ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 4 ประเทศ พร้อมลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตชาวไทยใหม่5ชุมชนเพื่อนำเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
วันนี้ (24 ส.ค.) นายประนูญ สุวรรณภักดี รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงการจัดประชุม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 4 ประเทศ เรื่อง “สิทธิมนุษยชนศึกษา : สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยมีประเทศเข้าร่วมประชุมประกอบด้วยประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ ไทย มีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมโรงแรมเคปพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต
ทั้งนี้ นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต คุญหญิง อัมพร มีศุข กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายประนูญ สุวรรณภักดี รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เข้าร่วม ว่า สถาบันสิทธิมนุษยชนของทั้ง 4 ชาติ ได้มีความร่วมมือกันมาแล้วเป็นเวลา 5 ปี แล้ว และแต่ละประเทศก็จะมีความรับผิดชอบการศึกษาปัญหาที่แตกต่างกัน
ได้แก่ อินโดนีเซีย ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการก่อการร้าย มาเลเซียศึกษาเรื่องของแรงงานข้ามชาติ ฟิลิปปินส์ ศึกษาเรื่องการค้ามนุษย์ ส่วนประเทศไทย ศึกษา เรื่องของสิทธิมนุษยชนศึกษา เกี่ยวกับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งนี้ กำหนดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน 2 ปีต่อครั้ง โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ และจากความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 4 ประเทศมีความเห็นร่วมกันที่จะทำให้การแก้ปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนเป็นผล และอนาคตก็จะได้ขยายความร่วมมือจนครบทั้ง 10 ประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของอาเซียน
การประชุมในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม เน้นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในพื้นที่นำร่องชายฝั่งทะเลอันดามัน ทบทวนบทเรียนจากประสบการณ์การสร้างเครือข่ายสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม บนฐานองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชน เชื่อมโยงการดำเนินการดังกล่าวกับกลไกที่มีอยู่เพื่อยกระดับคุณภาพกิจกรรมระดับท้องถิ่น หาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ
มีดุลยภาพระหว่างแนวคิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมให้รัฐบาล และภาคส่วนต่างๆ นำมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนไปใช้ รวมทั้งเพื่อพัฒนาทักษะและทัศนคติของเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทยและของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอีก 3 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม ทางกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทยในฐานะที่เป็นเจ้าภาพ ได้นำเสนอผลการศึกษา เรื่องของสิทธิมนุษยชนศึกษา : สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากการนำเสนอผลการดำเนินการในช่วงที่ผ่านแล้ว ยังได้มีการลงพื้นที่เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของชุมชนชาวไทยใหม่ใน จ.ภูเก็ต 5แห่ง
ได้แก่ ชุมชนบ้านแหลมหลา ชุมชนหินลูกเดียว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง ชุมชนบ้านสะปำ ชุมชนบ้านเกาะสิเหร่และชุมชนราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งถือเป็นชุมชนที่หลากหลายในการดำรงชีวิตทั้งปัญหาที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค และการประกอบอาชีพ เพื่อจะได้ใช้เป็นต้นแบบของชุมชนที่จะแก้ปัญหา และมาแลกเปลี่ยนระหว่างกันว่าแต่ละประเทศมีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
วันนี้ (24 ส.ค.) นายประนูญ สุวรรณภักดี รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงการจัดประชุม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 4 ประเทศ เรื่อง “สิทธิมนุษยชนศึกษา : สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยมีประเทศเข้าร่วมประชุมประกอบด้วยประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ ไทย มีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมโรงแรมเคปพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต
ทั้งนี้ นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต คุญหญิง อัมพร มีศุข กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายประนูญ สุวรรณภักดี รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เข้าร่วม ว่า สถาบันสิทธิมนุษยชนของทั้ง 4 ชาติ ได้มีความร่วมมือกันมาแล้วเป็นเวลา 5 ปี แล้ว และแต่ละประเทศก็จะมีความรับผิดชอบการศึกษาปัญหาที่แตกต่างกัน
ได้แก่ อินโดนีเซีย ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการก่อการร้าย มาเลเซียศึกษาเรื่องของแรงงานข้ามชาติ ฟิลิปปินส์ ศึกษาเรื่องการค้ามนุษย์ ส่วนประเทศไทย ศึกษา เรื่องของสิทธิมนุษยชนศึกษา เกี่ยวกับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งนี้ กำหนดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน 2 ปีต่อครั้ง โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ และจากความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 4 ประเทศมีความเห็นร่วมกันที่จะทำให้การแก้ปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนเป็นผล และอนาคตก็จะได้ขยายความร่วมมือจนครบทั้ง 10 ประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของอาเซียน
การประชุมในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม เน้นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในพื้นที่นำร่องชายฝั่งทะเลอันดามัน ทบทวนบทเรียนจากประสบการณ์การสร้างเครือข่ายสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม บนฐานองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชน เชื่อมโยงการดำเนินการดังกล่าวกับกลไกที่มีอยู่เพื่อยกระดับคุณภาพกิจกรรมระดับท้องถิ่น หาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ
มีดุลยภาพระหว่างแนวคิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมให้รัฐบาล และภาคส่วนต่างๆ นำมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนไปใช้ รวมทั้งเพื่อพัฒนาทักษะและทัศนคติของเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทยและของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอีก 3 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม ทางกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทยในฐานะที่เป็นเจ้าภาพ ได้นำเสนอผลการศึกษา เรื่องของสิทธิมนุษยชนศึกษา : สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากการนำเสนอผลการดำเนินการในช่วงที่ผ่านแล้ว ยังได้มีการลงพื้นที่เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของชุมชนชาวไทยใหม่ใน จ.ภูเก็ต 5แห่ง
ได้แก่ ชุมชนบ้านแหลมหลา ชุมชนหินลูกเดียว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง ชุมชนบ้านสะปำ ชุมชนบ้านเกาะสิเหร่และชุมชนราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งถือเป็นชุมชนที่หลากหลายในการดำรงชีวิตทั้งปัญหาที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค และการประกอบอาชีพ เพื่อจะได้ใช้เป็นต้นแบบของชุมชนที่จะแก้ปัญหา และมาแลกเปลี่ยนระหว่างกันว่าแต่ละประเทศมีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป