ศูนย์ข่าวภูเก็ต - แรงงานภูเก็ตร่วมสำนักงานสถิติสำรวจข้อมูลคนว่างงานพบส่วนใหญ่เป็นหนี้นอกระบบต้องการเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
นายสุทธิพงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงผลสำหรับข้อมูลของผู้ว่างงานและการเป็นหนี้นอกระบบของผู้ว่างงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า สำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต ได้ร่วมกับสำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต สำรวจข้อมูลผู้ว่างงานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จำนวน 564 คน เพื่อต้องการรับทราบถึงปัญหาการว่างงานและความต้องการของผู้ว่างงาน โดยใช้งบประมาณจากโครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ ของกระทรวงแรงงาน
สำหรับผลการสำรวจสรุปได้ว่า จากจำนวนผู้ว่างงาน 564 คน แบ่งเป็นชายร้อยละ 39.4 และเป็นหญิงร้อยละ 60.6 ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 34.1 มีอายุระหว่าง 25-29 ปี รองลงมา คือ มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 34.0 อายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.7 และอายุ 30-34 ปี ร้อยละ 14.2 โดยจบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 41.1 รองลงมาจบการศึกษาระดับอาชีวศึกษา/อนุปริญญาร้อยละ 23.3 มัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 15.9 มัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 10.8 ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า ร้อยละ 8.9
สถานภาพสมรสมากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 65.2 เป็นโสด รองลงมาสมรสแล้ว ร้อยละ 29.3 และที่เหลืออีกร้อยละ 5.5 มีสถานภาพสมรสเป็นหม้าย หย่า และแยกกันอยู่ โดยร้อยละ 41.0 มีทะเบียนอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 59.0 ไม่มีทะเบียนบ้านในจังหวัดภูเก็ต และเมื่อจำแนกตามภูมิลำเนา พบว่า อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเพียงร้อยละ 24.6 ภาคใต้ (ยกเว้นภูเก็ต) ร้อยละ 55.3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 9.6 ภาคกลาง ร้อยละ 5.9 และภาคเหนือร้อยละ 4.6
เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการเคยทำงานของผู้ว่างงาน พบว่า ร้อยละ 16.1 ไม่เคยทำงานมาก่อน ส่วนอีกร้อยละ 83.9 เคยทำงานมาก่อน โดยทำงานเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.8 รองลงมาได้แก่ค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 4.7 ส่วนเหลืออีกร้อยละ 3.5 เป็นลูกจ้างทั่วไปและอื่นๆ
นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจพบว่าสาเหตุของการออกจากงาน เนื่องจากต้องการเปลี่ยนงานหรือหาประสบการณ์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.0 รองลงมาเงินเดือนน้อยหรือต้องการมีรายได้สูงขึ้น ร้อยละ 17.5 เลิกจ้างหรือหมดสัญญาจ้าง ร้อยละ 15.9 ย้ายที่อยู่ร้อยละ 8.2 เลิกกิจการร้อยละ 8.0 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 24.4 มาจากสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ต้องการพักผ่อน กลับไปดูแลพ่อแม่ หรือศึกษาต่อ
ส่วนประเภทของงานที่ผู้ว่างงานต้องการทำ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 89.2 ต้องการทำงานเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน รองลงมาค้าขายหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 6.0 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 4.8 ต้องการทำงานประเภทอื่นๆ ได้แก่ ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รับจ้างทั่วไป
ความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ พบว่า ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับการหางานทำภายในจังหวัดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.6 ทุนประกอบอาชีพ ร้อยละ 20.0 ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานร้อยละ 7.8 ฝึกอาชีพร้อยละ 7.1 พัฒนาฝีมือแรงงาน ร้อยละ 6.2 ไม่ต้องการความช่วยเหลือร้อยละ 2.8 ส่วนที่เหลือร้อยละ 13.5 ต้องการให้ช่วยเหลือเกี่ยวกับการหางานทำต่างประเทศ สนับสนุนอาชีพการเกษตร
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามเกี่ยวกับภาวะหนี้สินของผู้ว่างงานพบว่า ร้อยละ 48.9 ไม่มีหนี้สิน ส่วนอีกร้อยละ 51.1 มีหนี้สิน ซึ่งร้อยละ 38.5 เป็นหนี้สินที่อยู่ในระบบ และอีกร้อยละ 61.5 เป็นหนี้สินนอกระบบ โดยหนี้สินในระบบเฉลี่ยต่อคนประมาณ 139,328 บาท แหล่งที่กู้ส่วนใหญ่มาจากธนาคาร และหนี้สินนอกระบบเฉลี่ยต่อคนประมาณ 27,956 บาท แหล่งที่กู้ส่วนใหญ่มาจากเพื่อน/คนรู้จัก ซึ่งผู้เป็นหนี้ส่วนใหญ่จะนำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนมากที่สุด รองลงมา คือ ใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ใช้ในการศึกษา ใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านที่ดิน รถยนต์ และใช้ในการทำเกษตร
นายสุทธิพงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงผลสำหรับข้อมูลของผู้ว่างงานและการเป็นหนี้นอกระบบของผู้ว่างงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า สำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต ได้ร่วมกับสำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต สำรวจข้อมูลผู้ว่างงานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จำนวน 564 คน เพื่อต้องการรับทราบถึงปัญหาการว่างงานและความต้องการของผู้ว่างงาน โดยใช้งบประมาณจากโครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ ของกระทรวงแรงงาน
สำหรับผลการสำรวจสรุปได้ว่า จากจำนวนผู้ว่างงาน 564 คน แบ่งเป็นชายร้อยละ 39.4 และเป็นหญิงร้อยละ 60.6 ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 34.1 มีอายุระหว่าง 25-29 ปี รองลงมา คือ มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 34.0 อายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.7 และอายุ 30-34 ปี ร้อยละ 14.2 โดยจบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 41.1 รองลงมาจบการศึกษาระดับอาชีวศึกษา/อนุปริญญาร้อยละ 23.3 มัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 15.9 มัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 10.8 ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า ร้อยละ 8.9
สถานภาพสมรสมากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 65.2 เป็นโสด รองลงมาสมรสแล้ว ร้อยละ 29.3 และที่เหลืออีกร้อยละ 5.5 มีสถานภาพสมรสเป็นหม้าย หย่า และแยกกันอยู่ โดยร้อยละ 41.0 มีทะเบียนอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 59.0 ไม่มีทะเบียนบ้านในจังหวัดภูเก็ต และเมื่อจำแนกตามภูมิลำเนา พบว่า อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเพียงร้อยละ 24.6 ภาคใต้ (ยกเว้นภูเก็ต) ร้อยละ 55.3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 9.6 ภาคกลาง ร้อยละ 5.9 และภาคเหนือร้อยละ 4.6
เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการเคยทำงานของผู้ว่างงาน พบว่า ร้อยละ 16.1 ไม่เคยทำงานมาก่อน ส่วนอีกร้อยละ 83.9 เคยทำงานมาก่อน โดยทำงานเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.8 รองลงมาได้แก่ค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 4.7 ส่วนเหลืออีกร้อยละ 3.5 เป็นลูกจ้างทั่วไปและอื่นๆ
นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจพบว่าสาเหตุของการออกจากงาน เนื่องจากต้องการเปลี่ยนงานหรือหาประสบการณ์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.0 รองลงมาเงินเดือนน้อยหรือต้องการมีรายได้สูงขึ้น ร้อยละ 17.5 เลิกจ้างหรือหมดสัญญาจ้าง ร้อยละ 15.9 ย้ายที่อยู่ร้อยละ 8.2 เลิกกิจการร้อยละ 8.0 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 24.4 มาจากสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ต้องการพักผ่อน กลับไปดูแลพ่อแม่ หรือศึกษาต่อ
ส่วนประเภทของงานที่ผู้ว่างงานต้องการทำ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 89.2 ต้องการทำงานเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน รองลงมาค้าขายหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 6.0 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 4.8 ต้องการทำงานประเภทอื่นๆ ได้แก่ ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รับจ้างทั่วไป
ความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ พบว่า ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับการหางานทำภายในจังหวัดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.6 ทุนประกอบอาชีพ ร้อยละ 20.0 ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานร้อยละ 7.8 ฝึกอาชีพร้อยละ 7.1 พัฒนาฝีมือแรงงาน ร้อยละ 6.2 ไม่ต้องการความช่วยเหลือร้อยละ 2.8 ส่วนที่เหลือร้อยละ 13.5 ต้องการให้ช่วยเหลือเกี่ยวกับการหางานทำต่างประเทศ สนับสนุนอาชีพการเกษตร
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามเกี่ยวกับภาวะหนี้สินของผู้ว่างงานพบว่า ร้อยละ 48.9 ไม่มีหนี้สิน ส่วนอีกร้อยละ 51.1 มีหนี้สิน ซึ่งร้อยละ 38.5 เป็นหนี้สินที่อยู่ในระบบ และอีกร้อยละ 61.5 เป็นหนี้สินนอกระบบ โดยหนี้สินในระบบเฉลี่ยต่อคนประมาณ 139,328 บาท แหล่งที่กู้ส่วนใหญ่มาจากธนาคาร และหนี้สินนอกระบบเฉลี่ยต่อคนประมาณ 27,956 บาท แหล่งที่กู้ส่วนใหญ่มาจากเพื่อน/คนรู้จัก ซึ่งผู้เป็นหนี้ส่วนใหญ่จะนำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนมากที่สุด รองลงมา คือ ใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ใช้ในการศึกษา ใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านที่ดิน รถยนต์ และใช้ในการทำเกษตร