ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รองอธิบดีกรมพลังงาน ลงภูเก็ตติดตามความคืบหน้าระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเชื่อหลังดำเนินการครอบคลุมทั้งระบบภูเก็ตจะเป็นแหล่งผลิตไฟจากพลังงานทดแทนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
วันนี้ (3 พ.ค.) ที่ห้องประชุมกลุ่มงานสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครภูเก็ต นายทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตรวจติดตามแผนการดำเนินการและพัฒนาระบบจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยมี นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีเทศบาลนครภูเก็ต พร้อมด้วย จ.ส.อ.ประชุม สุริยะ นักวิชาการสุขาภิบาล ว.8 เทศบาลนครภูเก็ตร่วมนำเสนอข้อมูลและแนวทางการพัฒนาระบบจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าของเทศบาลนครภูเก็ต
นายทวารัฐ กล่าวว่า การเดินทางมายังจังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้เพื่อติดตามความคืบหน้าแผนการผลิตพลังงานทดแทนจากขยะ ซึ่งจังหวัดภูเก็ตนั้นเคยประสบปัญหาเรื่องขยะล้นเมือง เนื่องจากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีจำนวนมากแต่เตาเผาขยะสามารถรองรับ และกำจัดขยะได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และก่อนหน้านี้ทางกระทรวงพลังงานฯมีแผนรับซื้อกระแสไฟฟ้าในราคาสูงที่ได้จากการผลิตจากพลังงานทดแทนซึ่งทางเทศบาลนครภูเก็ตได้ร่วมดำเนินการ และขณะนี้ทราบว่าเทศบาลนครภุเก็ตมีโครงการสร้างเตาเผาขยะเพิ่มอีก 1ชุดโดยให้เอกชนเข้ามาลงทุนสร้างเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบ ซึ่งสามารถกำจัดขยะได้วันละ 700 ตัน โดยการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 45% ถ้าการดำเนินการเสร็จสิ้นภูเก็ตจะมีระบบผลิตไฟฟ้าจากขยะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
นายทวารัฐ ยังได้กล่าวต่อไปว่า ถึงการนำเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงพลังงาน เพื่อนำมาดำเนินการระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ GASIFICATION โดยใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท ว่า เป็นวิสัยทัศน์ที่ดีในการจัดการขยะฝังกลบมาแปรรูปเป็นพลังงาน เนื่องจากขณะนี้มีบ่อฝังกลบอยู่ 5 บ่อ มีปริมาณขยะประมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งเรื่องนี้คงจะต้องไปศึกษาดูว่าจะสามารรถดำเนินการอย่างไรต่อไป
แต่สิ่งที่อย่างจะสนับสนุน คือ เรื่องของการคัดแยกขยะโดยการจัดตั้งศูนย์กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆและนำขยะแห้งมาอัดเป็นแท่งก่อนที่จะนำเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะทำให้ขยะดังกล่าวจะเป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดีและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เต็มที่
โดย นางสาวสมใจ กล่าวว่า ปัจจุบันขยะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีปริมาณวันละ 570 ตัน เตาเผาขยะสามารถกำจัดได้วันละ 250 ตัน อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการก่อสร้างเตาเผาขยะตัวใหม่ซึ่งเอกชนเป็นผู้ดำเนินการโดยสามารถเผาขยะได้วันละ 700 ตัน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 14 แมกวัตน์ ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้ว 45% ซึ่งการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 55 แต่อย่างไรก็ตามปริมาณขยะของภูเก็ตมีปริมาณเพิ่มขึ้นปีละ 7% และอีก 10 ปี ข้างหน้าปริมาณขยะของภูเก็ตจะเพิ่มเป็น 3 เท่า
เพราะฉะนั้นจะต้องลดปริมาณขยะจาก 7% ให้เหลือ 3% หรือ 5% นอกจากนั้นจังหวัดภูเก็ตยังมีขยะที่อยู่ในระบบฝังกลบอีก 5 กว่า 1 ล้านตัน ซึ่งทางเทศบาลได้ทำการศึกษา และมีแผนที่จะนำขยะดังกล่าวมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งการดำเนินการจัดการขยะของภูเก็ตจะต้องดำเนินการแบบบูรณาการ
วันนี้ (3 พ.ค.) ที่ห้องประชุมกลุ่มงานสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครภูเก็ต นายทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตรวจติดตามแผนการดำเนินการและพัฒนาระบบจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยมี นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีเทศบาลนครภูเก็ต พร้อมด้วย จ.ส.อ.ประชุม สุริยะ นักวิชาการสุขาภิบาล ว.8 เทศบาลนครภูเก็ตร่วมนำเสนอข้อมูลและแนวทางการพัฒนาระบบจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าของเทศบาลนครภูเก็ต
นายทวารัฐ กล่าวว่า การเดินทางมายังจังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้เพื่อติดตามความคืบหน้าแผนการผลิตพลังงานทดแทนจากขยะ ซึ่งจังหวัดภูเก็ตนั้นเคยประสบปัญหาเรื่องขยะล้นเมือง เนื่องจากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีจำนวนมากแต่เตาเผาขยะสามารถรองรับ และกำจัดขยะได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และก่อนหน้านี้ทางกระทรวงพลังงานฯมีแผนรับซื้อกระแสไฟฟ้าในราคาสูงที่ได้จากการผลิตจากพลังงานทดแทนซึ่งทางเทศบาลนครภูเก็ตได้ร่วมดำเนินการ และขณะนี้ทราบว่าเทศบาลนครภุเก็ตมีโครงการสร้างเตาเผาขยะเพิ่มอีก 1ชุดโดยให้เอกชนเข้ามาลงทุนสร้างเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบ ซึ่งสามารถกำจัดขยะได้วันละ 700 ตัน โดยการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 45% ถ้าการดำเนินการเสร็จสิ้นภูเก็ตจะมีระบบผลิตไฟฟ้าจากขยะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
นายทวารัฐ ยังได้กล่าวต่อไปว่า ถึงการนำเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงพลังงาน เพื่อนำมาดำเนินการระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ GASIFICATION โดยใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท ว่า เป็นวิสัยทัศน์ที่ดีในการจัดการขยะฝังกลบมาแปรรูปเป็นพลังงาน เนื่องจากขณะนี้มีบ่อฝังกลบอยู่ 5 บ่อ มีปริมาณขยะประมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งเรื่องนี้คงจะต้องไปศึกษาดูว่าจะสามารรถดำเนินการอย่างไรต่อไป
แต่สิ่งที่อย่างจะสนับสนุน คือ เรื่องของการคัดแยกขยะโดยการจัดตั้งศูนย์กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆและนำขยะแห้งมาอัดเป็นแท่งก่อนที่จะนำเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะทำให้ขยะดังกล่าวจะเป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดีและสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เต็มที่
โดย นางสาวสมใจ กล่าวว่า ปัจจุบันขยะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีปริมาณวันละ 570 ตัน เตาเผาขยะสามารถกำจัดได้วันละ 250 ตัน อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการก่อสร้างเตาเผาขยะตัวใหม่ซึ่งเอกชนเป็นผู้ดำเนินการโดยสามารถเผาขยะได้วันละ 700 ตัน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 14 แมกวัตน์ ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้ว 45% ซึ่งการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 55 แต่อย่างไรก็ตามปริมาณขยะของภูเก็ตมีปริมาณเพิ่มขึ้นปีละ 7% และอีก 10 ปี ข้างหน้าปริมาณขยะของภูเก็ตจะเพิ่มเป็น 3 เท่า
เพราะฉะนั้นจะต้องลดปริมาณขยะจาก 7% ให้เหลือ 3% หรือ 5% นอกจากนั้นจังหวัดภูเก็ตยังมีขยะที่อยู่ในระบบฝังกลบอีก 5 กว่า 1 ล้านตัน ซึ่งทางเทศบาลได้ทำการศึกษา และมีแผนที่จะนำขยะดังกล่าวมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งการดำเนินการจัดการขยะของภูเก็ตจะต้องดำเนินการแบบบูรณาการ