ศูนย์ข่าวภูเก็ต -ปธ.คณะอนุกรรมการตรวจสอบประเมินผล ติดตามเรื่องการท่องเที่ยวและระบบเตือนภัยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พร้อมระบุการดำเนินโครงการยังล่าช้า ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เหตุติดขัดเรื่องขั้นตอนและสถานที่ เตรียมเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางแก้ไข
วันนี้(23 พ.ค.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (อาคารใหม่) ผศ.ดร.ประวิตร นิลสุวรรณากุล ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัดคณะที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด พร้อมคณะติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามนโยบายการท่องเที่ยวและระบบเตือนภัย กลุ่มจังหวัดอันดามัน โดยมีนายประเจียด อักษรธรรมกุล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ผศ.ดร.ประวิตร นิลสุวรรณากุล ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัดคณะที่ 4 กล่าวถึงการเดินทางมาติดตามงานในครั้งนี้ ว่า เหตุที่เลือกมาติดตามดูเรื่องการท่องเที่ยวและระบบเตือนภัยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมากในแต่ละปี เรื่องของความปลอดภัยจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการ
ที่ผ่านมา ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมจัดทำโครงการต่างๆ มาตั้งแต่หลังเกิดสึนามิ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชน แต่ปรากฏว่าการดำเนินโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัยยังมีความล่าช้า และไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะติดขัดในเรื่องของขั้นตอนและพื้นที่ในการดำเนินการ
นอกจาก จ.ภูเก็ต แล้ว จะมีการดำเนินการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ของกลุ่มจังหวัดอันดามันด้วย จากนั้นก็จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบและพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม นอกจากการติดตามโครงการต่างๆ แล้ว ยังได้รับทราบปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของกลุ่มจังหวัด ซึ่งยังไม่เป็นระบบระเบียบ แม้จะมีงบประมาณแต่ยังติดขัดเกี่ยวกับอำนาจในการสั่งการ ก็จะได้ชี้แจงให้กับหน่วยงานระดับสูงรับทราบและหาแนวทางในการแก้ไขต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัดคณะที่ 4 ได้ติดตามความคืบหน้าใน 2 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องของการท่องเที่ยวนั้น ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนากลไกการจัดการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดอันดามันสู่มาตรฐานสากล งบประมาณ 31.3 ล้านบาท ประกอบด้วย กิจกรรมการพัฒนาบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการการท่องเที่ยว จำนวน 5 ล้านบาท
กิจกรรมส่งเสริมการตลาดอันดามัน ได้แก่ การจัดโครงการ The Andaman Travel Trade 2011, ท่องเที่ยวอันดามันสุขใจ (โรดโชว์ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง) และ Andaman Explorer จำนวน 21,360,000 บาท และกิจกรรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 4,940,000 บาท
ส่วนของโครงการระบบเตือนภัย เป็นการติดตามความคืบหน้าโครงการศูนย์กู้ภัยทางทะเลกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน งบประมาณ 33,770,000 บาท ประกอบด้วย โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ศูนย์กู้ภัยฯ ได้แก่ เรือตรวจการณ์ขนาดความยาวไม่ต่ำกว่า 25 ฟุต พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 3 ลำ รถยนต์ตรวจการณ์ขับเคลื่อน 4 ล้อ พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 3 คัน เรือยางกู้ภัย จำนวน 3 ลำ และหอสังเกตการณ์ชายฝั่ง พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 3 ชุด งบประมาณ 14 ล้านบาทเศษ กับการก่อสร้างอาคารศูนย์บัญชาการชุดกู้ภัยทางทะเลและสาธารณภัย งบประมาณ 16 ล้านบาทเศษ และโครงการก่อสร้างอาคารหอช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดพังงา
วันนี้(23 พ.ค.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (อาคารใหม่) ผศ.ดร.ประวิตร นิลสุวรรณากุล ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัดคณะที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด พร้อมคณะติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามนโยบายการท่องเที่ยวและระบบเตือนภัย กลุ่มจังหวัดอันดามัน โดยมีนายประเจียด อักษรธรรมกุล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ผศ.ดร.ประวิตร นิลสุวรรณากุล ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัดคณะที่ 4 กล่าวถึงการเดินทางมาติดตามงานในครั้งนี้ ว่า เหตุที่เลือกมาติดตามดูเรื่องการท่องเที่ยวและระบบเตือนภัยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมากในแต่ละปี เรื่องของความปลอดภัยจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการ
ที่ผ่านมา ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมจัดทำโครงการต่างๆ มาตั้งแต่หลังเกิดสึนามิ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชน แต่ปรากฏว่าการดำเนินโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัยยังมีความล่าช้า และไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะติดขัดในเรื่องของขั้นตอนและพื้นที่ในการดำเนินการ
นอกจาก จ.ภูเก็ต แล้ว จะมีการดำเนินการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ของกลุ่มจังหวัดอันดามันด้วย จากนั้นก็จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบและพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม นอกจากการติดตามโครงการต่างๆ แล้ว ยังได้รับทราบปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของกลุ่มจังหวัด ซึ่งยังไม่เป็นระบบระเบียบ แม้จะมีงบประมาณแต่ยังติดขัดเกี่ยวกับอำนาจในการสั่งการ ก็จะได้ชี้แจงให้กับหน่วยงานระดับสูงรับทราบและหาแนวทางในการแก้ไขต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัดคณะที่ 4 ได้ติดตามความคืบหน้าใน 2 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องของการท่องเที่ยวนั้น ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนากลไกการจัดการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดอันดามันสู่มาตรฐานสากล งบประมาณ 31.3 ล้านบาท ประกอบด้วย กิจกรรมการพัฒนาบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการการท่องเที่ยว จำนวน 5 ล้านบาท
กิจกรรมส่งเสริมการตลาดอันดามัน ได้แก่ การจัดโครงการ The Andaman Travel Trade 2011, ท่องเที่ยวอันดามันสุขใจ (โรดโชว์ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง) และ Andaman Explorer จำนวน 21,360,000 บาท และกิจกรรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 4,940,000 บาท
ส่วนของโครงการระบบเตือนภัย เป็นการติดตามความคืบหน้าโครงการศูนย์กู้ภัยทางทะเลกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน งบประมาณ 33,770,000 บาท ประกอบด้วย โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ศูนย์กู้ภัยฯ ได้แก่ เรือตรวจการณ์ขนาดความยาวไม่ต่ำกว่า 25 ฟุต พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 3 ลำ รถยนต์ตรวจการณ์ขับเคลื่อน 4 ล้อ พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 3 คัน เรือยางกู้ภัย จำนวน 3 ลำ และหอสังเกตการณ์ชายฝั่ง พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 3 ชุด งบประมาณ 14 ล้านบาทเศษ กับการก่อสร้างอาคารศูนย์บัญชาการชุดกู้ภัยทางทะเลและสาธารณภัย งบประมาณ 16 ล้านบาทเศษ และโครงการก่อสร้างอาคารหอช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิจังหวัดพังงา