ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จนท.กลุ่มสัตว์ทะเลหายากภูเก็ตรับซากพะยูนอายุกว่า 30 ปี ผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตาย พร้อมระบุสถานการณ์พะยูนฝั่งอันดามันน่าห่วง ยังมีการนำซากไปขายและบริโภคอยู่ ส่วนการบินสำรวจประชากรพะยูนดำเนินการต้นปี 53 แน่
นายเผ่าเทพ เชิดสุขใจ นักวิชาการประมง ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งและป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตายของพะยูนอายุประมาณ 30-40 ปี เพศเมีย น้ำหนัก 335 กิโลกรัม ซึ่งชาวประมงพบตายลอยน้ำอยู่ที่บริเวณห่างจากเกาะลิบ จ.ตรัง ประมาณ 2ไมล์ทะเล เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า วันนี้ (29 ก.ย.) เจ้าหน้าที่ได้นำซากพะยูนที่พบที่จังหวัดตรัง มาถึงกลุ่มสัตว์ทะเลหายากแล้ว ซึ่งจากการตรวจสอบภายนอกไม่พบบาดแผลที่บ่งชี้ว่าจะทำให้พะยูนเสียชีวิตได้ และในวันพรุ่งนี้ (30 ก.ย.) ทางเจ้าหน้าที่จะทำการผ่าซากพะยูนดังกล่าวเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตของพะยูนดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับการเสียชีวิตของพะยูนในฝั่งทะเลอันดามันตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาพบมีพะยูนตายแล้ว 5 ตัว ซึ่งมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยตัวล่าสุดที่พบเสียชีวิตนั้นเป็นพะยูนตัวเต็มวัยที่มีอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากการจมน้ำและสาเหตุที่ทำให้พะยูนจมน้ำส่วนใหญ่จะมาจากการติดเครื่องมือการทำประมงของชาวประมงที่วางอวนและลอบเพื่อจับปลา
นายเผ่าเทพกล่าวถึงการสำรวจสถานการณ์พะยูนในฝั่งทะเลอันดามันด้วยว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดเครื่องบินเพื่อบินสำรวจประชากรพะยูน ซึ่งประมาณเดือนมกราคมปี 2553 จะมีการบินสำรวจประชาการพะยูนแต่จะทำได้เฉพาะบริเวณเกาะลิบงเท่านั้นเนื่องจากมีเวลาจำกัดทำให้ไม่สามารถที่จะบินได้ครอบคลุมทั้งฝั่งอันดามันแต่จะพยายามสำรวจให้ได้มากที่สุด
โดยการสำรวจสถานการณ์และจำนวนประชากรพะยูนนั้นจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์และจำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การสำรวจที่เคยทำครั้งสุดท้ายทำเมื่อปี 2551 พบพะยูนที่บริเวณเกาะลิบง จ.ตรังประมาณ 100-120 ตัว
“สำหรับสถานการณ์พะยูนในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันยังน่าเป็นห่วง แม้ว่าข่าวเรื่องของการล่าพะยูนเพื่อนำไปขายให้กับผู้บริโภคหรือสถานที่จัดแสดงจะเงียบไป แต่ก็ยังมีการนำซากพะยูนที่พบในทะเลไปขายและบริโภคอยู่ในบางพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการลงไปทำความเข้าใจกันอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะช่วยกันอนุรักษ์พะยูนให้อยู่คู่กับทะเลตลอดไป” นายเผ่าเทพ กล่าว
นายเผ่าเทพ เชิดสุขใจ นักวิชาการประมง ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งและป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตายของพะยูนอายุประมาณ 30-40 ปี เพศเมีย น้ำหนัก 335 กิโลกรัม ซึ่งชาวประมงพบตายลอยน้ำอยู่ที่บริเวณห่างจากเกาะลิบ จ.ตรัง ประมาณ 2ไมล์ทะเล เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า วันนี้ (29 ก.ย.) เจ้าหน้าที่ได้นำซากพะยูนที่พบที่จังหวัดตรัง มาถึงกลุ่มสัตว์ทะเลหายากแล้ว ซึ่งจากการตรวจสอบภายนอกไม่พบบาดแผลที่บ่งชี้ว่าจะทำให้พะยูนเสียชีวิตได้ และในวันพรุ่งนี้ (30 ก.ย.) ทางเจ้าหน้าที่จะทำการผ่าซากพะยูนดังกล่าวเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตของพะยูนดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับการเสียชีวิตของพะยูนในฝั่งทะเลอันดามันตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาพบมีพะยูนตายแล้ว 5 ตัว ซึ่งมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยตัวล่าสุดที่พบเสียชีวิตนั้นเป็นพะยูนตัวเต็มวัยที่มีอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากการจมน้ำและสาเหตุที่ทำให้พะยูนจมน้ำส่วนใหญ่จะมาจากการติดเครื่องมือการทำประมงของชาวประมงที่วางอวนและลอบเพื่อจับปลา
นายเผ่าเทพกล่าวถึงการสำรวจสถานการณ์พะยูนในฝั่งทะเลอันดามันด้วยว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดเครื่องบินเพื่อบินสำรวจประชากรพะยูน ซึ่งประมาณเดือนมกราคมปี 2553 จะมีการบินสำรวจประชาการพะยูนแต่จะทำได้เฉพาะบริเวณเกาะลิบงเท่านั้นเนื่องจากมีเวลาจำกัดทำให้ไม่สามารถที่จะบินได้ครอบคลุมทั้งฝั่งอันดามันแต่จะพยายามสำรวจให้ได้มากที่สุด
โดยการสำรวจสถานการณ์และจำนวนประชากรพะยูนนั้นจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์และจำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การสำรวจที่เคยทำครั้งสุดท้ายทำเมื่อปี 2551 พบพะยูนที่บริเวณเกาะลิบง จ.ตรังประมาณ 100-120 ตัว
“สำหรับสถานการณ์พะยูนในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันยังน่าเป็นห่วง แม้ว่าข่าวเรื่องของการล่าพะยูนเพื่อนำไปขายให้กับผู้บริโภคหรือสถานที่จัดแสดงจะเงียบไป แต่ก็ยังมีการนำซากพะยูนที่พบในทะเลไปขายและบริโภคอยู่ในบางพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการลงไปทำความเข้าใจกันอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะช่วยกันอนุรักษ์พะยูนให้อยู่คู่กับทะเลตลอดไป” นายเผ่าเทพ กล่าว