กระบี่ - นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ เตือนเกษตรกรต้องรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด มีความพอเพียง หลังราคาพุ่งสูง หวั่นใช้จ่ายเกินตัว
นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ในช่วงประมาณ 1-2 เดือน ที่ผ่านมา ราคายางพาราได้ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการติดตามราคายางที่ตลาดกลางยางพาราอำเภอหาดใหญ่ ราคายางรมควันชั้น 3 อยู่ที่กิโลกรับละ 98 บาท ในส่วนของยางแผ่นดิบอยู่ที่ 94 บาท
สำหรับราคายางในส่วนของท้องถิ่นที่เกษตรกรขายได้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 92-93 บาท ซึ่งคิดว่าราคายางพาราในขณะเพิ่มสูงขึ้นมาตั้งแต่เดือนธันวาคม จากราคากิโลกรัมละ 53 บาท ขยับเรื่อยมาจนแตะ 90 กว่าบาท ซึ่งเป็นราคาที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงมากๆเลยทีเดียว เป็นที่น่าพอใจของเกษตรชาวสวนยาง
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหลักก็คือ คำสั่งซื้อยางจากประเทศจีน จากประเทศทางยุโรป จากประเทศอินเดีย และประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาไปได้เริ่ม ฟื้นตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป หรือในอเมริกาก็ดี และในขณะเดียวกันความต้องการการใช้ยางของประเทศจีน เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เช่นในปี 2552 จีนผลิตรถยนต์ ถึง 12 ล้านคัน ทำให้การใช้วัตถุดิบในการผลิตยางล้อรถมีความต้องการสูงขึ้นตามไปด้วย
ในขณะเดียวกัน ประเทศจีนมีความต้องการที่จะผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นอีกใน 3 ปีข้างหน้า ถึง 15 ล้านคัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ชักจูงที่ทำให้ความต้องการใช้ยาง เพิ่มขึ้นและก็ทำให้ราคายางสูงขึ้น
นายบุญส่งกล่าวอีกว่า สิ่งที่อยากจะฝากเตือน เกษตรกรชาวสวนยาง ถึงแม้ว่าราคายางจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการ ทุกครั้งที่ราคายางผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้น เกษตรกรก็ยิ้มกันทั่วหน้ามีความสุข แต่สิ่งที่สำคัญการจับจ่ายใช้สอย ของเกษตรกรต้องอยู่ในความพอดี ในการจัดสรรรายได้ที่ได้มาจากผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นงบประมาณของเกษตรกรให้กลับสู่สวนของเกษตรกร ในเรื่องของการใช้ปุ๋ยให้ถูกต้อง การดูแลรักษาสวนยางพารา แทนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น
อีกส่วนหนึ่งที่เป็นห่วงมากก็คือ การใช้จ่ายที่เกินตัว ขอให้เกษตรกรใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง มีความพอเพียง รู้จักเก็บเงินที่ได้จากการขายผลผลิตไว้เพื่ออนาคต และให้ยึดหลักแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพราะราคาพืชผลทางการเกษตรเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดโลก เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรต้องเจอกับภาวะวิกฤติมานับครั้งไม่ถ้วน จึงควรจะนำมาเป็นบทเรียน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหากเจอสภาวะราคาตกต่ำ เกษตรกรก็ยังมีเงินเก็บ
นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ในช่วงประมาณ 1-2 เดือน ที่ผ่านมา ราคายางพาราได้ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการติดตามราคายางที่ตลาดกลางยางพาราอำเภอหาดใหญ่ ราคายางรมควันชั้น 3 อยู่ที่กิโลกรับละ 98 บาท ในส่วนของยางแผ่นดิบอยู่ที่ 94 บาท
สำหรับราคายางในส่วนของท้องถิ่นที่เกษตรกรขายได้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 92-93 บาท ซึ่งคิดว่าราคายางพาราในขณะเพิ่มสูงขึ้นมาตั้งแต่เดือนธันวาคม จากราคากิโลกรัมละ 53 บาท ขยับเรื่อยมาจนแตะ 90 กว่าบาท ซึ่งเป็นราคาที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงมากๆเลยทีเดียว เป็นที่น่าพอใจของเกษตรชาวสวนยาง
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหลักก็คือ คำสั่งซื้อยางจากประเทศจีน จากประเทศทางยุโรป จากประเทศอินเดีย และประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาไปได้เริ่ม ฟื้นตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป หรือในอเมริกาก็ดี และในขณะเดียวกันความต้องการการใช้ยางของประเทศจีน เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เช่นในปี 2552 จีนผลิตรถยนต์ ถึง 12 ล้านคัน ทำให้การใช้วัตถุดิบในการผลิตยางล้อรถมีความต้องการสูงขึ้นตามไปด้วย
ในขณะเดียวกัน ประเทศจีนมีความต้องการที่จะผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นอีกใน 3 ปีข้างหน้า ถึง 15 ล้านคัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ชักจูงที่ทำให้ความต้องการใช้ยาง เพิ่มขึ้นและก็ทำให้ราคายางสูงขึ้น
นายบุญส่งกล่าวอีกว่า สิ่งที่อยากจะฝากเตือน เกษตรกรชาวสวนยาง ถึงแม้ว่าราคายางจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการ ทุกครั้งที่ราคายางผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้น เกษตรกรก็ยิ้มกันทั่วหน้ามีความสุข แต่สิ่งที่สำคัญการจับจ่ายใช้สอย ของเกษตรกรต้องอยู่ในความพอดี ในการจัดสรรรายได้ที่ได้มาจากผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นงบประมาณของเกษตรกรให้กลับสู่สวนของเกษตรกร ในเรื่องของการใช้ปุ๋ยให้ถูกต้อง การดูแลรักษาสวนยางพารา แทนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น
อีกส่วนหนึ่งที่เป็นห่วงมากก็คือ การใช้จ่ายที่เกินตัว ขอให้เกษตรกรใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง มีความพอเพียง รู้จักเก็บเงินที่ได้จากการขายผลผลิตไว้เพื่ออนาคต และให้ยึดหลักแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพราะราคาพืชผลทางการเกษตรเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดโลก เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรต้องเจอกับภาวะวิกฤติมานับครั้งไม่ถ้วน จึงควรจะนำมาเป็นบทเรียน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหากเจอสภาวะราคาตกต่ำ เกษตรกรก็ยังมีเงินเก็บ