ตรัง - โลมาอิรวดี หนัก 60-70 กิโลกรัม ยาว 2 เมตร ลอยตายอยู่หน้าเกาะหลาวเหลียง ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง คาดติดอวนปลากระเบนจนเกิดอาการสำลักน้ำตาย
วันนี้ (8 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.30 น.นางปุสสะมาส ร่างฮก หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการอนุรักษ์ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จังหวัดตรัง ได้รับแจ้งจากกลุ่มอนุรักษ์โลมาบ้านตะเสะ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ว่า พบซากโลมาตายอยู่ในท้องทะเลอันดามัน บริเวณหน้าเกาะหลาวเหลียง หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งเปลว ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จึงพร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ และชาวประมงพื้นบ้านจำนวนหนึ่ง นำเรือหางยาวเดินทางลงไปตรวจสอบ และลากซากโลมาตัวดังกล่าวมาขึ้นฝั่ง
ทั้งนี้ พบว่า เป็นโลมาชนิดอิรวดี หนักประมาณ 60-70 กิโลกรัม และยาวประมาณ 2 เมตร แต่ยังไม่ทราบเพศ เนื่องจากบริเวณใต้ท้องของโลมา ใกล้กับอวัยวะเพศ มีบาดแผลอย่างรุนแรง จนทำให้ลำไส้ไหลทะลักออกมา เจ้าหน้าที่จึงรีบนำซากโลมาตัวดังกล่าว ใส่ในกล่องบรรจุน้ำแข็งเพื่อรักษาสภาพ แล้วรีบนำส่งไปยังสถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต เพื่อตรวจดีเอ็นเอหาเพศ และตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการตายที่ชัดเจนต่อไป
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นคาดว่า โลมาตัวนี้น่าจะตายลง เพราะไปติดอวนปลากระเบน ซึ่งมีชาวประมงพื้นบ้านนำไปวางไว้ในแนวชายฝั่งจำนวนมาก ทำให้โลมาไม่สามารถขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำตามปกติทุกๆ 5-7 นาทีได้ ทำให้เกิดอาการสำลักน้ำและตายลงไปในที่สุด ถือเป็นโลมาตัวแรกที่ตายลงในทะเลตรัง ปี 2554
ทั้งนี้ บริเวณบ้านตะเสะนั้น ถือเป็นเขตอนุรักษ์โลมาที่สำคัญแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีความสมบูรณ์ของธรรมชาติอย่างมาก ปัจจุบันมีชนิดปากขวด อยู่มากที่สุด ประมาณ 200 ตัว ส่วนชนิดอิรวดี มีอยู่ประมาณ 25 ตัว
วันนี้ (8 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.30 น.นางปุสสะมาส ร่างฮก หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการอนุรักษ์ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จังหวัดตรัง ได้รับแจ้งจากกลุ่มอนุรักษ์โลมาบ้านตะเสะ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ว่า พบซากโลมาตายอยู่ในท้องทะเลอันดามัน บริเวณหน้าเกาะหลาวเหลียง หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งเปลว ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จึงพร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ และชาวประมงพื้นบ้านจำนวนหนึ่ง นำเรือหางยาวเดินทางลงไปตรวจสอบ และลากซากโลมาตัวดังกล่าวมาขึ้นฝั่ง
ทั้งนี้ พบว่า เป็นโลมาชนิดอิรวดี หนักประมาณ 60-70 กิโลกรัม และยาวประมาณ 2 เมตร แต่ยังไม่ทราบเพศ เนื่องจากบริเวณใต้ท้องของโลมา ใกล้กับอวัยวะเพศ มีบาดแผลอย่างรุนแรง จนทำให้ลำไส้ไหลทะลักออกมา เจ้าหน้าที่จึงรีบนำซากโลมาตัวดังกล่าว ใส่ในกล่องบรรจุน้ำแข็งเพื่อรักษาสภาพ แล้วรีบนำส่งไปยังสถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต เพื่อตรวจดีเอ็นเอหาเพศ และตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการตายที่ชัดเจนต่อไป
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นคาดว่า โลมาตัวนี้น่าจะตายลง เพราะไปติดอวนปลากระเบน ซึ่งมีชาวประมงพื้นบ้านนำไปวางไว้ในแนวชายฝั่งจำนวนมาก ทำให้โลมาไม่สามารถขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำตามปกติทุกๆ 5-7 นาทีได้ ทำให้เกิดอาการสำลักน้ำและตายลงไปในที่สุด ถือเป็นโลมาตัวแรกที่ตายลงในทะเลตรัง ปี 2554
ทั้งนี้ บริเวณบ้านตะเสะนั้น ถือเป็นเขตอนุรักษ์โลมาที่สำคัญแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีความสมบูรณ์ของธรรมชาติอย่างมาก ปัจจุบันมีชนิดปากขวด อยู่มากที่สุด ประมาณ 200 ตัว ส่วนชนิดอิรวดี มีอยู่ประมาณ 25 ตัว