ระนอง - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง รายงานสถานการณ์โรคฉี่หนูพบผู้ป่วยแล้ว 165 ราย ในทุกอำเภอ โดยเฉพาะอำเภอกระบุรีพบมากถึงร้อยละ 84.8
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จังหวัดระนองพบผู้ป่วยโรคฉี่หนูตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน จำนวน 165 ราย โดยพบผู้ป่วยทุกอำเภอ โดยเฉพาะอำเภอกระบุรีพบมากถึงร้อยละ 84.8 เสียชีวิต 1 ราย โรคฉี่หนูพบมากในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมาและพบมากในเดือนกันยายน โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบล จปร., ลำเลียง, น้ำจืดน้อย และปากจั่น พบมากถึงร้อยละ 77 ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-44 ปี ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในระยะนี้จังหวัดระนองมีฝนตกชุกทำให้หลายพื้นที่มีน้ำขัง ซึ่งเชื้อโรคฉี่หนูสามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำหรือในดินที่มีความชื้น คนติดเชื้อโรคฉี่หนูได้โดยการสัมผัส การกินน้ำหรืออาหารที่เปื้อนปัสสาวะหนูโดยตรง หรือจากการสัมผัสเชื้อที่มีในแหล่งน้ำ ทุ่งนา แอ่งน้ำขัง พื้นดินที่เปียกแฉะ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนองกล่าวว่า อาการป่วยที่สำคัญของโรคฉี่หนู คือ มีไข้สูงเฉียบพลัน ร่วมกับอาการปวดศีรษะและปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง น่องและต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน ตาแดง ถ้าไม่รีบรักษาจะมีอาการแทรกซ้อน ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ การป้องกันที่สำคัญ คือ ป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับเชื้อโรค โดยสวมรองเท้า
บู๊ทยางกันน้ำ หากต้องลุยน้ำย่ำโคลน สวมรองเท้าเวลาเดินบนพื้นดิน หลีกเลี่ยงการแช่น้ำในคูคลองต่างๆ ส่วนการควบคุมโรคที่สำคัญ คือ การช่วยกันกำจัดหนูและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งในบ้าน นอกบ้านและในชุมชนไม่ให้มีอาหารและเป็นที่อยู่อาศัยของหนู ซึ่งทุกบ้านทุกครอบครัวต้องปฏิบัติเป็นประจำชุมชนจึงจะปลอดจากเชื้อโรคฉี่หนูและโรคติดต่อจากสัตว์อื่นๆ ต่อไป
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จังหวัดระนองพบผู้ป่วยโรคฉี่หนูตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน จำนวน 165 ราย โดยพบผู้ป่วยทุกอำเภอ โดยเฉพาะอำเภอกระบุรีพบมากถึงร้อยละ 84.8 เสียชีวิต 1 ราย โรคฉี่หนูพบมากในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมาและพบมากในเดือนกันยายน โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบล จปร., ลำเลียง, น้ำจืดน้อย และปากจั่น พบมากถึงร้อยละ 77 ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-44 ปี ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในระยะนี้จังหวัดระนองมีฝนตกชุกทำให้หลายพื้นที่มีน้ำขัง ซึ่งเชื้อโรคฉี่หนูสามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำหรือในดินที่มีความชื้น คนติดเชื้อโรคฉี่หนูได้โดยการสัมผัส การกินน้ำหรืออาหารที่เปื้อนปัสสาวะหนูโดยตรง หรือจากการสัมผัสเชื้อที่มีในแหล่งน้ำ ทุ่งนา แอ่งน้ำขัง พื้นดินที่เปียกแฉะ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนองกล่าวว่า อาการป่วยที่สำคัญของโรคฉี่หนู คือ มีไข้สูงเฉียบพลัน ร่วมกับอาการปวดศีรษะและปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง น่องและต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน ตาแดง ถ้าไม่รีบรักษาจะมีอาการแทรกซ้อน ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ การป้องกันที่สำคัญ คือ ป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับเชื้อโรค โดยสวมรองเท้า
บู๊ทยางกันน้ำ หากต้องลุยน้ำย่ำโคลน สวมรองเท้าเวลาเดินบนพื้นดิน หลีกเลี่ยงการแช่น้ำในคูคลองต่างๆ ส่วนการควบคุมโรคที่สำคัญ คือ การช่วยกันกำจัดหนูและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งในบ้าน นอกบ้านและในชุมชนไม่ให้มีอาหารและเป็นที่อยู่อาศัยของหนู ซึ่งทุกบ้านทุกครอบครัวต้องปฏิบัติเป็นประจำชุมชนจึงจะปลอดจากเชื้อโรคฉี่หนูและโรคติดต่อจากสัตว์อื่นๆ ต่อไป