ศูนย์ข่าวภูเก็ต – จังหวัดภูเก็ตประกาศ ไม่อนุญาตให้เอกชนก่อสร้างท่าเทียบเรือและมารีนาอีกแล้วนับจากนี้ ให้ใช้ท่าเรือสาธารณะแทน หวังรักษาสภาพทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลให้อยู่คู่เกาะภูเก็ต ผู้ว่าฯเผยมีเอกชนหลายรายกว้านซื้อที่ดินเกาะสิเหร่ และชายฝั่งตะวันออกหวังพัฒนาโครงการและสร้างมารีนาในทะเล รับไม่ได้ชายฝั่งทะเลของภูเก็ตมีสิ่งก่อสร้างแปลกปลอมยื่นลงไปในทะเลเหมือนใยแมงมุม
นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการมาตรการการป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีนา และท่าเรืออื่นๆในจังหวัดภูเก็ต ในการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ การพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 5/2552 ว่า คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานได้หารือถึงมาตรการ ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภูเก็ตในทะเล
ที่ผ่านมา เอกชนได้มีการยื่นขอสร้างท่าเทียบเรือยอชต์หรือมารีนา เป็นจำนวนมากในฝั่งตะวันออกของเกาะภูเก็ต ทำให้ทัศนวิสัยทางชายฝั่งตะวันออกมีลักษณะเหมือนใยแมงมุม มีสิ่งก่อสร้างที่ยื่นลงไปในทะเลเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญการก่อสร้างท่าเรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งปะการังและหญ้าทะเล รวมทั้งกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีที่เอกชนยื่นขออนุญาตก่อสร้างท่าเรือมารีนา จะได้รับการคัดค้านจากชาวบ้านในชุมชนนั้นมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ภูเก็ตเห็นว่า จังหวัดภูเก็ตควรที่จะมีการควบคุมไม่ให้มีการก่อสร้างท่าเรือมารีนาในภูเก็ตอีก เพราะเท่าที่ทราบมาขณะนี้มีการกว้านซื้อที่ดินที่เกาะสิเหร่ และพื้นที่อื่นๆทางฝั่งตะวันออกเพื่อพัฒนาโครงการบนฝั่งและสร้างท่าเรือมารีนาในทะเลอีกหลายโครงการ หากยังปล่อยให้มีการก่อสร้างกันไปเรื่อยๆ สิ่งแวดล้อมในทะเลทั้งปะการังและหญ้าทะเลจะไม่เหลืออีกเลย
ดังนั้น จังหวัดจึงมีนโยบายเกี่ยวกับการก่อสร้างท่าเรือมารีนาของเอกชน โดยให้เอกชนใช้ท่าเรือมารีนาหรือท่าเรือที่เป็นท่าเรือสาธารณะ แทนการก่อสร้างมารีนาในโครงการ หลังจากนั้น เอกชนก็สามารถที่จะพัฒนาเส้นทางบนบกจากท่าเรือสาธารณะเข้าสู่โครงการของตัวเองได้ ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งยวด
ด้านนางสาวมาลินี ทองแถม นักวิชาการจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ที่ผ่านมาการยื่นขอก่อสร้างท่าเทียบเรือของเอกชนจะอ้างว่า จะให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากท่าเรือด้วย แต่สภาพความเป็นจริงเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ประชาชนไม่สิทธิ์ที่จะเข้าไปใช้ท่าเรือเหล่านั้นได้แม้แต่โครงการเดียว
การไม่อนุญาตให้มีการก่อสร้างท่าเรือมารีนาอีก ถือเป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทะเลถูกทำลายน้อยลง การก่อสร้างทุกโครงการย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้นแล้วแต่ว่าจะมากน้อยแค่ไหน
ส่วนตัวแล้วเห็นว่า จังหวัดภูเก็ตน่าที่จะมีการควบคุมดูแลการก่อสร้างท่าเรือในระยะยาว โดยการจัดเป็นโซนนิ่งหรือกำหนดลงไปให้ชัดเจนว่า ท่าเรือที่จะก่อสร้างได้จะต้องอยู่ห่างจากท่าเรือสาธารณะมากน้อยแค่ไหน หากโครงการใดอยู่ไม่ห่างจากท่าเรือสาธารณะก็ให้ใช้ท่าเรือสาธารณะ รวมทั้งในระยะยาวก็ให้จัดแผนแม่บทในการก่อสร้าง โดยการร่วมมือจากหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการแบ่งเขตให้ชัดเจน แต่คิดว่าคงจะต้องใช้เวลานานในการดำเนินการ เพราะจะต้องรื้อผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งใหม่ทั้งหมด
นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการมาตรการการป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีนา และท่าเรืออื่นๆในจังหวัดภูเก็ต ในการประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ การพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 5/2552 ว่า คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานได้หารือถึงมาตรการ ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภูเก็ตในทะเล
ที่ผ่านมา เอกชนได้มีการยื่นขอสร้างท่าเทียบเรือยอชต์หรือมารีนา เป็นจำนวนมากในฝั่งตะวันออกของเกาะภูเก็ต ทำให้ทัศนวิสัยทางชายฝั่งตะวันออกมีลักษณะเหมือนใยแมงมุม มีสิ่งก่อสร้างที่ยื่นลงไปในทะเลเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญการก่อสร้างท่าเรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งปะการังและหญ้าทะเล รวมทั้งกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีที่เอกชนยื่นขออนุญาตก่อสร้างท่าเรือมารีนา จะได้รับการคัดค้านจากชาวบ้านในชุมชนนั้นมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ภูเก็ตเห็นว่า จังหวัดภูเก็ตควรที่จะมีการควบคุมไม่ให้มีการก่อสร้างท่าเรือมารีนาในภูเก็ตอีก เพราะเท่าที่ทราบมาขณะนี้มีการกว้านซื้อที่ดินที่เกาะสิเหร่ และพื้นที่อื่นๆทางฝั่งตะวันออกเพื่อพัฒนาโครงการบนฝั่งและสร้างท่าเรือมารีนาในทะเลอีกหลายโครงการ หากยังปล่อยให้มีการก่อสร้างกันไปเรื่อยๆ สิ่งแวดล้อมในทะเลทั้งปะการังและหญ้าทะเลจะไม่เหลืออีกเลย
ดังนั้น จังหวัดจึงมีนโยบายเกี่ยวกับการก่อสร้างท่าเรือมารีนาของเอกชน โดยให้เอกชนใช้ท่าเรือมารีนาหรือท่าเรือที่เป็นท่าเรือสาธารณะ แทนการก่อสร้างมารีนาในโครงการ หลังจากนั้น เอกชนก็สามารถที่จะพัฒนาเส้นทางบนบกจากท่าเรือสาธารณะเข้าสู่โครงการของตัวเองได้ ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งยวด
ด้านนางสาวมาลินี ทองแถม นักวิชาการจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ที่ผ่านมาการยื่นขอก่อสร้างท่าเทียบเรือของเอกชนจะอ้างว่า จะให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากท่าเรือด้วย แต่สภาพความเป็นจริงเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ประชาชนไม่สิทธิ์ที่จะเข้าไปใช้ท่าเรือเหล่านั้นได้แม้แต่โครงการเดียว
การไม่อนุญาตให้มีการก่อสร้างท่าเรือมารีนาอีก ถือเป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทะเลถูกทำลายน้อยลง การก่อสร้างทุกโครงการย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้นแล้วแต่ว่าจะมากน้อยแค่ไหน
ส่วนตัวแล้วเห็นว่า จังหวัดภูเก็ตน่าที่จะมีการควบคุมดูแลการก่อสร้างท่าเรือในระยะยาว โดยการจัดเป็นโซนนิ่งหรือกำหนดลงไปให้ชัดเจนว่า ท่าเรือที่จะก่อสร้างได้จะต้องอยู่ห่างจากท่าเรือสาธารณะมากน้อยแค่ไหน หากโครงการใดอยู่ไม่ห่างจากท่าเรือสาธารณะก็ให้ใช้ท่าเรือสาธารณะ รวมทั้งในระยะยาวก็ให้จัดแผนแม่บทในการก่อสร้าง โดยการร่วมมือจากหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการแบ่งเขตให้ชัดเจน แต่คิดว่าคงจะต้องใช้เวลานานในการดำเนินการ เพราะจะต้องรื้อผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งใหม่ทั้งหมด