ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สสว.ร่วมกับ มอ.หาดใหญ่ และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดอบรมโครงการ“สร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ SMEs บนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ภาคใต้) 2554 รุ่นที่ 2 เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำแนวคิดด้านภูมิปัญหา ศิลปวัฒนธรรมมาร่วมต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสู่การแข่งขันในตลาด และคัดเลือก 10 ผลิตภัณฑ์-บริการ เข้ารับการพัฒนาจากผู้เชียวชาญในแต่ละสาขาอย่างครบวงจร
วันนี้ (11 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดโครงการ “สร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ SMEs บนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ภาคใต้) 2554 รุ่นที่ 2” ณ โรงแรมซากุระ แกรนด์วิว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ท่ามกลางผู้เข้าร่วมกว่า 170 คน
นายพิศาล ทองเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะตัวแทนของจังหวัดในเขตภาคใต้ กล่าวว่า การจัดอบรมครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ของผู้ประกอบการ ทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์-บริการที่ผสมผสานระหว่างเอกลักษณ์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมร่วมกับเทคโนโลยี และด้านการตลาด ที่พัฒนาแนวคิดและวิธีการสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โดยมีผู้ประกอบการ SMEsใน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (งานฝีมือและหัตถกรรม การท่องเที่ยวสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ธุรกิจอาหาร การแพทย์แผนไทย) กลุ่มสื่อ (ภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์ เพลง การแพร่ภาพและวิทยุกระจายเสียง) กลุ่มงานสร้างสรรค์ตามหน้าที่ (การออกแบบ แฟชั่น สถาปัตยกรรม โฆษณา และซอฟท์แวร์)
สำหรับเวทีให้ความรู้ตลอดทั้งวันนั้น นำโดย ศ.ภิชาน ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ไบโอไฟล์ จำกัด บรรยายเรื่อง “สร้างสรรค์ธุรกิจ-คิดสร้างสรรค์ทะยานสู่การเติบโต” , นายสนธิ์ ชมดี ผู้จัดการเขาค้อทะเลภูรีสอร์ทและร้านไทสบาย บรรยายเรื่อง “ธุรกิจสร้างสรรค์ สำคัญที่วิธีคิด”, การเสวนาเรื่อง “ปรับต่อมความคิด พัฒนาธุรกิจให้สร้างสรรค์” โดยนายเรวัฒน์ ปานทน เจ้าของผลิตภัณฑ์ “เรวัฒน์ ไม้เทพธาโร”, นางสาวกุลธิรัตน์ มีสายญาติ เจ้าของแบรนด์เครื่องประดับ “กาวาง”
ทั้งนี้ ภายหลังจากการอบรมจะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าและบริการสร้างสรรค์เพียง 10 ผลิตภัณฑ์/บริการของภาคใต้ ซึ่งจะได้รับการพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์-บริการ โดยมีพี่เลี้ยงในทุกกระบวนงาน ช่วยจัดทำแผนงานด้วยการระดมแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จนผ่านการพัฒนาทั้งคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม พร้อมต่อยอดเติบโตแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในที่สุด
วันนี้ (11 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดโครงการ “สร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ SMEs บนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ภาคใต้) 2554 รุ่นที่ 2” ณ โรงแรมซากุระ แกรนด์วิว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ท่ามกลางผู้เข้าร่วมกว่า 170 คน
นายพิศาล ทองเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะตัวแทนของจังหวัดในเขตภาคใต้ กล่าวว่า การจัดอบรมครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ของผู้ประกอบการ ทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์-บริการที่ผสมผสานระหว่างเอกลักษณ์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมร่วมกับเทคโนโลยี และด้านการตลาด ที่พัฒนาแนวคิดและวิธีการสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โดยมีผู้ประกอบการ SMEsใน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (งานฝีมือและหัตถกรรม การท่องเที่ยวสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ธุรกิจอาหาร การแพทย์แผนไทย) กลุ่มสื่อ (ภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์ เพลง การแพร่ภาพและวิทยุกระจายเสียง) กลุ่มงานสร้างสรรค์ตามหน้าที่ (การออกแบบ แฟชั่น สถาปัตยกรรม โฆษณา และซอฟท์แวร์)
สำหรับเวทีให้ความรู้ตลอดทั้งวันนั้น นำโดย ศ.ภิชาน ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ไบโอไฟล์ จำกัด บรรยายเรื่อง “สร้างสรรค์ธุรกิจ-คิดสร้างสรรค์ทะยานสู่การเติบโต” , นายสนธิ์ ชมดี ผู้จัดการเขาค้อทะเลภูรีสอร์ทและร้านไทสบาย บรรยายเรื่อง “ธุรกิจสร้างสรรค์ สำคัญที่วิธีคิด”, การเสวนาเรื่อง “ปรับต่อมความคิด พัฒนาธุรกิจให้สร้างสรรค์” โดยนายเรวัฒน์ ปานทน เจ้าของผลิตภัณฑ์ “เรวัฒน์ ไม้เทพธาโร”, นางสาวกุลธิรัตน์ มีสายญาติ เจ้าของแบรนด์เครื่องประดับ “กาวาง”
ทั้งนี้ ภายหลังจากการอบรมจะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าและบริการสร้างสรรค์เพียง 10 ผลิตภัณฑ์/บริการของภาคใต้ ซึ่งจะได้รับการพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์-บริการ โดยมีพี่เลี้ยงในทุกกระบวนงาน ช่วยจัดทำแผนงานด้วยการระดมแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จนผ่านการพัฒนาทั้งคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม พร้อมต่อยอดเติบโตแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในที่สุด