ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เทศบาลเมืองป่าตอง ร่วมบริษัทที่ปรึกษาจัดรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อมกะทู้-ป่าตองจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หลังว่าจากบริษัทที่ปรึกษาเกือบ 40 ล้านศึกษาความเหมาะสมโครงการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม
วันนี้ (9 ต.ค.) นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อมกะทู้-ป่าตอง จากประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีประชาชนในพื้นที่ป่าตองและจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วม ซึ่งเทศบาลเมืองป่าตองร่วมกับบริษัท เอพซิลอน จำกัด ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท แพลนโปร์ จำกัด จัดขึ้น ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมประมาณ 200 คน
นายเปี่ยน กี่สิ้น นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อต่อกะทู้-ป่าตองนั้น เป็นครงการที่ทางเทศบาลเมืองป่าตองได้มีแนวคิดในการก่อสร้างเพื่อให้การเดินทางจากตัวเมืองภูเก็ตไปสู่ป่าตองซึ่งปัจจุบันใช้ทางหลวงหลายเลข 4029 เพียงเส้นทางเดียวในการเดินทาง ซึ่งเส้นทางดังกล่าวมีความคดเคี้ยวและลาดชันสูงมีปริมาณการใช้รถจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นสูงตามไปด้วยโดยเฉพาะช่วงที่ฝนตก ทำให้การเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นไปด้วยความล่าช้า ทางเทศบาลเมืองป่าตองได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวความคิดที่จะตัดถนนทางหลวงแนวใหม่ขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
โดยที่ผ่านมา เมื่อปี 2543 ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการขุดเจาะอุโมงค์กะทู้-ป่าตอง ซึ่งการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าโครงการมีความเป็นไปได้ในการดำเนินการขั้นตอนต่อไป แต่เนื่องจากการขุดเจาะอุโมงค์กะทู้-ป่าตองเป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงทำให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปเป็นไปได้ยาก
ต่อมาทางเทศบาลได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ทำการศึกษาความเป็นไปเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาการจราจรดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาสามารถใช้เส้นทางเดิมของทางหลวงหมายเลข 4029 ได้บางส่วน โดยรูปแบบการก่อสร้างอาจเป็นถนน สะพาน อุโมงค์ หรือผสมผสานกันเพื่อช่วยลดระยะทาง และสามารถใช้ความเร็วในการเดินทางได้ แต่อย่างไรก็ตาม แนวเส้นทางใหม่ที่ศึกษาอาจจะต้องตัดผ่านพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมซึ่งจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นละเอียด หรือ EIA
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามขั้นตอนต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมเทศบาลเมืองป่าตองจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัท เอพซิลอน จำกัด ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทแพลนโปร์ จำกัด ด้วยงบประมาณเกือบ 40 ล้านบาท ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วิศวกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อมต่อกะทู้-ป่าตอง
โดยมีกรอบการดำเนินงานประกอบด้วยศึกษาด้านเศรษฐกิจ-สังคม ด้านการจราจรขนส่ง ศึกษาแนวทางเลือก ศึกษาการออกแบบเบื้องต้นด้านวิศวกรรม ศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชน การวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐกิจ และการจัดทำแผนดำเนินงานโครงการและแผนการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทีมที่ปรึกษาได้ออกแบบเบื้องต้นสำหรับการก่อสร้างอุโมงค์ข้ามเขาป่าตองไว้ 3 ทางเลือกในเบื้องต้น โดยทางเลือกแรก เริ่มต้นที่ กม.0+850 ทางหลวงหมายเลข 4029 บริเวณหน้าสนามแข่งรถ Go-Kart Speedway แนวเบี่ยงออกจากถนนเดิมมาทางใต้ลอดใต้ป่าเขานาคเกิดเป็นอุโมงค์ยาวประมาณ 1,440 เมตร บรรจบกับถนนนาใน ความยาวประมาณ 2.27 กม. ประมาณการค่าก่อสร้างอยู่ที่ 1,300 ล้านบาท กรณี 2 ช่องทางจราจร และ 2,440 สำหรับ 4 ช่องทางจราจร
ทางเลือกที่ 2 เริ่มต้นที่เดียวกันทางเลือกที่ 1 และซ้อนทับประมาณ 500 เมตร และแนวจะเบี่ยงขึ้นไปทางเหนือ ลดใต้ป่าเขานาคเกิดเป็นอุโมงค์ยาวประมาณ 1,380 เมตร ตัดผ่านถนนพิสิฐกรณีย์ และบรรจบกับถนนตามผังเมืองรวมสาย ก. รวมความยาวประมาณ 2.9 กม. ประมาณการก่อสร้าง 1,280 ล้านบาท กรณี 2 ช่องทางจราจร และ 2,440 ล้านบาท สำหรับ 4 ช่องทางจราจร
ทางเลือกที่ 3 เริ่มต้นที่ประมาณ กม.1+150 ทางหลวงหมายเลข 4029 วางตัวเป็นแนวตรงต่อจากถนนเดิม และเบี่ยงไปทางทิศตะวันตกลอดใต้ถนนเดิมที่ประมาณ กม.2 เป็นอุโมงค์ยาวประมาณ 540 เมตร จากนั้นแนวจะวกลงใต้ข้ามถนนเดิมที่ประมาณ กม.2+650 เป็นสะพานยาวประมาณ 450 เมตร เข้าบรรจบถนนห้าสิบปีเทศบาลป่าตอง รวมความยาว 2.05 กม. ประมาณการค่าก่อสร้าง 740 ล้านบาท กรณี 2 ช่องทางจราจร และ 1,160 ล้านบาท กรณี 4 ช่องจราจร
นายเปี่ยน กล่าวต่อว่า การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวในครั้งนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งแรก ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุได้ ซึ่งเห็นว่า ทางเลือกที่ 2 เป็นทางเหลือที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามจะต้องฟังความเห็นส่วนใหญ่ของประชาชนและความเหมาะทางด้านเทคนิคในการดำเนินการ
ด้าน นายมาโนช พันธ์ฉลาด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นด้วยที่จะมีการศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เพราะถ้าผลการศึกษาออกมาคุ้มทุนก็น่าจะมีการดำเนินการ เพราะปัจจุบันนี้คิดว่ามีความจำเป็นในการที่จะต้องหาเส้นทางใหม่ในการเดินทางเข้าพื้นที่ป่าตองออกมารองรับ เนื่องจากถนนทางขึ้นเขาป่าตองปัจจุบันมีความคดเคี้ยวและลาดชันซึ่งมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย และในต่างประเทศก็มีการขุดอุโมงค์กันส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการจะต้องศึกษาเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้ดี
ด้าน นายมนต์ทวี หงษ์หยก ภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า เห็นด้วยถ้าจะมีการสร้างทางหลวงเส้นใหม่ในการเดินทางเข้าพื้นที่ป่าตอง แต่ควรที่จะศึกษาในหลายๆแบบ เพราะเชื่อว่าน่าจะมีวิธีการในการขนคนหลายแบบในโลกนี้ ซึ่งการทำโครงการอะไรก็ตามจะต้องมีแผนรอบรับสิ่งที่จะเกิดตามมาในอนาคตด้วย เชื่อว่าถ้าทำได้จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้
ส่วนการเจาะอุโมงค์นั้นก็จะต้องดูความคุ้มทุนกับผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ถ้ามีผลประโยชน์เกิดขึ้นกับคนส่วนมากก็สามารถดำเนินการได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ เรื่องของสิ่งแวดล้อมซึ่งการจะดำเนินการอะไรก็ตามให้ศึกษาเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้ดี
วันนี้ (9 ต.ค.) นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อมกะทู้-ป่าตอง จากประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีประชาชนในพื้นที่ป่าตองและจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วม ซึ่งเทศบาลเมืองป่าตองร่วมกับบริษัท เอพซิลอน จำกัด ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท แพลนโปร์ จำกัด จัดขึ้น ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมประมาณ 200 คน
นายเปี่ยน กี่สิ้น นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อต่อกะทู้-ป่าตองนั้น เป็นครงการที่ทางเทศบาลเมืองป่าตองได้มีแนวคิดในการก่อสร้างเพื่อให้การเดินทางจากตัวเมืองภูเก็ตไปสู่ป่าตองซึ่งปัจจุบันใช้ทางหลวงหลายเลข 4029 เพียงเส้นทางเดียวในการเดินทาง ซึ่งเส้นทางดังกล่าวมีความคดเคี้ยวและลาดชันสูงมีปริมาณการใช้รถจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นสูงตามไปด้วยโดยเฉพาะช่วงที่ฝนตก ทำให้การเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นไปด้วยความล่าช้า ทางเทศบาลเมืองป่าตองได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวความคิดที่จะตัดถนนทางหลวงแนวใหม่ขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
โดยที่ผ่านมา เมื่อปี 2543 ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการขุดเจาะอุโมงค์กะทู้-ป่าตอง ซึ่งการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าโครงการมีความเป็นไปได้ในการดำเนินการขั้นตอนต่อไป แต่เนื่องจากการขุดเจาะอุโมงค์กะทู้-ป่าตองเป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงทำให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปเป็นไปได้ยาก
ต่อมาทางเทศบาลได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ทำการศึกษาความเป็นไปเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาการจราจรดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาสามารถใช้เส้นทางเดิมของทางหลวงหมายเลข 4029 ได้บางส่วน โดยรูปแบบการก่อสร้างอาจเป็นถนน สะพาน อุโมงค์ หรือผสมผสานกันเพื่อช่วยลดระยะทาง และสามารถใช้ความเร็วในการเดินทางได้ แต่อย่างไรก็ตาม แนวเส้นทางใหม่ที่ศึกษาอาจจะต้องตัดผ่านพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมซึ่งจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นละเอียด หรือ EIA
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามขั้นตอนต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมเทศบาลเมืองป่าตองจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัท เอพซิลอน จำกัด ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทแพลนโปร์ จำกัด ด้วยงบประมาณเกือบ 40 ล้านบาท ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วิศวกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อมต่อกะทู้-ป่าตอง
โดยมีกรอบการดำเนินงานประกอบด้วยศึกษาด้านเศรษฐกิจ-สังคม ด้านการจราจรขนส่ง ศึกษาแนวทางเลือก ศึกษาการออกแบบเบื้องต้นด้านวิศวกรรม ศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชน การวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐกิจ และการจัดทำแผนดำเนินงานโครงการและแผนการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทีมที่ปรึกษาได้ออกแบบเบื้องต้นสำหรับการก่อสร้างอุโมงค์ข้ามเขาป่าตองไว้ 3 ทางเลือกในเบื้องต้น โดยทางเลือกแรก เริ่มต้นที่ กม.0+850 ทางหลวงหมายเลข 4029 บริเวณหน้าสนามแข่งรถ Go-Kart Speedway แนวเบี่ยงออกจากถนนเดิมมาทางใต้ลอดใต้ป่าเขานาคเกิดเป็นอุโมงค์ยาวประมาณ 1,440 เมตร บรรจบกับถนนนาใน ความยาวประมาณ 2.27 กม. ประมาณการค่าก่อสร้างอยู่ที่ 1,300 ล้านบาท กรณี 2 ช่องทางจราจร และ 2,440 สำหรับ 4 ช่องทางจราจร
ทางเลือกที่ 2 เริ่มต้นที่เดียวกันทางเลือกที่ 1 และซ้อนทับประมาณ 500 เมตร และแนวจะเบี่ยงขึ้นไปทางเหนือ ลดใต้ป่าเขานาคเกิดเป็นอุโมงค์ยาวประมาณ 1,380 เมตร ตัดผ่านถนนพิสิฐกรณีย์ และบรรจบกับถนนตามผังเมืองรวมสาย ก. รวมความยาวประมาณ 2.9 กม. ประมาณการก่อสร้าง 1,280 ล้านบาท กรณี 2 ช่องทางจราจร และ 2,440 ล้านบาท สำหรับ 4 ช่องทางจราจร
ทางเลือกที่ 3 เริ่มต้นที่ประมาณ กม.1+150 ทางหลวงหมายเลข 4029 วางตัวเป็นแนวตรงต่อจากถนนเดิม และเบี่ยงไปทางทิศตะวันตกลอดใต้ถนนเดิมที่ประมาณ กม.2 เป็นอุโมงค์ยาวประมาณ 540 เมตร จากนั้นแนวจะวกลงใต้ข้ามถนนเดิมที่ประมาณ กม.2+650 เป็นสะพานยาวประมาณ 450 เมตร เข้าบรรจบถนนห้าสิบปีเทศบาลป่าตอง รวมความยาว 2.05 กม. ประมาณการค่าก่อสร้าง 740 ล้านบาท กรณี 2 ช่องทางจราจร และ 1,160 ล้านบาท กรณี 4 ช่องจราจร
นายเปี่ยน กล่าวต่อว่า การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวในครั้งนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งแรก ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุได้ ซึ่งเห็นว่า ทางเลือกที่ 2 เป็นทางเหลือที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามจะต้องฟังความเห็นส่วนใหญ่ของประชาชนและความเหมาะทางด้านเทคนิคในการดำเนินการ
ด้าน นายมาโนช พันธ์ฉลาด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นด้วยที่จะมีการศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เพราะถ้าผลการศึกษาออกมาคุ้มทุนก็น่าจะมีการดำเนินการ เพราะปัจจุบันนี้คิดว่ามีความจำเป็นในการที่จะต้องหาเส้นทางใหม่ในการเดินทางเข้าพื้นที่ป่าตองออกมารองรับ เนื่องจากถนนทางขึ้นเขาป่าตองปัจจุบันมีความคดเคี้ยวและลาดชันซึ่งมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย และในต่างประเทศก็มีการขุดอุโมงค์กันส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการจะต้องศึกษาเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้ดี
ด้าน นายมนต์ทวี หงษ์หยก ภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า เห็นด้วยถ้าจะมีการสร้างทางหลวงเส้นใหม่ในการเดินทางเข้าพื้นที่ป่าตอง แต่ควรที่จะศึกษาในหลายๆแบบ เพราะเชื่อว่าน่าจะมีวิธีการในการขนคนหลายแบบในโลกนี้ ซึ่งการทำโครงการอะไรก็ตามจะต้องมีแผนรอบรับสิ่งที่จะเกิดตามมาในอนาคตด้วย เชื่อว่าถ้าทำได้จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้
ส่วนการเจาะอุโมงค์นั้นก็จะต้องดูความคุ้มทุนกับผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ถ้ามีผลประโยชน์เกิดขึ้นกับคนส่วนมากก็สามารถดำเนินการได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ เรื่องของสิ่งแวดล้อมซึ่งการจะดำเนินการอะไรก็ตามให้ศึกษาเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้ดี