สตูล – อ.ท่าแพ จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอำเภอท่าแพ สนองนโยบายกระทรวงมหาดไทย ด้านนายอำเภอชี้ จนท.พร้อมรับเรื่องราวร้องทุกข์ให้กับประชาชนหรือลูกหนี้นอกระบบ และมีหน้าที่สอดส่องเฝ้าระวังดูแลพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ทุจริต
นายรัชฐพนธ์ ณ อุบล นายอำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เปิดเผยว่า ทางอำเภอท่าแพได้มีคำสั่งอำเภอท่าแพที่ 5/2553 ลงวันที่ 12 ม.ค 2553 ให้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอำเภอท่าแพ ณ ที่ว่าการอำเภอท่าแพ ย่านถ.สายบ้านฉลุง-ละงู หมู่ 2 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ ทั้งนี้การตั้งศูนย์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ให้เป็นไปตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย และมีความก้าวหน้ามีประสิทธิภาพและเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดความมั่นใจของนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
รวมทั้ง เพื่อต้องการสร้างความไม่เข้าใจความไม่รู้ให้ประชาชนในพื้นที่ 31 หมู่บ้านกับ 4 ตำบลของอำเภอท่าแพได้รู้ถึงโครงการกันอย่างแจ่มแจ้ง นอกจากนั้น เพื่อให้นโยบายการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมานั้น ให้เกิดความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบูรณาการการดำเนินงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมสอดคล้องตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 516/2552 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2552
ทั้งนี้ มีนายอำเภอท่าแพเป็นประธานศูนย์ฯ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง เป็นรองประธานฯ และมีผู้กำกับการตำรวจภูธรท่าแพ, พัฒนาการอำเภอท่าแพ, สรรพกรพื้นที่อำเภอท่าแพ, ท้องถิ่นอำเภอท่าแพ, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอท่าแพ, ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาสตูล, ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาสตูล, ปลัดอำเภอท่าแพทุกคน, นายวิกรม ฮะยีตาเหยบ ผู้แทนภาคประชาชน, เป็นกรรมการ และนางอมรรัตน์ พิพัฒน์สุนทร กรรมการเลขานุการ นายนรินทร์ ไชยศักดิ์ เจ้าหน้าที่ปกครอง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการให้การสนับสนุนการให้เกษตรกรมาลงทะเบียนหนี้นอกระบบ และมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีอำนาจในการดำเนินงานตรวจสอบรายละเอียดลูกหนี้นอกระบบฯ รวมไปจนถึงเพื่อทำหน้าที่เจรจาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้หรือประสานกับคณะกรรมการหมู่บ้านทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอม จัดทำสัญญายินยอมกันไว้
นอกจากนั้น มีหน้าที่จัดตั้งคณะทำงานเจรจาหนี้การไกล่เกลี่ยประนีประนอมให้สัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมเดือนละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนลูกหนี้ในพื้นที่อำเภอท่าแพ ตลอดจนชี้แนะนำให้ลูกหนี้เข้าสู่ระบบการลงทะเบียนเพื่อเจรจาหนี
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีอำนาจหน้าที่ในการสร้างชี้ช่องทางในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ให้กับประชาชนหรือลูกหนี้นอกระบบ และมีหน้าที่สอดส่องเฝ้าระวังดูแลพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าค่ายดำเนินงานในเรื่องนี้คล้ายกับผู้มีอิทธิพล ซึ่งหากพบพฤติกรรมดังกล่าวคณะกรรมการฯมีอำนาจที่จะต้องดำเนินงานตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดไปจนถึงอำนาจในการรวบรวมผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรค์นำเข้าไปในศูนย์ฯ เพื่อแก้ปัญหาพร้อมรายงานให้ทางจังหวัดสตูลรับทราบอีกด้วย
นายรัชฐพนธ์ ณ อุบล นายอำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เปิดเผยว่า ทางอำเภอท่าแพได้มีคำสั่งอำเภอท่าแพที่ 5/2553 ลงวันที่ 12 ม.ค 2553 ให้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอำเภอท่าแพ ณ ที่ว่าการอำเภอท่าแพ ย่านถ.สายบ้านฉลุง-ละงู หมู่ 2 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ ทั้งนี้การตั้งศูนย์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ให้เป็นไปตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย และมีความก้าวหน้ามีประสิทธิภาพและเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดความมั่นใจของนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
รวมทั้ง เพื่อต้องการสร้างความไม่เข้าใจความไม่รู้ให้ประชาชนในพื้นที่ 31 หมู่บ้านกับ 4 ตำบลของอำเภอท่าแพได้รู้ถึงโครงการกันอย่างแจ่มแจ้ง นอกจากนั้น เพื่อให้นโยบายการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมานั้น ให้เกิดความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบูรณาการการดำเนินงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมสอดคล้องตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 516/2552 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2552
ทั้งนี้ มีนายอำเภอท่าแพเป็นประธานศูนย์ฯ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง เป็นรองประธานฯ และมีผู้กำกับการตำรวจภูธรท่าแพ, พัฒนาการอำเภอท่าแพ, สรรพกรพื้นที่อำเภอท่าแพ, ท้องถิ่นอำเภอท่าแพ, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอท่าแพ, ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาสตูล, ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาสตูล, ปลัดอำเภอท่าแพทุกคน, นายวิกรม ฮะยีตาเหยบ ผู้แทนภาคประชาชน, เป็นกรรมการ และนางอมรรัตน์ พิพัฒน์สุนทร กรรมการเลขานุการ นายนรินทร์ ไชยศักดิ์ เจ้าหน้าที่ปกครอง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการให้การสนับสนุนการให้เกษตรกรมาลงทะเบียนหนี้นอกระบบ และมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีอำนาจในการดำเนินงานตรวจสอบรายละเอียดลูกหนี้นอกระบบฯ รวมไปจนถึงเพื่อทำหน้าที่เจรจาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้หรือประสานกับคณะกรรมการหมู่บ้านทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอม จัดทำสัญญายินยอมกันไว้
นอกจากนั้น มีหน้าที่จัดตั้งคณะทำงานเจรจาหนี้การไกล่เกลี่ยประนีประนอมให้สัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมเดือนละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนลูกหนี้ในพื้นที่อำเภอท่าแพ ตลอดจนชี้แนะนำให้ลูกหนี้เข้าสู่ระบบการลงทะเบียนเพื่อเจรจาหนี
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีอำนาจหน้าที่ในการสร้างชี้ช่องทางในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ให้กับประชาชนหรือลูกหนี้นอกระบบ และมีหน้าที่สอดส่องเฝ้าระวังดูแลพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าค่ายดำเนินงานในเรื่องนี้คล้ายกับผู้มีอิทธิพล ซึ่งหากพบพฤติกรรมดังกล่าวคณะกรรมการฯมีอำนาจที่จะต้องดำเนินงานตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดไปจนถึงอำนาจในการรวบรวมผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรค์นำเข้าไปในศูนย์ฯ เพื่อแก้ปัญหาพร้อมรายงานให้ทางจังหวัดสตูลรับทราบอีกด้วย