ตรัง - เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ยื่นหนังสือพ่อเมืองตรัง ยุติสร้างถนนเทือกเขาบรรทัด หวั่นเกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง เพราะไม่มีการเปิดเวทีฟังความคิดเห็นชาวบ้าน
วันนี้ (6 มิ.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น.เครือข่ายปฎิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จากจังหวัดตรัง พัทลุง กระบี่ กว่า 300 คน ได้รวมตัวกันที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ในเขตเทศบาลนครตรัง นำโดย นายบุญ แซ่จุ๋ง ผู้ประสานงานเครือข่ายเทือกเขาบรรทัด พร้อมด้วยชาวบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างถนนบนเทือกเขาบรรทัด ต.โพรงจระเข้ ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง จากกรณีที่ นายคม ชัยภักดี หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด นำเครื่องจักรกลไปสร้างถนนระยะทาง 5 กิโลเมตร เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชันอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม สร้างความไม่ปลอดภัยให้กับชาวบ้านบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และพื้นที่ด้านล่างของ อ.นาโยง อ.ย่านตาขาว อ.ปะเหลียน และ อ.เมืองตรัง
ทั้งนี้ ชาวบ้านในนามของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ได้เดินเท้าพร้อมด้วยเครื่องขยายเสียง และแจกแผ่นปลิวการคัดค้านสร้างถนน ไปรอบตลาดสดเทศบาลนครตรัง ท่ามกลางประชาชนได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ก่อนที่กลุ่มของชาวบ้านในนามเครือข่ายของเทือกเขาบรรทัด จะไปรวมตัวกันที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดตรัง เพื่อยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อ นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พร้อมกับรับปากว่า จะมีการทำหนังสือไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้ชะลอการดำเนินการก่อสร้างถนนบนเทือกเขาบรรทัด
เนื่องจากชาวบ้านหวั่นไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวยังเคยเกิดภัยพิบัติมาแล้วเมื่อปี 2550 ขณะเดียวกัน การตัดถนนในครั้งนี้ยังมีการปิดกั้นไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วม เช่น ไม่มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ไม่มีการจัดเวทีประชาพิจารณ์ ไม่ผ่านประชาคมหมู่บ้าน ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการ พร้อมกันนั้น การตัดถนนดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ แถมยังเกิดโทษ เพิ่มความเสี่ยงภัยทางภัยพิบัติ สิ้นเปลืองงบประมาณ และเป็นช่องทางให้มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
ดังนั้น เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จึงเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประสานไปยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชี้แจงเหตุผลในการสร้างถนนบนเทือกเขาบรรทัด พร้อมกับขอให้ ผวจ.ตรัง เร่งรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ยุติโครงการ รวมทั้งทำหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชน เพื่อป้องกันสิทธิของชุมชนท้องถิ่น และรักษาความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติต่อไป ซึ่งหลังจาก ผวจ.ตรัง รับหนังสือจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดแล้ว กลุ่มชาวบ้านก็ยอมสลายตัวไป โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นแต่อย่างใด ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายสิบนาย
วันนี้ (6 มิ.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น.เครือข่ายปฎิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จากจังหวัดตรัง พัทลุง กระบี่ กว่า 300 คน ได้รวมตัวกันที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ในเขตเทศบาลนครตรัง นำโดย นายบุญ แซ่จุ๋ง ผู้ประสานงานเครือข่ายเทือกเขาบรรทัด พร้อมด้วยชาวบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างถนนบนเทือกเขาบรรทัด ต.โพรงจระเข้ ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง จากกรณีที่ นายคม ชัยภักดี หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด นำเครื่องจักรกลไปสร้างถนนระยะทาง 5 กิโลเมตร เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชันอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม สร้างความไม่ปลอดภัยให้กับชาวบ้านบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และพื้นที่ด้านล่างของ อ.นาโยง อ.ย่านตาขาว อ.ปะเหลียน และ อ.เมืองตรัง
ทั้งนี้ ชาวบ้านในนามของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ได้เดินเท้าพร้อมด้วยเครื่องขยายเสียง และแจกแผ่นปลิวการคัดค้านสร้างถนน ไปรอบตลาดสดเทศบาลนครตรัง ท่ามกลางประชาชนได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ก่อนที่กลุ่มของชาวบ้านในนามเครือข่ายของเทือกเขาบรรทัด จะไปรวมตัวกันที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดตรัง เพื่อยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อ นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พร้อมกับรับปากว่า จะมีการทำหนังสือไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้ชะลอการดำเนินการก่อสร้างถนนบนเทือกเขาบรรทัด
เนื่องจากชาวบ้านหวั่นไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวยังเคยเกิดภัยพิบัติมาแล้วเมื่อปี 2550 ขณะเดียวกัน การตัดถนนในครั้งนี้ยังมีการปิดกั้นไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วม เช่น ไม่มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ไม่มีการจัดเวทีประชาพิจารณ์ ไม่ผ่านประชาคมหมู่บ้าน ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการ พร้อมกันนั้น การตัดถนนดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ แถมยังเกิดโทษ เพิ่มความเสี่ยงภัยทางภัยพิบัติ สิ้นเปลืองงบประมาณ และเป็นช่องทางให้มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
ดังนั้น เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จึงเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประสานไปยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชี้แจงเหตุผลในการสร้างถนนบนเทือกเขาบรรทัด พร้อมกับขอให้ ผวจ.ตรัง เร่งรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ยุติโครงการ รวมทั้งทำหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชน เพื่อป้องกันสิทธิของชุมชนท้องถิ่น และรักษาความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติต่อไป ซึ่งหลังจาก ผวจ.ตรัง รับหนังสือจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดแล้ว กลุ่มชาวบ้านก็ยอมสลายตัวไป โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นแต่อย่างใด ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายสิบนาย