กระบี่ - กลิ่นหึ่งขุดคูแพรกกั้นแนวเขตป่าชายเลนกับป่าบก ม.3 ต.เขาคราม กระบี่ แฉ มีการเรียกเก็บเงินจากชาวบ้านที่มีที่ดินติดป่าชายเลน เพื่อแลกกับที่ดินที่ได้เพิ่มมาจากการขุดคูกันแนวเขต ไร่ละ 2 หมื่นบาท
นายไมตรี แสงอริยนันต์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 จังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ขณะลงพื้นที่สำรวจโครงการขุดคูแพรกเพื่อแสดงแนวเขตระหว่างป่าชายเลนและป่าบกเพื่อป้องกันการบุกรุกป่าชายเลน ในพื้นที่ ม.3 ต.เขาคราม หลังมีชาวบ้านร้องเรียนว่าโครงการขุดคูแพรก มีการขุดรุกล้ำเข้าไปในป่าชายเลน ทำให้ต้นโกงกางเสียหายจำนวนมาก และมีเจ้าหน้าที่ของป่าชายเลนบางคนมีการเรียกเก็บเงินจากเจ้าของที่ดินที่โครงการขุดผ่าน
“จากการสำรวจพื้นที่ที่มีการร้องเรียน พบว่า การขุดคูแพรกเท่าที่มองเห็นด้วยสายตาน่าจะมีการขุดเกินจากความเป็นจริงตามแนวเขตที่ได้สำรวจไว้ก่อนหน้า เนื่องจากบางช่วงบางแห่งของคูแพรกอยู่ห่างจากป่าบกหรือที่ดินของชาวบ้านลึกเข้าไปในป่าชายเลนหลายสิบเมตร”
นายไมตรี กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการของส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 จังหวัดกระบี่ เพื่อป้องกันการบุกรุกป่าชายเลน โดยได้ให้เอกชนเป็นผู้รับเหมาเข้าทำการขุดคู ซึ่งยอมรับว่า แนวที่มีการขุดตามที่เดินสำรวจหลายจุดมีการขุดเกินไปจากความเป็นจริงมาก บางช่วงบางแห่งมีการขุดลึกเข้าไปในป่าชายเลนประมาณ 20 เมตร มีการทำลายต้นป่าโกงกาง และกลบเกลื่อนด้วยการนำดินโคลนมาถมทับต้นโกงกางที่ถูกทำลาย ซึ่งหากว่าแนวคูจะมีความคลาดเคลื่อนจากแนวที่สำรวจไว้ก็ไม่น่าจะเกินกว่า 5 เมตร
โดยในเบื้องต้นก็จะเชิญผู้รับเหมามาทำการพูดคุย และจะให้ทำการขุดแนวเขตใหม่ตามแนวที่เคยสำรวจเดิม โดยในส่วนของต้นป่าโกงกางที่ถูกทำลายไปก็จะรีบทำการฟื้นฟูโดยการปลูกทดแทนใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่เดินสำรวจทางทางผู้อำนวยการ มีสีหน้าเคร่งเครียดตลอดเวลา และพยายามสอบถามจุดต่างๆ ที่มีการขุดคูแพรกจากผู้สื่อข่าว ทั้งที่หน่วยงานที่ควบคุมดูแลการขุดคูแพรกดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ของป่าชายเลนเอง และก็ไม่ได้มีการพูดถึงการดำเนินคดีหรือเอาผิดกับคนทำลายป่าชายเลน ทั้งที่รัฐเป็นผู้เสียหายและได้รับข้อมูลว่าการที่ผู้รับเหมามีการขุดดินเกินเข้าไปในป่าชายเลน
โดยไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าของที่ดินที่มีการขุดผ่าน ไร่ละ 2 หมื่นบาท มีการตกลงกันว่าหากมีการคูแพรกลึกเข้าไปในป่าชายเลน ที่ป่าเลนส่วนที่ถูกทำลายก็จะตกเป็นของเจ้าของที่ดินจนถึงคูแพรก โดยบางรายต้องเสียเงินรายละ 6 หมื่น ถึง 1 แสนบาท แต่ทางผู้อำนวยการฯกลับพูดแต่เพียงการฟื้นฟู และขุดแนวเขตใหม่เท่านั้น ไม่ถึงพูดถึงการนำคนผิดหรือสอบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
นายไมตรี แสงอริยนันต์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 จังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ขณะลงพื้นที่สำรวจโครงการขุดคูแพรกเพื่อแสดงแนวเขตระหว่างป่าชายเลนและป่าบกเพื่อป้องกันการบุกรุกป่าชายเลน ในพื้นที่ ม.3 ต.เขาคราม หลังมีชาวบ้านร้องเรียนว่าโครงการขุดคูแพรก มีการขุดรุกล้ำเข้าไปในป่าชายเลน ทำให้ต้นโกงกางเสียหายจำนวนมาก และมีเจ้าหน้าที่ของป่าชายเลนบางคนมีการเรียกเก็บเงินจากเจ้าของที่ดินที่โครงการขุดผ่าน
“จากการสำรวจพื้นที่ที่มีการร้องเรียน พบว่า การขุดคูแพรกเท่าที่มองเห็นด้วยสายตาน่าจะมีการขุดเกินจากความเป็นจริงตามแนวเขตที่ได้สำรวจไว้ก่อนหน้า เนื่องจากบางช่วงบางแห่งของคูแพรกอยู่ห่างจากป่าบกหรือที่ดินของชาวบ้านลึกเข้าไปในป่าชายเลนหลายสิบเมตร”
นายไมตรี กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการของส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 จังหวัดกระบี่ เพื่อป้องกันการบุกรุกป่าชายเลน โดยได้ให้เอกชนเป็นผู้รับเหมาเข้าทำการขุดคู ซึ่งยอมรับว่า แนวที่มีการขุดตามที่เดินสำรวจหลายจุดมีการขุดเกินไปจากความเป็นจริงมาก บางช่วงบางแห่งมีการขุดลึกเข้าไปในป่าชายเลนประมาณ 20 เมตร มีการทำลายต้นป่าโกงกาง และกลบเกลื่อนด้วยการนำดินโคลนมาถมทับต้นโกงกางที่ถูกทำลาย ซึ่งหากว่าแนวคูจะมีความคลาดเคลื่อนจากแนวที่สำรวจไว้ก็ไม่น่าจะเกินกว่า 5 เมตร
โดยในเบื้องต้นก็จะเชิญผู้รับเหมามาทำการพูดคุย และจะให้ทำการขุดแนวเขตใหม่ตามแนวที่เคยสำรวจเดิม โดยในส่วนของต้นป่าโกงกางที่ถูกทำลายไปก็จะรีบทำการฟื้นฟูโดยการปลูกทดแทนใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่เดินสำรวจทางทางผู้อำนวยการ มีสีหน้าเคร่งเครียดตลอดเวลา และพยายามสอบถามจุดต่างๆ ที่มีการขุดคูแพรกจากผู้สื่อข่าว ทั้งที่หน่วยงานที่ควบคุมดูแลการขุดคูแพรกดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ของป่าชายเลนเอง และก็ไม่ได้มีการพูดถึงการดำเนินคดีหรือเอาผิดกับคนทำลายป่าชายเลน ทั้งที่รัฐเป็นผู้เสียหายและได้รับข้อมูลว่าการที่ผู้รับเหมามีการขุดดินเกินเข้าไปในป่าชายเลน
โดยไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าของที่ดินที่มีการขุดผ่าน ไร่ละ 2 หมื่นบาท มีการตกลงกันว่าหากมีการคูแพรกลึกเข้าไปในป่าชายเลน ที่ป่าเลนส่วนที่ถูกทำลายก็จะตกเป็นของเจ้าของที่ดินจนถึงคูแพรก โดยบางรายต้องเสียเงินรายละ 6 หมื่น ถึง 1 แสนบาท แต่ทางผู้อำนวยการฯกลับพูดแต่เพียงการฟื้นฟู และขุดแนวเขตใหม่เท่านั้น ไม่ถึงพูดถึงการนำคนผิดหรือสอบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ