ASTVผู้จัดการรายวัน - เอสเอ็มอีแบงก์เตรียมวงเงิน 500 ล้านรับรีไฟแนนซ์ลูกหนี้นอกระบบหลังได้รับโอนจากธ.ก.ส.-ออมสิน อุ้มสุดตัวคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเพดานที่กระทรวงการคลังกำหนด 7-9% ชูผ่อนนาน 8 ปี
แหล่งข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในส่วนของเอสเอ็มอีแบงก์ ซึ่งจะดูแลในส่วนของลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยนั้น มองว่าคงมีลูกหนี้ส่วนนี้มาลงทะเบียนไม่มากนัก
โดยน่าจะได้ตัวเลขที่ชัดเจนจากธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)เดือนกุมภาพันธ์ 2553 หลังจากมีการคัดกรองและแยกแยะประเภทลูกหนี้และจัดส่งมาให้ธนาคาร โดยเบื้องต้นเอสเอ็มอีแบงก์ได้เตรียมวงเงินไว้ช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบไว้ปีหน้า 500 ล้านบาท ซึ่งรวมอยู่ในวงเงินเป้าหมายของการขยายสินเชื่อทั้งปี 1.2 หมื่นล้านบาทแล้ว
"การช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ธนาคารจึงนำมากำหนดเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินงานในปีหน้า แต่มองว่าการปล่อยกู้รีไฟแนนซ์หนี้ส่วนนี้คงมีไม่มากนักเพราะส่วนใหญ่น่าจะเป็นลูกหนี้ที่อยู่ในความดูแลของธนาคารออมสินและธ.ก.ส.มากกว่า" แหลงข่าว ระบุ
สำหรับหลักเกณณ์การช่วยเหลือลูกหนี้เอสเอ็มอีนั้นจะยึดหลักเกณฑ์เดียวกันกับแบงก์ออมสินและธ.ก.ส. แต่ของเอสเอ็มอีแบงก์จะช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยการคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเพดานที่กระทรวงการคลังกำหนด 12% โดยหากกู้ไม่เกิน 1 แสนบาทจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเอ็มแอลอาร์ของธนาคารหรือปัจจุบันอยู่ที่ 7% ต่อปี หากกู้ตั้งแต่ 1 แสน - 2 แสนบาท จะคิดอัตราดอกเบี้ย เอ็มแอลอาร์+2% หรืออยู่ที่ 9% ต่อปีเท่านั้นซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยของธนาคารประชาชนด้วยซ้ำ โดยเปิดช่องให้ผู้ประกอบการสามารถผ่อนได้นานสุด 8 ปี และสามารถเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระได้ 3 ปีหรือ 5 ปี ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับวงเงินด้วย
นอกจากนั้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมดำเนินมาตรการดังกล่าวตั้งแต่ต้นปีหน้าจะเริ่มออกติวเข้มผู้จัดการสาขาเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันและพร้อมรับการโอนลูกหนี้นอกระบบมาอยู่ในความดูแล ซึ่งรวมไปถึงการจัดอบรมให้คำปรึกษาในการดำเนินธุรกิจด้วย เนื่องจากมองว่าลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องกู้ยืมเงินนอกระบบนั้นอาจเป็นเพราะดำเนินธุรกิจไม่เป็น
แหล่งข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในส่วนของเอสเอ็มอีแบงก์ ซึ่งจะดูแลในส่วนของลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยนั้น มองว่าคงมีลูกหนี้ส่วนนี้มาลงทะเบียนไม่มากนัก
โดยน่าจะได้ตัวเลขที่ชัดเจนจากธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)เดือนกุมภาพันธ์ 2553 หลังจากมีการคัดกรองและแยกแยะประเภทลูกหนี้และจัดส่งมาให้ธนาคาร โดยเบื้องต้นเอสเอ็มอีแบงก์ได้เตรียมวงเงินไว้ช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบไว้ปีหน้า 500 ล้านบาท ซึ่งรวมอยู่ในวงเงินเป้าหมายของการขยายสินเชื่อทั้งปี 1.2 หมื่นล้านบาทแล้ว
"การช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ธนาคารจึงนำมากำหนดเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินงานในปีหน้า แต่มองว่าการปล่อยกู้รีไฟแนนซ์หนี้ส่วนนี้คงมีไม่มากนักเพราะส่วนใหญ่น่าจะเป็นลูกหนี้ที่อยู่ในความดูแลของธนาคารออมสินและธ.ก.ส.มากกว่า" แหลงข่าว ระบุ
สำหรับหลักเกณณ์การช่วยเหลือลูกหนี้เอสเอ็มอีนั้นจะยึดหลักเกณฑ์เดียวกันกับแบงก์ออมสินและธ.ก.ส. แต่ของเอสเอ็มอีแบงก์จะช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยการคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเพดานที่กระทรวงการคลังกำหนด 12% โดยหากกู้ไม่เกิน 1 แสนบาทจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเอ็มแอลอาร์ของธนาคารหรือปัจจุบันอยู่ที่ 7% ต่อปี หากกู้ตั้งแต่ 1 แสน - 2 แสนบาท จะคิดอัตราดอกเบี้ย เอ็มแอลอาร์+2% หรืออยู่ที่ 9% ต่อปีเท่านั้นซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยของธนาคารประชาชนด้วยซ้ำ โดยเปิดช่องให้ผู้ประกอบการสามารถผ่อนได้นานสุด 8 ปี และสามารถเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระได้ 3 ปีหรือ 5 ปี ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับวงเงินด้วย
นอกจากนั้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมดำเนินมาตรการดังกล่าวตั้งแต่ต้นปีหน้าจะเริ่มออกติวเข้มผู้จัดการสาขาเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันและพร้อมรับการโอนลูกหนี้นอกระบบมาอยู่ในความดูแล ซึ่งรวมไปถึงการจัดอบรมให้คำปรึกษาในการดำเนินธุรกิจด้วย เนื่องจากมองว่าลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องกู้ยืมเงินนอกระบบนั้นอาจเป็นเพราะดำเนินธุรกิจไม่เป็น