ศูนย์ข่าวภูเก็ต -สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมมาตรฐานผัก-ผลไม้ ระดับอาเซียน
วันนี้ (25 เม.ย.) นายมนตรี กฤษณีไพบูลย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติเป็นเป็นประธานเปิดการประชุมมาตรฐานผัก และผลไม้ ครั้งที่ 7 โดยมีผู้ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน จำนวน 10 ประเทศ เข้าร่วมประกอบด้วย ประเทศไทย กัมพูชา มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปินส์ เวียดนาม ลาว สหภาพพม่า สิงค์โปร์ และอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2554 บริเวณโรงแรมโนโวเทล ภูเก็ต รีสอร์ท
เนื่องจากประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีตัวเลขการส่งออกผักและผลไม้กว่า 60,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้เป็นการสร้างมาตรฐานให้กับผัก และผลไม้ และเพื่อปกป้องความเป็นธรรมในเวทีการค้าโลก รวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัย และเสริมศักยภาพทางการสินค้าเกษตรทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคอาเซียน
การประชุมในครั้งนี้เป็นการหารือ 2 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย การพิจารณามาตรฐานพริกแบ่งเป็นพริกเม็ดใหญ่ เช่น พริกชี้ฟ้า และพริกหนุ่ม และพริกเม็ดเล็ก เช่น พริกขี้หนู พริกหวาน ที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องการกำหนดตำหนิของการแบ่งชั้นคุณภาพได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากพริกเป็นผลผลิตที่มีขนาดเล็กมากและมาตรฐานเรื่อง หอมหัวใหญ่ กระเจี๊ยบเขียว และมะม่วงหินมะพานต์ ที่ต้องการหาของยุติในเรื่องการแบ่งชั้นคุณภาพ สองคือการพิจารณามาตรฐานเรื่องใหม่ ที่ฝ่ายเลขานุการของอาเซียนเตรียมร่าง 5 เรื่อง คือ ชมพู่ ละมุด มะเขือยาว และข้าวโพดหวาน
โดยปัจจุบันมาตรฐานผักและผลไม้อาเซียนที่ประกาศใช้แล้วจำนวน 19 มาตรฐานเป็นมาตรฐานผลไม้ 17 มาตรฐาน คือ ทุเรียน สับปะรด มะม่วง เงาะ มะละกอ ส้มเปลือกล่อน มังคุด แตงโม ฝรั่ง ลางสาด ลองกอง กล้วย และมาตรฐานผัก 2 มาตรฐาน คือ กระเทียม และหอมแดง
วันนี้ (25 เม.ย.) นายมนตรี กฤษณีไพบูลย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติเป็นเป็นประธานเปิดการประชุมมาตรฐานผัก และผลไม้ ครั้งที่ 7 โดยมีผู้ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน จำนวน 10 ประเทศ เข้าร่วมประกอบด้วย ประเทศไทย กัมพูชา มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปินส์ เวียดนาม ลาว สหภาพพม่า สิงค์โปร์ และอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2554 บริเวณโรงแรมโนโวเทล ภูเก็ต รีสอร์ท
เนื่องจากประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีตัวเลขการส่งออกผักและผลไม้กว่า 60,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้เป็นการสร้างมาตรฐานให้กับผัก และผลไม้ และเพื่อปกป้องความเป็นธรรมในเวทีการค้าโลก รวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัย และเสริมศักยภาพทางการสินค้าเกษตรทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคอาเซียน
การประชุมในครั้งนี้เป็นการหารือ 2 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย การพิจารณามาตรฐานพริกแบ่งเป็นพริกเม็ดใหญ่ เช่น พริกชี้ฟ้า และพริกหนุ่ม และพริกเม็ดเล็ก เช่น พริกขี้หนู พริกหวาน ที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องการกำหนดตำหนิของการแบ่งชั้นคุณภาพได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากพริกเป็นผลผลิตที่มีขนาดเล็กมากและมาตรฐานเรื่อง หอมหัวใหญ่ กระเจี๊ยบเขียว และมะม่วงหินมะพานต์ ที่ต้องการหาของยุติในเรื่องการแบ่งชั้นคุณภาพ สองคือการพิจารณามาตรฐานเรื่องใหม่ ที่ฝ่ายเลขานุการของอาเซียนเตรียมร่าง 5 เรื่อง คือ ชมพู่ ละมุด มะเขือยาว และข้าวโพดหวาน
โดยปัจจุบันมาตรฐานผักและผลไม้อาเซียนที่ประกาศใช้แล้วจำนวน 19 มาตรฐานเป็นมาตรฐานผลไม้ 17 มาตรฐาน คือ ทุเรียน สับปะรด มะม่วง เงาะ มะละกอ ส้มเปลือกล่อน มังคุด แตงโม ฝรั่ง ลางสาด ลองกอง กล้วย และมาตรฐานผัก 2 มาตรฐาน คือ กระเทียม และหอมแดง