ศูนย์ข่าวภูเก็ต- จังหวัดภูเก็ตเร่งทำแผนบริหารจัดการน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการน้ำในช่วงหน้าแล้งปีนี้ โดยที่เขื่อนบางวาด ขณะนี้เหลือน้ำปริมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร หากฝนแล้งยาว จะมีน้ำเหลือใช้ได้ประมาณ 100 วันเท่านั้น
นายธีระยุทธ์ เอี่ยมตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตฝนทิ้งช่วงมานาน ส่งผลปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำในจังหวัดภูเก็ตหลายแห่งมีปริมานน้ำลดลง โดยที่เขื่อนบางวาด อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคในจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้มีน้ำเหลือเพียง 5300,000 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 73 ของปริมาณความจุอ่าง
ฝ่ายบริหารจัดการน้ำ โดยโครงการชลประทานภูเก็ต ระบุว่า ปริมาณน้ำดังกล่าว หากไม่มีฝนตกลงมาอีก จะมีน้ำใช้สำหรับส่งไปผลิตน้ำประปาของประปาภูมิภาคและประปาเทศบาลนครภูเก็ตได้อีก 100 วันหรือ ใช้ได้จนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม เท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยแล้วที่จะเกิดขึ้น และต้องหาน้ำดิบมาผลิตเป็นน้ำประปาเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำในภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ
เช่น เขื่อนบางวาด เขื่อนบางเหนียวดำ ขุมเหมืองเทศบาลนครภูเก็ต และขุมเหมืองเอกชน ที่นำมาใช้ได้รวมปริมาณ 46 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่ในปี 2553 ความต้องการใช้น้ำ มีปริมาณ 51 ล้านลูกบาศก์เมตรโดยเป็นการนำไปผลิตน้ำประปา วันละ 3.9 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อเดือนหรือ 47 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แยกเป็นประปาเทศบาลนครภูเก็ต 8 แสนลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ประปาภูมิภาค 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อเดือน และประปาท้องถิ่น 2.3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ขณะที่นายอิสระ อนุกูล หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ โครงการชลประทานภูเก็ต กล่าวว่า ปริมาณน้ำฝนที่ตกในเดือน พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม 2552 ส่งผลให้เขื่อนบางวาดเก็บกักน้ำได้มาก ส่วนปีนี้เขื่อนบางวาดจะมีน้ำจ่ายสำหรับผลิตประปาทั้ง 2 แห่งเพียงพอถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะตรงกับช่วงหน้าฝน
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงติดต่อกัน 2 ปี คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในเขื่อนบางวาดแน่นอน ซึ่งประเมินว่า สภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นในปี 2557 กับ 2558 อาจจะเกิดภาวะแล้งต่อเนื่องขึ้นได้ นอกจากนี้คาดการณ์ว่า ความต้องการน้ำใช้ในจังหวัดภูเก็ตจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี คาดว่าในปี 2580 จะมีความต้องการน้ำทั้งปี 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่แหล่งน้ำสำหรับกักเก็บขยายตัวไม่ทัน ผลิตได้ปีละ 4.7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
อย่างไรก็ตาม ในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มเติมของจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้เตรียมแผนพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง 4 โครงการ คือ สร้างอ่างเก็บน้ำคลองกระทะ ความจุ 5.7 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำคลองยนต์ ความจุ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร พัฒนาระบบแก้มลิงเติมน้ำในอ่างบางเหนียวดำ เฉลี่ย 6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และเพิ่มขนาดความจุอ่างบางวาดให้ได้อีก 3.3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เพื่อให้ได้ความจุแหล่งน้ำรวมทั้งพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็น 45 ล้านลูกบาศก์เมตรจากเดิมที่มีขนาด 28 ล้านลูกบาศก์เมตรเพื่อรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวและความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น
ด้านนายสายัณห์ วารีอรุณโรจน์ หัวหน้าสำนักงานการประปาภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำนักงานประปาได้มีการสำรวจขุมน้ำเอกชน มาต่อเนื่องหากพบแหล่งน้ำที่มีศักยภาพพอที่จะนำมาผลิตประปาได้ก็จะติดต่อทำสัญญาซื้อขายน้ำ พร้อมใช้งบลงทุนประมาณ 50 ล้านบาทในการวางท่อนำน้ำมาผลิตประปาทันที
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าต้นทุนน้ำดิบในจังหวัดภูเก็ตราคาสูงกว่าพื้นที่อื่นๆในประเทศ และขณะนี้ทราบว่าเอกชนบางรายได้เริ่มลงทุนขุดลอกขุมน้ำ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการขายน้ำ เนื่องจากในอนาคตความต้องการน้ำจะขยายตัวมากขึ้น
ส่วนแนวทางการนำน้ำจากเขื่อนรัชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาใช้ในพื้นที่ท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน คณะรัฐมนตรีมอบหมายมอบหมายให้ ประปาภูมิภาคศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่า โดยทำเรื่องเสนอต่อสภาพัฒน์ ภายในเดือนนี้ ในแผนการศึกษาเบื้องต้น ทราบว่ามีการเดินท่อมายังจังหวัดพังงา เพื่อเป็นแหล่งพักน้ำและผลิตจ่ายไปยังจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ ในแผนดังกล่าวจะใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท
นายธีระยุทธ์ เอี่ยมตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตฝนทิ้งช่วงมานาน ส่งผลปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำในจังหวัดภูเก็ตหลายแห่งมีปริมานน้ำลดลง โดยที่เขื่อนบางวาด อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคในจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้มีน้ำเหลือเพียง 5300,000 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 73 ของปริมาณความจุอ่าง
ฝ่ายบริหารจัดการน้ำ โดยโครงการชลประทานภูเก็ต ระบุว่า ปริมาณน้ำดังกล่าว หากไม่มีฝนตกลงมาอีก จะมีน้ำใช้สำหรับส่งไปผลิตน้ำประปาของประปาภูมิภาคและประปาเทศบาลนครภูเก็ตได้อีก 100 วันหรือ ใช้ได้จนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม เท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยแล้วที่จะเกิดขึ้น และต้องหาน้ำดิบมาผลิตเป็นน้ำประปาเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำในภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ
เช่น เขื่อนบางวาด เขื่อนบางเหนียวดำ ขุมเหมืองเทศบาลนครภูเก็ต และขุมเหมืองเอกชน ที่นำมาใช้ได้รวมปริมาณ 46 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่ในปี 2553 ความต้องการใช้น้ำ มีปริมาณ 51 ล้านลูกบาศก์เมตรโดยเป็นการนำไปผลิตน้ำประปา วันละ 3.9 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อเดือนหรือ 47 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แยกเป็นประปาเทศบาลนครภูเก็ต 8 แสนลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ประปาภูมิภาค 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อเดือน และประปาท้องถิ่น 2.3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ขณะที่นายอิสระ อนุกูล หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ โครงการชลประทานภูเก็ต กล่าวว่า ปริมาณน้ำฝนที่ตกในเดือน พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม 2552 ส่งผลให้เขื่อนบางวาดเก็บกักน้ำได้มาก ส่วนปีนี้เขื่อนบางวาดจะมีน้ำจ่ายสำหรับผลิตประปาทั้ง 2 แห่งเพียงพอถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะตรงกับช่วงหน้าฝน
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงติดต่อกัน 2 ปี คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในเขื่อนบางวาดแน่นอน ซึ่งประเมินว่า สภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นในปี 2557 กับ 2558 อาจจะเกิดภาวะแล้งต่อเนื่องขึ้นได้ นอกจากนี้คาดการณ์ว่า ความต้องการน้ำใช้ในจังหวัดภูเก็ตจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี คาดว่าในปี 2580 จะมีความต้องการน้ำทั้งปี 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่แหล่งน้ำสำหรับกักเก็บขยายตัวไม่ทัน ผลิตได้ปีละ 4.7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
อย่างไรก็ตาม ในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มเติมของจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้เตรียมแผนพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง 4 โครงการ คือ สร้างอ่างเก็บน้ำคลองกระทะ ความจุ 5.7 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำคลองยนต์ ความจุ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร พัฒนาระบบแก้มลิงเติมน้ำในอ่างบางเหนียวดำ เฉลี่ย 6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และเพิ่มขนาดความจุอ่างบางวาดให้ได้อีก 3.3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เพื่อให้ได้ความจุแหล่งน้ำรวมทั้งพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็น 45 ล้านลูกบาศก์เมตรจากเดิมที่มีขนาด 28 ล้านลูกบาศก์เมตรเพื่อรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวและความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น
ด้านนายสายัณห์ วารีอรุณโรจน์ หัวหน้าสำนักงานการประปาภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำนักงานประปาได้มีการสำรวจขุมน้ำเอกชน มาต่อเนื่องหากพบแหล่งน้ำที่มีศักยภาพพอที่จะนำมาผลิตประปาได้ก็จะติดต่อทำสัญญาซื้อขายน้ำ พร้อมใช้งบลงทุนประมาณ 50 ล้านบาทในการวางท่อนำน้ำมาผลิตประปาทันที
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าต้นทุนน้ำดิบในจังหวัดภูเก็ตราคาสูงกว่าพื้นที่อื่นๆในประเทศ และขณะนี้ทราบว่าเอกชนบางรายได้เริ่มลงทุนขุดลอกขุมน้ำ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการขายน้ำ เนื่องจากในอนาคตความต้องการน้ำจะขยายตัวมากขึ้น
ส่วนแนวทางการนำน้ำจากเขื่อนรัชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาใช้ในพื้นที่ท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน คณะรัฐมนตรีมอบหมายมอบหมายให้ ประปาภูมิภาคศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่า โดยทำเรื่องเสนอต่อสภาพัฒน์ ภายในเดือนนี้ ในแผนการศึกษาเบื้องต้น ทราบว่ามีการเดินท่อมายังจังหวัดพังงา เพื่อเป็นแหล่งพักน้ำและผลิตจ่ายไปยังจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ ในแผนดังกล่าวจะใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท