นครศรีธรรมราช - ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูนครศรีฯ ซัดพาณิชย์เฉยคุมราคาอาหารสัตว์ทำราคาหมูเป็นพุ่งพรวด แฉดอดขึ้นราคาต่อเนื่องล่าสุดเพิ่มอีก 10 บาท-แนะตรวจสอบต้นทุนทั้งระบบเผย
วันนี้ (4 ส.ค.) นายโสภณ พรหมแก้ว นายก อบต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช ในฐานะอุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ในส่วนของ จ.นครศรีธรรมราช ราคาของหมูมีชีวิตสูงถึง 85 บาท ลูกค้าประจำ 80 บาท ลูกค้ารายย่อย 82 บาท ซึ่งปัญหาราคาหมูเป็นที่แพงขึ้นสืบเนื่องจาก 2 ปัญหาหลักที่ต้องยอมรับความจริง คือ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และโรคระบาด และล่าสุดยังมีโรคระบาดที่เกี่ยวกับระบบปอดอีก โดยหมูที่เป็นโรคนี้จะไม่ตาย แต่ไม่โต ทำให้หมูมีชีวิตในวงจรที่จะป้อนเข้าสู่ตลาดมีน้อย เกษตรกรต้องทำโปรแกรมวัคซีนถึง 5 ชนิด จากเดิมแค่ 3 ชนิดซึ่งมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีก
อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรนครศรีธรรมราชกล่าวต่ออีกว่า ส่วนหนึ่งไม่ทราบว่ากระทรวงพาณิชย์จะรู้หรือไม่ว่าอาหารหมูได้ขยับราคาขึ้นอีกกระสอบละ 10 บาท ถ้าดูต้นทุนของวัตถุดิบในการทำอาหารทุกอย่างมีราคาปกติ แต่ราคาอาหารกลับขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เข้าไปดูเรื่องอาหารสัตว์ตรงนี้หรือไม่ เนื่องจากปกติราคาอาหารสัตว์เป็นสินค้าที่ต้องประกาศควบคุม ถ้าอาหารสัตว์ลดลงกระสอบละ 50 บาท ซึ่งสามารถลดลงมาได้หากคำนึงถึงต้นทุนการผลิตแล้ว หมูที่มีชีวิตจะสามารถลดลงทันทีเหลือเพียง กก.ละ 65 บาท
“พ่อค้าคนกลางหรือเขียงหมู เชือด 1 ตัวจะได้กำไรประมาณ 1 พันบาท ขณะได้กำไรแค่ 200-300 บาท ตัวเขาก็หยุดแล้ว แต่ผู้เลี้ยงกว่าจะได้กำไรตัวละ 1.2 พันบาทนั้น ต้องใช้เวลาเลี้ยงถึง 4 เดือน
ดังนั้น ขณะนี้ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุด คือ กระทรวงพาณิชย์ต้องเข้าไปดูแลต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์และควบคุมราคา เดี๋ยวนี้อาหารสัตว์ไม่มีการควบคุม ขึ้นราคาไปอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการแจ้งผ่านเซลส์มาถึงเอเยนต์เป็นระยะต้องแก้ที่แก่น จึงจะแก้ปัญหาทั้งระบบได้” นายโสภณกล่าว
วันนี้ (4 ส.ค.) นายโสภณ พรหมแก้ว นายก อบต.ขุนทะเล จ.นครศรีธรรมราช ในฐานะอุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ในส่วนของ จ.นครศรีธรรมราช ราคาของหมูมีชีวิตสูงถึง 85 บาท ลูกค้าประจำ 80 บาท ลูกค้ารายย่อย 82 บาท ซึ่งปัญหาราคาหมูเป็นที่แพงขึ้นสืบเนื่องจาก 2 ปัญหาหลักที่ต้องยอมรับความจริง คือ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และโรคระบาด และล่าสุดยังมีโรคระบาดที่เกี่ยวกับระบบปอดอีก โดยหมูที่เป็นโรคนี้จะไม่ตาย แต่ไม่โต ทำให้หมูมีชีวิตในวงจรที่จะป้อนเข้าสู่ตลาดมีน้อย เกษตรกรต้องทำโปรแกรมวัคซีนถึง 5 ชนิด จากเดิมแค่ 3 ชนิดซึ่งมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีก
อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรนครศรีธรรมราชกล่าวต่ออีกว่า ส่วนหนึ่งไม่ทราบว่ากระทรวงพาณิชย์จะรู้หรือไม่ว่าอาหารหมูได้ขยับราคาขึ้นอีกกระสอบละ 10 บาท ถ้าดูต้นทุนของวัตถุดิบในการทำอาหารทุกอย่างมีราคาปกติ แต่ราคาอาหารกลับขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เข้าไปดูเรื่องอาหารสัตว์ตรงนี้หรือไม่ เนื่องจากปกติราคาอาหารสัตว์เป็นสินค้าที่ต้องประกาศควบคุม ถ้าอาหารสัตว์ลดลงกระสอบละ 50 บาท ซึ่งสามารถลดลงมาได้หากคำนึงถึงต้นทุนการผลิตแล้ว หมูที่มีชีวิตจะสามารถลดลงทันทีเหลือเพียง กก.ละ 65 บาท
“พ่อค้าคนกลางหรือเขียงหมู เชือด 1 ตัวจะได้กำไรประมาณ 1 พันบาท ขณะได้กำไรแค่ 200-300 บาท ตัวเขาก็หยุดแล้ว แต่ผู้เลี้ยงกว่าจะได้กำไรตัวละ 1.2 พันบาทนั้น ต้องใช้เวลาเลี้ยงถึง 4 เดือน
ดังนั้น ขณะนี้ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุด คือ กระทรวงพาณิชย์ต้องเข้าไปดูแลต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์และควบคุมราคา เดี๋ยวนี้อาหารสัตว์ไม่มีการควบคุม ขึ้นราคาไปอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการแจ้งผ่านเซลส์มาถึงเอเยนต์เป็นระยะต้องแก้ที่แก่น จึงจะแก้ปัญหาทั้งระบบได้” นายโสภณกล่าว