นครศรีธรรมราช - รองผู้ว่าฯนครศรีธรรมราช เผย เตรียมความพร้อมการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่เสรีมากขึ้น
วันนี้ (23 ธ.ค.) นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า จ.นครศรีธรรมราช เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมานั้นได้มีการเชิญหัวหน้าส่วนราชการตัวแทนภาคเอกชน ผู้ประกอบธุรกิจและภาคส่วนทุกฝ่าย เข้าร่วมหารือสัมมนาติดต่อกันมาเป็นระยะๆ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยการนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปขยายผลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ มีความเข้าใจถึงโอกาสและความท้าทายของประเทศไทยของ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อก้าวสู่การเป็นประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มีความพร้อมและสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่เดิม และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีทั้งโอกาสและการสูญเสียโอกาสหากไม่มีความพร้อมและขาดความเข้าใจ การแข่งขันในด้านต่างๆ หรือแม้แต่การปฏิบัติงานราชการที่จะต้องแข่งขันกับประเทศที่มีระบบราชการที่เข้มแข็ง และดีเยี่ยมอย่างประเทศสิงคโปร์ และประเทศเวียดนามที่มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์พร้อม มีประชากรที่มีคุณภาพสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่ชาว จ.นครศรีธรรมราช และคนไทยต้องมีความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศ และการเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของประเทศสมาชิก เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะ จ.นครศรีธรรมราช มีความพร้อมในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจในหลายด้าน เช่น ด้านผลผลิตด้านการเกษตร สินค้าประมง การท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
ทั้งนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้นจากแนวคิดของผู้นำประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ที่ต้องการให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยวางเป้าหมายให้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี 2558 ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น เพื่อรองรับกระแสการแข่งขันทางการค้า และการแข่งขันเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรง ที่มีความรุนแรงและมีแนวโน้มจะถ่ายโอนไปสู่ประเทศเศรษฐกิจใหม่มากขึ้นด้วย
วันนี้ (23 ธ.ค.) นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า จ.นครศรีธรรมราช เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมานั้นได้มีการเชิญหัวหน้าส่วนราชการตัวแทนภาคเอกชน ผู้ประกอบธุรกิจและภาคส่วนทุกฝ่าย เข้าร่วมหารือสัมมนาติดต่อกันมาเป็นระยะๆ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยการนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปขยายผลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ มีความเข้าใจถึงโอกาสและความท้าทายของประเทศไทยของ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อก้าวสู่การเป็นประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มีความพร้อมและสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่เดิม และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีทั้งโอกาสและการสูญเสียโอกาสหากไม่มีความพร้อมและขาดความเข้าใจ การแข่งขันในด้านต่างๆ หรือแม้แต่การปฏิบัติงานราชการที่จะต้องแข่งขันกับประเทศที่มีระบบราชการที่เข้มแข็ง และดีเยี่ยมอย่างประเทศสิงคโปร์ และประเทศเวียดนามที่มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์พร้อม มีประชากรที่มีคุณภาพสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่ชาว จ.นครศรีธรรมราช และคนไทยต้องมีความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศ และการเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของประเทศสมาชิก เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะ จ.นครศรีธรรมราช มีความพร้อมในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจในหลายด้าน เช่น ด้านผลผลิตด้านการเกษตร สินค้าประมง การท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
ทั้งนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้นจากแนวคิดของผู้นำประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ที่ต้องการให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยวางเป้าหมายให้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี 2558 ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น เพื่อรองรับกระแสการแข่งขันทางการค้า และการแข่งขันเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรง ที่มีความรุนแรงและมีแนวโน้มจะถ่ายโอนไปสู่ประเทศเศรษฐกิจใหม่มากขึ้นด้วย