นครศรีธรรมราช – กรมศิลปากรเตรียมผลักดันวัดพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกขณะนี้ได้จัดทำเอกสารข้อมูลนำเสนอแหล่งเพื่อขึ้นบัญชีขั้นต้นแหล่งมรดกโลกต่อยูเนสโก (UNESCO) พร้อมมั่นใจมีหนึ่งเสียงของไทยที่เป็นคณะกรรมการมรดกโลก จะเป็นแรงผลักดันรับรองให้ขึ้นสู่บัญชีมรดกโลกแน่นอน
วันนี้ (4 พ.ย.) นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน นักโบราณคดี หัวหน้ากลุ่มวิชาการโบราณคดีสำนักงานศิลปากรที่ 14 (นครศรีธรรมราช) เปิดเผยว่าขณะนี้กรมศิลปากรได้เตรียมความพร้อมในขั้นตอนของการผลักดันวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก ตามลำดับแล้วหลังจากที่มีการนำเสนอ การผลักดันพระบรมธาตุขึ้นทะเบียนมรดกโลกของภาคประชาชน
โดย นายภาณุ อุทัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะทำงานนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์เป็นมรดกโลก ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ยังผลให้อนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย มีมตินำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์ พร้อมสถานที่สำคัญอื่นๆ รวม 7 แห่งเสนอเข้าสู่บัญชีขั้นต้น (Tentative List) แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมกรมศิลปากรอยู่ในระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
นายวสุ โปษยะนันทน์ สถาปนิกชำนาญการพิเศษ กรมศิลปากร เปิดเผยว่าขณะนี้กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ ดร.ริชาร์ด แองเกิลฮาร์ดต์ (Richard A Engelhardt) อดีตที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จัดทำเอกสารข้อมูลนำเสนอแหล่งเพื่อขึ้นบัญชีขั้นต้นแหล่งมรดกโลก โดยกล่าวถึงรายละเอียดความเหมาะสม ความสำคัญ และคุณค่าของแหล่งตามหลักเกณฑ์ ซึ่งทางกรมศิลปากรจะเป็นผู้นำเสนอเอกสารนี้ต่อ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย เพื่อพิจารณาและนำเสนอต่อไปยังคณะกรรมการมรดกโลก หรือยูเนสโก้ ซึ่งการนำวัดพระบรมธาตุขึ้นบัญชีขั้นต้นนั้นมีความสำคัญมาก เพราะเนื่องจากต้องเป็นสถานที่ที่ได้รับการบรรจุชื่อขึ้นในบัญชีขั้นต้นนี้ก่อนเท่านั้น ถึงจะได้รับสิทธิเสนอชื่อ เพื่อเข้าไปสู่กระบวนการพิจารณาความเหมาะสมในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกต่อไป
สำหรับการจัดทำเอกสารนี้จะมุ่งในเรื่องสาระสำคัญของแหล่ง (Site) ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องมาพิจารณาความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม สิ่งปลูกสร้างภายในพื้นที่บริเวณแหล่ง ตลอดถึงสภาพความเป็นของเดิมมากน้อยเพียงใด และหรือต้องเตรียมจัดทำแผนการพัฒนาเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากลไปพร้อมกัน และในกรณีนางโสมสุดา ลียะวณิช รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะผู้แทนประเทศไทยที่ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2552-2556 ถือว่าเป็นหนึ่งเสียงของไทยในการพิจารณารับรองแหล่งใดๆ ว่าเหมาะสมบรรจุขึ้นบัญชีขั้นต้นดังกล่าวหรือไม่
วันนี้ (4 พ.ย.) นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน นักโบราณคดี หัวหน้ากลุ่มวิชาการโบราณคดีสำนักงานศิลปากรที่ 14 (นครศรีธรรมราช) เปิดเผยว่าขณะนี้กรมศิลปากรได้เตรียมความพร้อมในขั้นตอนของการผลักดันวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก ตามลำดับแล้วหลังจากที่มีการนำเสนอ การผลักดันพระบรมธาตุขึ้นทะเบียนมรดกโลกของภาคประชาชน
โดย นายภาณุ อุทัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะทำงานนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์เป็นมรดกโลก ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ยังผลให้อนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย มีมตินำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์ พร้อมสถานที่สำคัญอื่นๆ รวม 7 แห่งเสนอเข้าสู่บัญชีขั้นต้น (Tentative List) แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมกรมศิลปากรอยู่ในระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
นายวสุ โปษยะนันทน์ สถาปนิกชำนาญการพิเศษ กรมศิลปากร เปิดเผยว่าขณะนี้กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ ดร.ริชาร์ด แองเกิลฮาร์ดต์ (Richard A Engelhardt) อดีตที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จัดทำเอกสารข้อมูลนำเสนอแหล่งเพื่อขึ้นบัญชีขั้นต้นแหล่งมรดกโลก โดยกล่าวถึงรายละเอียดความเหมาะสม ความสำคัญ และคุณค่าของแหล่งตามหลักเกณฑ์ ซึ่งทางกรมศิลปากรจะเป็นผู้นำเสนอเอกสารนี้ต่อ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย เพื่อพิจารณาและนำเสนอต่อไปยังคณะกรรมการมรดกโลก หรือยูเนสโก้ ซึ่งการนำวัดพระบรมธาตุขึ้นบัญชีขั้นต้นนั้นมีความสำคัญมาก เพราะเนื่องจากต้องเป็นสถานที่ที่ได้รับการบรรจุชื่อขึ้นในบัญชีขั้นต้นนี้ก่อนเท่านั้น ถึงจะได้รับสิทธิเสนอชื่อ เพื่อเข้าไปสู่กระบวนการพิจารณาความเหมาะสมในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกต่อไป
สำหรับการจัดทำเอกสารนี้จะมุ่งในเรื่องสาระสำคัญของแหล่ง (Site) ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องมาพิจารณาความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม สิ่งปลูกสร้างภายในพื้นที่บริเวณแหล่ง ตลอดถึงสภาพความเป็นของเดิมมากน้อยเพียงใด และหรือต้องเตรียมจัดทำแผนการพัฒนาเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากลไปพร้อมกัน และในกรณีนางโสมสุดา ลียะวณิช รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะผู้แทนประเทศไทยที่ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2552-2556 ถือว่าเป็นหนึ่งเสียงของไทยในการพิจารณารับรองแหล่งใดๆ ว่าเหมาะสมบรรจุขึ้นบัญชีขั้นต้นดังกล่าวหรือไม่