สตูล - สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสตูล เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมใหญ่ โดยบูรณการทุกหน่วยงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์น้ำยังปกติดี
นายสำเริง วงศ์มุณีวรณ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล กล่าวถึงการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล ว่า เนื่องจากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของ จ.สตูล เป็นภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบลุ่มลาดลงสู่ทะเลอันดามัน ระดับความลาดชันของพื้นที่ต้นน้ำกับปลายน้ำมีความลาดชันมาก ส่งผลให้ระบบการระบายน้ำทำได้โดยสะดวก ทั้งนี้ ถ้าน้ำทะเลไม่หนุนจะท่วมขังไม่นาน การเฝ้าระวังพื้นที่ช่วงต้นน้ำถึงปลายน้ำจึงสามารถทำได้ดีกว่าพื้นที่อื่น
อาทิ หากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมขึ้นในพื้นที่ อ.ควนโดน ถ้าเป็นไปตามปกติกว่าน้ำจะมาถึง อ.เมือง จะใช้เวลา ประมาณ 20 ชม. ซึ่งยังมีเวลาเตรียมตัวได้ทัน โดยที่ผ่านมาพื้นที่ จ.สตูล น้ำจะท่วมไม่นาน แต่จะเป็นการท่วมในลักษณะท่วมเร็ว และลดเร็ว
ทั้งนี้ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานอื่น โดยจังหวัดได้ตั้งศูนย์เฉพาะกิจในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปี 54 ขึ้น มีผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล กระจายข้อมูล
ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน ในการสนับสนุน การประชาสัมพันธ์ การช่วยเหลือ โดยแต่ละฝ่ายรับบทบาทหน้าที่ไปปฏิบัติ เช่น ชลประทานจังหวัด มีหน้าที่ตรวจเช็คสภาพลุ่มน้ำ รายงานน้ำท่าทุกพื้นที่ให้ทางจังหวัดทราบ สถานีอุตุนิยมวิทยาสตูลมีหน้าที่รายงานปริมาณน้ำฝน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมีหน้าที่ขยายผล รวบรวมข้อมูล แจ้งเตือนประชาชนได้รับทราบ เพื่อเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดสตูล จากการที่ได้มีฝนตกลงมาในพื้นที่ในช่วงนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ปริมาณน้ำท่าต้นทุนที่มีอยู่ การหนุนของระดับน้ำทะเล และการตรวจสอบระบบการระบายน้ำของคูคลองต่างๆ ว่ามีสิ่งปิดกั้นขวางทางน้ำหรือไม่ ทำให้มั่นใจได้ว่าขณะนี้จะยังไม่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่
นอกจากนี้ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล ยังฝากเตือนพี่น้องประชาชนให้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมตัวรับมือได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในชุมชน ทั้งนี้ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ให้บทบาทท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นด่านแรก ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ ท้องถิ่นและชุมชนต้องเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ให้ได้ ต้องมีแผนของชุมชน ในการอพยพและการดำรงชีวิต ด้วย และหน่วยงานที่สำคัญ อาทิ โรงพยาบาล ไฟฟ้า ประปา ต้องมีแผนรองรับให้พร้อม โดยทุกหน่วยงานต้องบูรณาการกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายสำเริง วงศ์มุณีวรณ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล กล่าวถึงการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสตูล ว่า เนื่องจากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของ จ.สตูล เป็นภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบลุ่มลาดลงสู่ทะเลอันดามัน ระดับความลาดชันของพื้นที่ต้นน้ำกับปลายน้ำมีความลาดชันมาก ส่งผลให้ระบบการระบายน้ำทำได้โดยสะดวก ทั้งนี้ ถ้าน้ำทะเลไม่หนุนจะท่วมขังไม่นาน การเฝ้าระวังพื้นที่ช่วงต้นน้ำถึงปลายน้ำจึงสามารถทำได้ดีกว่าพื้นที่อื่น
อาทิ หากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมขึ้นในพื้นที่ อ.ควนโดน ถ้าเป็นไปตามปกติกว่าน้ำจะมาถึง อ.เมือง จะใช้เวลา ประมาณ 20 ชม. ซึ่งยังมีเวลาเตรียมตัวได้ทัน โดยที่ผ่านมาพื้นที่ จ.สตูล น้ำจะท่วมไม่นาน แต่จะเป็นการท่วมในลักษณะท่วมเร็ว และลดเร็ว
ทั้งนี้ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับหน่วยงานอื่น โดยจังหวัดได้ตั้งศูนย์เฉพาะกิจในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปี 54 ขึ้น มีผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล กระจายข้อมูล
ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน ในการสนับสนุน การประชาสัมพันธ์ การช่วยเหลือ โดยแต่ละฝ่ายรับบทบาทหน้าที่ไปปฏิบัติ เช่น ชลประทานจังหวัด มีหน้าที่ตรวจเช็คสภาพลุ่มน้ำ รายงานน้ำท่าทุกพื้นที่ให้ทางจังหวัดทราบ สถานีอุตุนิยมวิทยาสตูลมีหน้าที่รายงานปริมาณน้ำฝน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมีหน้าที่ขยายผล รวบรวมข้อมูล แจ้งเตือนประชาชนได้รับทราบ เพื่อเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดสตูล จากการที่ได้มีฝนตกลงมาในพื้นที่ในช่วงนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ปริมาณน้ำท่าต้นทุนที่มีอยู่ การหนุนของระดับน้ำทะเล และการตรวจสอบระบบการระบายน้ำของคูคลองต่างๆ ว่ามีสิ่งปิดกั้นขวางทางน้ำหรือไม่ ทำให้มั่นใจได้ว่าขณะนี้จะยังไม่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่
นอกจากนี้ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล ยังฝากเตือนพี่น้องประชาชนให้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมตัวรับมือได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในชุมชน ทั้งนี้ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ให้บทบาทท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นด่านแรก ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ ท้องถิ่นและชุมชนต้องเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ให้ได้ ต้องมีแผนของชุมชน ในการอพยพและการดำรงชีวิต ด้วย และหน่วยงานที่สำคัญ อาทิ โรงพยาบาล ไฟฟ้า ประปา ต้องมีแผนรองรับให้พร้อม โดยทุกหน่วยงานต้องบูรณาการกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ