ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - บยส.เผย จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการเงินลงทุนอีกมหาศาล แต่แบงก์เข้มงวดไม่ปล่อยกู้ นักลงทุนต้องการเงินเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ชี้เงิน บสย.36,000 ล้านบาท รอ ครม.อนุมัติ
วันนี้ (10 มี.ค.)นายเอกพร นิโรจน์ ผู้จัดการสำนักงานจังหวัดสงขลา บรรษัท ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ดูแลจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เปิดเผยว่าภาวะทางเศรษฐกิจพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นักลงทุนผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่ ยังมีความต้องการเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก เช่น นักลงทุนยางพาราระดับขนาดกลาง ซึ่งมีทั้งโรงไม้ยางพารา อุตสาหกรรมรับซื้อยางพารา และค้าปลีก ค้าส่ง เป็นต้น
“โดยเฉพาะธุรกิจรับซื้อยางพารา จะต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เนื่องจากยางพาราราคาได้ขยับขึ้นเกือบเท่าตัว จากประมาณ 100 บาท/กก.จนขณะนี้เกือบ 200 บาท/กก.ส่วนค้าปลีก ค้าส่ง ธุรกิจเหล่านี้ต่างงดส่งสินค้าเข้าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้น กลุ่มธุรกิจท้องถิ่น จะต้องเดินทางมาซื้อสินค้าเองและต้องซื้อเป็นล็อตใหญ่ จึงต้องใช้เงินลงทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น บางรายต้องการ 40 ล้านบาท ยังไม่สามารถหาธนาคารได้ โดยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด ต้องการเงินลงทุนหลายร้อยล้านบาท”
นายเอกพร ยังกล่าวอีกว่า นักลงทุนเหล่านี้ ไม่สามารถหาสถาบันการเงินเข้ามาสนับสนุนได้ โดยเฉพาะธนาคารประเภทลูกครึ่งนั้นงดปล่อยธุรกรรมสินเชื่อใน 3 จังหวัดไป ที่มีอยู่ก็เป็นธนาคารของรัฐ เช่น เอสเอ็มอีแบงก์ อิสลามแบงก์ และธนาคารออมสิน เป็นต้น นักลงทุนที่ขาดเงินลงทุนสนับสนุนจึงเสียโอกาสในการแข่งขันการเข้าซื้อสินค้า และส่งออกสินค้าไปที่ธนาคารดูแลอยู่ในขณะนี้จะเป็นลูกค้ารายเก่า ส่วนรายใหม่ยังชะลออยู่
นายเอกพร ยังกล่าวอีกว่า สำหรับ บสย.ในปี 2554 จะใช้งบประมาณลงทุนอีก 36,000 ล้านบาท เพื่อเข้าสนับสนุนนักลงทุนเข้าค้ำประกัน โดยกำลังยื่นเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติเร็วๆ นี้
วันนี้ (10 มี.ค.)นายเอกพร นิโรจน์ ผู้จัดการสำนักงานจังหวัดสงขลา บรรษัท ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ดูแลจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เปิดเผยว่าภาวะทางเศรษฐกิจพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นักลงทุนผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่ ยังมีความต้องการเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก เช่น นักลงทุนยางพาราระดับขนาดกลาง ซึ่งมีทั้งโรงไม้ยางพารา อุตสาหกรรมรับซื้อยางพารา และค้าปลีก ค้าส่ง เป็นต้น
“โดยเฉพาะธุรกิจรับซื้อยางพารา จะต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เนื่องจากยางพาราราคาได้ขยับขึ้นเกือบเท่าตัว จากประมาณ 100 บาท/กก.จนขณะนี้เกือบ 200 บาท/กก.ส่วนค้าปลีก ค้าส่ง ธุรกิจเหล่านี้ต่างงดส่งสินค้าเข้าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้น กลุ่มธุรกิจท้องถิ่น จะต้องเดินทางมาซื้อสินค้าเองและต้องซื้อเป็นล็อตใหญ่ จึงต้องใช้เงินลงทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น บางรายต้องการ 40 ล้านบาท ยังไม่สามารถหาธนาคารได้ โดยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด ต้องการเงินลงทุนหลายร้อยล้านบาท”
นายเอกพร ยังกล่าวอีกว่า นักลงทุนเหล่านี้ ไม่สามารถหาสถาบันการเงินเข้ามาสนับสนุนได้ โดยเฉพาะธนาคารประเภทลูกครึ่งนั้นงดปล่อยธุรกรรมสินเชื่อใน 3 จังหวัดไป ที่มีอยู่ก็เป็นธนาคารของรัฐ เช่น เอสเอ็มอีแบงก์ อิสลามแบงก์ และธนาคารออมสิน เป็นต้น นักลงทุนที่ขาดเงินลงทุนสนับสนุนจึงเสียโอกาสในการแข่งขันการเข้าซื้อสินค้า และส่งออกสินค้าไปที่ธนาคารดูแลอยู่ในขณะนี้จะเป็นลูกค้ารายเก่า ส่วนรายใหม่ยังชะลออยู่
นายเอกพร ยังกล่าวอีกว่า สำหรับ บสย.ในปี 2554 จะใช้งบประมาณลงทุนอีก 36,000 ล้านบาท เพื่อเข้าสนับสนุนนักลงทุนเข้าค้ำประกัน โดยกำลังยื่นเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติเร็วๆ นี้