ศูนย์ข่าวภูเก็ต-โครงการรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ตเนื้อหอม นักลงทุนต่างชาติสนใจทยอยขอข้อมูลตลอด บริษัทยักษ์ใหญ่จากจีนส่งสัญญาณลงทุนแน่นอน พบผู้ว่าฯภูเก็ตอีกครั้งมี.ค.นี้ หลังจากขอข้อมูลเบื้องต้นไปแล้ว
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังคณะผู้บริหารบริษัท เอสพีเอส โกลโบล คอร์ปอเรชั่น จำกัด นำโดยดร.สุนทร ภิรมย์ศาสตร์กุล กรรมการผู้จัดการ เข้าพบเพื่อขอคำแนะนำและข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำโครงการรถไฟฟ้ารางเบาของจังหวัดภูเก็ต ว่า จังหวัดภูเก็ตพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกในการสนับสนุนข้อมูลด้านต่างๆของการลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบา
ที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติหลายราย ได้แสดงความสนใจเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบาที่ภูเก็ต แต่ที่ผ่านมาหลังจากนำข้อมูลไปแล้วก็จะเงียบหายไป และจะมีรายใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เริ่มที่จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงประมาณเดือนมีนาคมนี้จะมีนักลงทุนชาวจีนซึ่งเคยเดินทางมาพบ จะนำข้อมูลมาเสนออีกครั้ง ซึ่งก็น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น
นายตรี กล่าวว่า ในอนาคตหลังจากบริษัทที่จะเข้ามาลงทุนมีความชัดเจนในการนำเสนอโครงการแล้ว ทางจังหวัดก็จะมีการนำเสนอรายละเอียดต่อรัฐบาลเพื่อความเห็นชอบ จากนั้นก็จะกลับมาเข้าสู่กระบวนการของการลงทุนว่าจะออกมาในรูปแบบใด เบื้องต้นที่มองไว้จะเป็นลักษณะของการให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน และจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รัฐเหมือนกับโครงการทำเตาเผาขยะตัวใหม่ของเทศบาลนครภูเก็ต แต่จะต้องมาดูมูลค่าการลงทุนด้วยว่าเป็นอย่างไรจะเข้าสู่ พ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ จะมาตัดสินใจกันอีกครั้งหลังจากทุกอย่างลงตัว 100%แล้ว
ด้านดร.สุนทร ภิรมย์ศาสตร์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสพีเอส โกลโบล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เหตุที่สนใจเข้ามาลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาของจังหวัดภูเก็ตนั้น เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ซึ่งหากมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ด้วย
“ในส่วนของบริษัทฯ มีบริษัทที่เป็นพันธมิตรในประเทศจีนซึ่งมีความเชี่ยวชาญและชำนาญเกี่ยวกับรถไฟฟ้ารางเบาที่มีการใช้เทคโนโลยีของจีนและเยอรมัน แต่การที่จะเข้ามาลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาที่ภูเก็ตนั้น เนื่องจากข้อมูลการศึกษาที่มีอยู่ทำมาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งก็คงจะต้องนำมาเป็นข้อมูลประกอบเพื่อที่จะศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของความคุ้มทุน สิ่งแวดล้อมและสังคม โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1-2 เดือน และเมื่อได้ข้อมูลแล้วก็จะกลับมาพบผู้ว่าฯ อีกครั้ง เพราะขณะนี้ทราบเพียงข้อมูลเบื้องต้นยังไม่มีข้อมูลเชิงลึก โดยเฉพาะเรื่องของความคุ้มค่าในด้านการลงทุน” ดร.สุนทร กล่าว
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังคณะผู้บริหารบริษัท เอสพีเอส โกลโบล คอร์ปอเรชั่น จำกัด นำโดยดร.สุนทร ภิรมย์ศาสตร์กุล กรรมการผู้จัดการ เข้าพบเพื่อขอคำแนะนำและข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำโครงการรถไฟฟ้ารางเบาของจังหวัดภูเก็ต ว่า จังหวัดภูเก็ตพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกในการสนับสนุนข้อมูลด้านต่างๆของการลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบา
ที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติหลายราย ได้แสดงความสนใจเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบาที่ภูเก็ต แต่ที่ผ่านมาหลังจากนำข้อมูลไปแล้วก็จะเงียบหายไป และจะมีรายใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เริ่มที่จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงประมาณเดือนมีนาคมนี้จะมีนักลงทุนชาวจีนซึ่งเคยเดินทางมาพบ จะนำข้อมูลมาเสนออีกครั้ง ซึ่งก็น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น
นายตรี กล่าวว่า ในอนาคตหลังจากบริษัทที่จะเข้ามาลงทุนมีความชัดเจนในการนำเสนอโครงการแล้ว ทางจังหวัดก็จะมีการนำเสนอรายละเอียดต่อรัฐบาลเพื่อความเห็นชอบ จากนั้นก็จะกลับมาเข้าสู่กระบวนการของการลงทุนว่าจะออกมาในรูปแบบใด เบื้องต้นที่มองไว้จะเป็นลักษณะของการให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน และจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รัฐเหมือนกับโครงการทำเตาเผาขยะตัวใหม่ของเทศบาลนครภูเก็ต แต่จะต้องมาดูมูลค่าการลงทุนด้วยว่าเป็นอย่างไรจะเข้าสู่ พ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ จะมาตัดสินใจกันอีกครั้งหลังจากทุกอย่างลงตัว 100%แล้ว
ด้านดร.สุนทร ภิรมย์ศาสตร์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสพีเอส โกลโบล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า เหตุที่สนใจเข้ามาลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาของจังหวัดภูเก็ตนั้น เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ซึ่งหากมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ด้วย
“ในส่วนของบริษัทฯ มีบริษัทที่เป็นพันธมิตรในประเทศจีนซึ่งมีความเชี่ยวชาญและชำนาญเกี่ยวกับรถไฟฟ้ารางเบาที่มีการใช้เทคโนโลยีของจีนและเยอรมัน แต่การที่จะเข้ามาลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาที่ภูเก็ตนั้น เนื่องจากข้อมูลการศึกษาที่มีอยู่ทำมาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งก็คงจะต้องนำมาเป็นข้อมูลประกอบเพื่อที่จะศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของความคุ้มทุน สิ่งแวดล้อมและสังคม โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1-2 เดือน และเมื่อได้ข้อมูลแล้วก็จะกลับมาพบผู้ว่าฯ อีกครั้ง เพราะขณะนี้ทราบเพียงข้อมูลเบื้องต้นยังไม่มีข้อมูลเชิงลึก โดยเฉพาะเรื่องของความคุ้มค่าในด้านการลงทุน” ดร.สุนทร กล่าว