ปัตตานี - ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติลงพื้นที่อ่าวปัตตานี เพื่อหาทางยุติปัญหาหอยแครงกับประมงพื้นบ้าน หลังได้รับการร้องเรียนจากประมงพื้นบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกตำรวจดำเนินคดีในข้อหาลักทรัพย์ในที่สาธารณะ
อาจารย์ อมรา พงสาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยนายแพทย์ชูใจ ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิฯ นายโสพล จริงจิคร ผอ.สำนักคุ้มครองสิทธิฯและคณะได้ลงพื้นที่ปัตตานีอีกครั้ง หลังจากเปิดตัวคณะกรรมการสิทธิฯและสายด่วน 1377 เมื่อวานที่ผ่านมา (30 พ.ค.) เพื่อรับทราบปัญหาข้อเท็จจริง และตรวจสภาพอ่าวปัตตานี ที่เป็นปัญหาระหว่างประมงพื้นบ้านกับนายทุนผู้เลี้ยงหอยแครง โดยรับฟังการบรรยายสรุปจากนายสุนันท์ ศิริมากุล ประมงจังหวัดปัตตานี และนายสุนันท์ หลีเจริญ ประมงอำเภอเมืองปัตตานี ที่ศูนย์เฝ้าระวังและปราบปรามประมงทะเล ปัตตานี
หลังจากนั้น คณะกรรมการสิทธิฯ ก็ได้นั่งเรือตรวจการของกรมประมง ลงอ่าวปัตตานี เพื่อตรวจสอบดูสภาพข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร หลังจากที่ได้รับการร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากชาวประมงพื้นบ้าน
อาจารย์ อมรา พงสาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิฯ ได้เปิดเผยหลังจากได้ลงพื้นที่มารับทราบปัญหาความขัดแย้งระหว่างประมงพื้นบ้านกับผู้เลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี ว่าจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้สามารถมองเห็นสภาพปัญหาข้อเท็จจริงของอ่าวปัตตานีได้เป็นอย่างดี จึงพอเข้าใจได้ว่าทำไมถึงเกิดปัญหาความขัดแย้ง เพราะพื้นที่มันกว้างใหญ่ มันสามารถทับเส้นได้อ้างความเป็นเจ้าของ อันที่จริงแล้วมันเป็นที่สาธารณะ การที่เราจับจอง เราอ้างเป็นเจ้าของ ก็คงจะทำไม่ค่อยได้
ส่วนแนวทางการแก้ปัญหานั้นคงต้องมีการพูดคุยอีกหลายรอบ แล้วตกลงให้ได้ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ เราจะแบ่งกันใช้ที่สาธารณะกันอย่างไร ในส่วนคดีความที่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาชาวประมงพื้นบ้านในข้อหาลักทรัพย์ในพื้นที่สาธารณะก็เหมือนพื้นที่ป่าชุมชน ในการที่เราจะเก็บอะไร ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นของรัฐอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเกิดมีใครอ้างเป็นเจ้าของก็เรื่องหนึ่ง แต่เมื่อเป็นของสาธารณะก็สามารถแบ่งปันกันใช้ได้
ส่วนเรื่องเมื่อเป็นของสาธารณะก็สามารถแบ่งปันกันใช้ได้คดีความนั้นคงต้องไกล่เกลี่ยกัน คุยกันดูว่าใครได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด การรับดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน และแจ้งข้อกล่าวหาก็ควรคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะร่วมกันอย่าง