวนการของการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นการหว่าน การปักดำ การดูแลบำรุงรักษา ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้นอกห้องเรียน และได้เรียนรู้คุณค่าของข้าวทุกเม็ดที่นำมาบริโภค
นางระเบียบ คงฉาง ครูประจำชั้นปีที่ 5 โรงเรียนไทรงาม กล่าวว่า ในยุคปฏิวัติการศึกษา ได้เน้นให้ผู้เรียนหรือนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวัน สิ่งรอบตัว และเห็นถึงสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในท้องถิ่น โดยเฉพาะยุคของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน ซึ่งจะต้องโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อจะได้เรียนรู้สิ่งๆ ต่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
แม้แต่คำสอนเมื่อครั้งโบราณที่เด็กๆ เองยังไม่เคยทราบว่า ทำไมผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ต้องตักเตือนว่า หากลูกรับประทานข้าวในจานไม่หมด จะทำให้แม่ขวัญข้าว หรือแม่โพสพเกิดความไม่พอใจ แต่วิธีการสอนเช่นนี้ทำให้เด็กๆ ไม่เข้าใจถึงความหมาย กระทั่งเมื่อพวกเขาได้มาเรียนรู้และปฎิบัติจริง จึงทราบว่าข้าวกว่าจะได้มาแต่เม็ด ชาวนาต้องเหนื่อยยากลำบากอย่างมาก จึงทำให้นักเรียนเข้าใจถึงการตักเตือนดังกล่าว
นอกจากนั้น กิจกรรมการทำนายังทำให้นักเรียนมีความสุข และเป็นการเรียน การสอน ในรูปแบบของนอกชั้นเรียนหรือนอกรั้วโรงเรียน จนทำให้นักเรียนมีความรู้รอบตัว หรือสัมผัสกับสิ่งมีชีวิตรอบตัว เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หนูนา หอยเชอรี่ เป็นต้น จึงสามารถนำสิ่งที่เห็นจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ไปถ่ายทอดเป็นภาพต่างๆ ได้ดี รวมทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนด้วย