นครศรีธรรมราช - สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 รณรงค์ปลอดควันพิษจากไฟป่า เตรียมงัดมาตรการคุม “ป่าพรุคอนเคร็ง” ป้องกันนายทุนบุกรุกเผาป่านำพื้นที่มาปลูกปาล์ม
วันนี้ (24 ก.พ.) นายศรัณย์ ใจสะอาด ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 เปิดเผยว่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เตรียมจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า ทั้งนี้ จากกรณีที่ได้เกิดปัญหาไฟป่าในพื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาภัยแล้ง และที่สำคัญส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม
และสาเหตุของการเกิดไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เมื่อเกิดไฟป่าดังกล่าว ทำให้มีหมอกควันเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละออง และควันพิษ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ
นอกจากนี้ ไฟป่ายังมีผลต่อการเกิดสภาวะเรือนกระจกโดยสะสมเพิ่มความหนาแน่นของก๊าซ เรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้นจนเกิดสภาวะโลกร้อนตามมา จะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2553 เห็นชอบและอนุมัติให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี “เป็นวันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า”
ดังนั้น เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชน ได้ตระหนักและเห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า ซึ่งก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก และสภาวะโลกร้อนตามมา เข้ามามีส่วนร่วมในการลดการจุดไฟเผาป่า ช่วยกันคุ้มครองอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในโลก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 จึงได้กำหนด จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554
นายศรัญ ใจสอาด ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย อาทิ ฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองกำลังทหาร อาสาสมัคร ตลอดจน เจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมวางมาตรการรับมือปัญหาไฟป่าที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงหน้าแล้ง โดยเฉพาะที่บริเวณป่าพรุควนเคร็งที่ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ชะอวด อ.หัวไทร อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียรใหญ่ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ที่มีพื้นที่กว่า 350,000 ไร่
ทั้งนี้ จากความร่วมมือจากทุกหน่วยดังกล่าว ได้มีการวาง 3 มาตรการหลักๆ ดังนี้ คือ 1.มาตรการเร่งด่วน คือ ได้มีการจัดวางกำลังเจ้าหน้าที่จำนวน 7 ชุด ในแต่ละชุดมีจำนวน 10 คน ได้ผลัดเปลี่ยนออกปฏิบัติการเกี่ยวกับการลาดตระเวน สกัดการเดินทางเข้า-ออกของประชาชนและนายทุนในกลุ่มที่อาจจะนำไปสู่การเกิดไฟป่า 2.มาตรการระยะกลาง คือ ไว้มีการขุดคันดิน ตลอดจนการขุดบ่อน้ำในจุดที่มักจะเกิดไฟไหม้ป่าที่บริเวณป่าครุควนเคร็ง ทั้งนี้เพื่อให้มีจำนวนแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการควบคุมไฟป่าไม่ให้เกิดลุกลามในวงกว้าง
และ 3.มาตรการระยะยาว ล่าสุด ได้มีการร่างข้อกำหนด EIA เพื่อของบประมาณจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกี่ยวกับการจัดวางระบบน้ำ โดยจะเน้นการจัดระบบน้ำในป่า โดยเฉพาะปริมาณน้ำใต้ดินให้มีความคงที่ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งมาตรการดังกล่าวเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาไฟไหม้ป่าได้เต็มรูปแบบ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 กล่าว
นายศรัญ กล่าวต่อและว่า จากความพร้อมของเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้หายห่วงได้มากกับปัญหาไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็งในปีนี้ แม้ว่าปีที่แล้วจะเกิดไฟไหม้ป่าบริเวณดังกล่าวจำนวน 330 ครั้ง มีความเสียหายกินพื้นที่ไปกว่า 19,000 ไร่ ซึ่งจากมาตรการที่เข้มงวดตลอดจนการออกลาดตระเวนการบุกรุกพื้นที่ป่านสงวน และการสกัดการเข้า-ออกของกลุ่มนายทุนที่มักลักลอบเผาป่าเพื่อเอาพื้นที่ปลูกปาล์มนั้น เชื่อว่าจะสามารถสกัดการเกิดไฟไหม้ป่าบริเวณดังกล่าวได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
แม้ทางเจ้าหน้าที่จะพยายามในการสกัดการเกิดปัญหาไฟไหม้ป่าอย่างเต็มที่แล้วนั้น ก็เชื่อว่าปัญหาไฟไหม้ป่าบริเวณป่าพรุควนเคร็งในปี 54 นั้นคงจะเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย จากการสะสมของใบไม้ที่ถับถมกันเป็นระยะเวลานาน ประกอบการอากาศที่แห้งแล้งอาจจะทำให้เกิดประกายไฟขึ้นได้ ส่วนนี้เองก็มีความเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัญหาในส่วนดังกล่าวอยู่ทางเจ้าหน้าที่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องไม่เกิดไฟป่าเกิน 100 ครั้ง และเสียหายไม่ถึง 1,000 ไร่ จากจำนวนการเกิดเพลิงไหม้ที่ได้ตั้งเป้านั้นจะต้องมีสถิติไม่ถึงจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จในการปฏิบัติการ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 กล่าวในที่สุด
วันนี้ (24 ก.พ.) นายศรัณย์ ใจสะอาด ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 เปิดเผยว่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เตรียมจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า ทั้งนี้ จากกรณีที่ได้เกิดปัญหาไฟป่าในพื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาภัยแล้ง และที่สำคัญส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม
และสาเหตุของการเกิดไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เมื่อเกิดไฟป่าดังกล่าว ทำให้มีหมอกควันเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละออง และควันพิษ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ
นอกจากนี้ ไฟป่ายังมีผลต่อการเกิดสภาวะเรือนกระจกโดยสะสมเพิ่มความหนาแน่นของก๊าซ เรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้นจนเกิดสภาวะโลกร้อนตามมา จะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2553 เห็นชอบและอนุมัติให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี “เป็นวันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า”
ดังนั้น เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชน ได้ตระหนักและเห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า ซึ่งก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก และสภาวะโลกร้อนตามมา เข้ามามีส่วนร่วมในการลดการจุดไฟเผาป่า ช่วยกันคุ้มครองอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในโลก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 จึงได้กำหนด จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554
นายศรัญ ใจสอาด ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย อาทิ ฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองกำลังทหาร อาสาสมัคร ตลอดจน เจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมวางมาตรการรับมือปัญหาไฟป่าที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงหน้าแล้ง โดยเฉพาะที่บริเวณป่าพรุควนเคร็งที่ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ชะอวด อ.หัวไทร อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียรใหญ่ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ที่มีพื้นที่กว่า 350,000 ไร่
ทั้งนี้ จากความร่วมมือจากทุกหน่วยดังกล่าว ได้มีการวาง 3 มาตรการหลักๆ ดังนี้ คือ 1.มาตรการเร่งด่วน คือ ได้มีการจัดวางกำลังเจ้าหน้าที่จำนวน 7 ชุด ในแต่ละชุดมีจำนวน 10 คน ได้ผลัดเปลี่ยนออกปฏิบัติการเกี่ยวกับการลาดตระเวน สกัดการเดินทางเข้า-ออกของประชาชนและนายทุนในกลุ่มที่อาจจะนำไปสู่การเกิดไฟป่า 2.มาตรการระยะกลาง คือ ไว้มีการขุดคันดิน ตลอดจนการขุดบ่อน้ำในจุดที่มักจะเกิดไฟไหม้ป่าที่บริเวณป่าครุควนเคร็ง ทั้งนี้เพื่อให้มีจำนวนแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการควบคุมไฟป่าไม่ให้เกิดลุกลามในวงกว้าง
และ 3.มาตรการระยะยาว ล่าสุด ได้มีการร่างข้อกำหนด EIA เพื่อของบประมาณจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกี่ยวกับการจัดวางระบบน้ำ โดยจะเน้นการจัดระบบน้ำในป่า โดยเฉพาะปริมาณน้ำใต้ดินให้มีความคงที่ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งมาตรการดังกล่าวเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาไฟไหม้ป่าได้เต็มรูปแบบ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 กล่าว
นายศรัญ กล่าวต่อและว่า จากความพร้อมของเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้หายห่วงได้มากกับปัญหาไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็งในปีนี้ แม้ว่าปีที่แล้วจะเกิดไฟไหม้ป่าบริเวณดังกล่าวจำนวน 330 ครั้ง มีความเสียหายกินพื้นที่ไปกว่า 19,000 ไร่ ซึ่งจากมาตรการที่เข้มงวดตลอดจนการออกลาดตระเวนการบุกรุกพื้นที่ป่านสงวน และการสกัดการเข้า-ออกของกลุ่มนายทุนที่มักลักลอบเผาป่าเพื่อเอาพื้นที่ปลูกปาล์มนั้น เชื่อว่าจะสามารถสกัดการเกิดไฟไหม้ป่าบริเวณดังกล่าวได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
แม้ทางเจ้าหน้าที่จะพยายามในการสกัดการเกิดปัญหาไฟไหม้ป่าอย่างเต็มที่แล้วนั้น ก็เชื่อว่าปัญหาไฟไหม้ป่าบริเวณป่าพรุควนเคร็งในปี 54 นั้นคงจะเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย จากการสะสมของใบไม้ที่ถับถมกันเป็นระยะเวลานาน ประกอบการอากาศที่แห้งแล้งอาจจะทำให้เกิดประกายไฟขึ้นได้ ส่วนนี้เองก็มีความเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัญหาในส่วนดังกล่าวอยู่ทางเจ้าหน้าที่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องไม่เกิดไฟป่าเกิน 100 ครั้ง และเสียหายไม่ถึง 1,000 ไร่ จากจำนวนการเกิดเพลิงไหม้ที่ได้ตั้งเป้านั้นจะต้องมีสถิติไม่ถึงจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จในการปฏิบัติการ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 กล่าวในที่สุด