ตรัง - กรมประมง ออกประกาศห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ในบางส่วนของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน รวมเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และให้สัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวเพื่อการเจริญเติบโต
วันนี้ (21 ก.พ.) นางสาวอรุณี มานะกล้า นักวิชาการประมง 7 รักษาราชการแทนประมงจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ตามที่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศเรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก (ฤดูปิดอ่าว) ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายนของทุกปี รวมเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นมา
ซึ่งจากผลการศึกษาทางวิชาการของกรมประมง ได้ติดตามศึกษาชีวประวัติของสัตว์น้ำบางชนิดปรากฏชัดว่า บริเวณทะเลอันดามันในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง เป็นแหล่งซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดวางไข่ และอาศัยเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยเฉพาะสัตว์น้ำประเภทปลาทูซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่า และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และให้สัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวเพื่อการเจริญเติบโต มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตลอดไป
ทั้งนี้ เว้นแต่ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก เฉพาะในเวลากลางวัน ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เครื่องมืออวนลากคานถ่างที่ใช้กับเรือกล (เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเข้มีคานถ่าง หรืออวนลากแคระ) ที่ใช้ประกอบกับเรือกล ซึ่งใช้เชือกเส้นใยประดิษฐ์เป็นสายลากอวน เฉพาะในเวลากลางคืน ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น และเครื่องมืออวนโป๊ะ โดยให้ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ ตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490
วันนี้ (21 ก.พ.) นางสาวอรุณี มานะกล้า นักวิชาการประมง 7 รักษาราชการแทนประมงจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ตามที่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศเรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูก (ฤดูปิดอ่าว) ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายนของทุกปี รวมเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นมา
ซึ่งจากผลการศึกษาทางวิชาการของกรมประมง ได้ติดตามศึกษาชีวประวัติของสัตว์น้ำบางชนิดปรากฏชัดว่า บริเวณทะเลอันดามันในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง เป็นแหล่งซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดวางไข่ และอาศัยเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยเฉพาะสัตว์น้ำประเภทปลาทูซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่า และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และให้สัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวเพื่อการเจริญเติบโต มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตลอดไป
ทั้งนี้ เว้นแต่ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก เฉพาะในเวลากลางวัน ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เครื่องมืออวนลากคานถ่างที่ใช้กับเรือกล (เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเข้มีคานถ่าง หรืออวนลากแคระ) ที่ใช้ประกอบกับเรือกล ซึ่งใช้เชือกเส้นใยประดิษฐ์เป็นสายลากอวน เฉพาะในเวลากลางคืน ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น และเครื่องมืออวนโป๊ะ โดยให้ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ ตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490