ยะลา - ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา ให้ความเห็น ศอ.บต.โครงสร้างใหม่ ที่จะมาเป็น สบ.ชต. ต้องอาศัยองค์ประกอบในหลายด้าน จึงจะประสบผลสำเร็จ
ภายหลังจากที่ได้มีการประชุมของคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และได้มีการเสนอให้มีการจัดตั้ง สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) แทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา และบูรณาการงานทุกด้านที่เกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายภาคใต้ ให้มาอยู่ภายใต้การบริหารจัดการขององค์กรเดียว เช่น งานในด้านความมั่นคง ความยุติธรรม การแก้ไขปัญหาความยากจนเศรษฐกิจ และ การศึกษา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ขึ้นนั้น
วันนี้ (19 ส.ค.) นายนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา/ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดยะลา และอดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า แนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันนี้ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหาราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือที่เรียกกันว่า ร่างกฎหมายการจัดตั้ง สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.)
ตนเอง และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความคิดเห็นว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการโยกย้ายอำนาจทางทหารมาสู่อำนาจทางพลเรือน ซึ่งพลเรือนได้อำนาจเพิ่มมากขึ้น ส่วนอำนาจทางทหารคงที่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ต้องยอมรับว่า ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมเอาเปรียบประชาชนในทุกๆ ด้าน
ในอดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้น แม้มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นบ้าง แต่ประชาชนก็ยังไม่พอใจ สังเกตจากประชาชนในพื้นที่ยังไม่เข้าหาเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทั้งที่ประชาชนอยากที่จะเข้าหา แต่พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ในทุกระดับทำให้ประชาชนไม่มีความไว้วางใจ เกิดความหวาดระแวง ทุกหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น
ประชาชนในพื้นที่ได้ประเมินความจริงใจในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น คือ หน่วยงานของรัฐยังมีความลำเอียงขาดความยุติธรรม สนับสนุนกลุ้มพวกของตนเป็นที่ตั้ง มีความอคติต่อบุคคลต่างศาสนา ความไม่รู้ไม่เข้าใจในวิถีชีวิตของท้องถิ่นในแต่ละแห่ง รวมทั้งมีการแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์จากท้องถิ่น และเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่
ทั้งนี้ หากสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วนั้น สิ่งที่มีความสำคัญ และต้องมีดังนี้ 1.อำนาจในการบริหารภายใน และภายนอกองค์กร 2.อำนาจในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.อำนาจในการโยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่พึงประสงค์ 4.อำนาจในการให้รางวัลเจ้าหน้าที่รัฐที่มีความยุติธรรมและมีความเหมาะสมในผลงาน 5.อำนาจของภาคประชาชนต่อโครงสร้างใหม่
ส่วนทางด้านความสามารถของผู้บริหาร และคณะ ต้องมี ดังนี้ 1.ความสมารถในการบริหารทั้งภายใน และภายนอกองค์กร 2.ความสามารถในการประสานสัมพันธ์กับภาคประชาชนทุกภาคส่วนในพื้นที่ ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 3.ความสามารถในการสนองความจำเป็นของพื้นที่ตามนโยบายมากกว่าสนองคนเบื้องบน 4.ความสามารถในการแก้ไขปัญหาตรงตามมูลเหตุของปัญหาที่คนในพื้นที่เรียกร้องอย่างทั่วถึงได้ 5.ความสมารถให้คนส่วนกลาง และคนในพื้นที่มีความเข้าใจกันอย่างกลมกลืน (จากปัญหาทั้ง 2 ทางคือ ส่วนกลางไม่เข้าใจคนในพื้นที่ และคนในพื้นที่ยังไม่เข้าใจส่วนกลาง)
6.ความสามารถในการวัดผลประเมินผลทุกระยะในการบริหารจัดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรภายนอก ส่วนทางด้านการเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้นนั้น 1.พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยงาน ทุกระดับชั้น 2.ความเป็นเอกภาพในระบบ ทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรส่วนท้องถิ่น ชุมชน และชมรมในทุกพื้นที่ของ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.การศึกษาต้องมีความสอดคล้องกับท้องถิ่น รายได้เศรษฐกิจจากทรัพยากรท้องถิ่น สังคมใต้ต้องมีความเอื้ออาทร ความสงบ และ ความสันติสุขปราศจากความหวาดระแวง
นายนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ต้องเข้าใจว่า สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) รับผิดชอบงานด้านจิตวิทยาสังคม และงานด้านพัฒนา มิได้รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งระบบ ซึ่งหากตั้งสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ขึ้นมาแล้ว และไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ อาจจะต้องมีการเสนอให้ยุบ สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ได้ โดยจะต้องฟังเสียงจากภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นที่ตั้ง
ภายหลังจากที่ได้มีการประชุมของคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และได้มีการเสนอให้มีการจัดตั้ง สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) แทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา และบูรณาการงานทุกด้านที่เกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายภาคใต้ ให้มาอยู่ภายใต้การบริหารจัดการขององค์กรเดียว เช่น งานในด้านความมั่นคง ความยุติธรรม การแก้ไขปัญหาความยากจนเศรษฐกิจ และ การศึกษา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ขึ้นนั้น
วันนี้ (19 ส.ค.) นายนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา/ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดยะลา และอดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า แนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันนี้ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหาราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือที่เรียกกันว่า ร่างกฎหมายการจัดตั้ง สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.)
ตนเอง และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความคิดเห็นว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการโยกย้ายอำนาจทางทหารมาสู่อำนาจทางพลเรือน ซึ่งพลเรือนได้อำนาจเพิ่มมากขึ้น ส่วนอำนาจทางทหารคงที่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ต้องยอมรับว่า ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมเอาเปรียบประชาชนในทุกๆ ด้าน
ในอดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้น แม้มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นบ้าง แต่ประชาชนก็ยังไม่พอใจ สังเกตจากประชาชนในพื้นที่ยังไม่เข้าหาเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทั้งที่ประชาชนอยากที่จะเข้าหา แต่พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ในทุกระดับทำให้ประชาชนไม่มีความไว้วางใจ เกิดความหวาดระแวง ทุกหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น
ประชาชนในพื้นที่ได้ประเมินความจริงใจในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น คือ หน่วยงานของรัฐยังมีความลำเอียงขาดความยุติธรรม สนับสนุนกลุ้มพวกของตนเป็นที่ตั้ง มีความอคติต่อบุคคลต่างศาสนา ความไม่รู้ไม่เข้าใจในวิถีชีวิตของท้องถิ่นในแต่ละแห่ง รวมทั้งมีการแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์จากท้องถิ่น และเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่
ทั้งนี้ หากสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วนั้น สิ่งที่มีความสำคัญ และต้องมีดังนี้ 1.อำนาจในการบริหารภายใน และภายนอกองค์กร 2.อำนาจในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.อำนาจในการโยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่พึงประสงค์ 4.อำนาจในการให้รางวัลเจ้าหน้าที่รัฐที่มีความยุติธรรมและมีความเหมาะสมในผลงาน 5.อำนาจของภาคประชาชนต่อโครงสร้างใหม่
ส่วนทางด้านความสามารถของผู้บริหาร และคณะ ต้องมี ดังนี้ 1.ความสมารถในการบริหารทั้งภายใน และภายนอกองค์กร 2.ความสามารถในการประสานสัมพันธ์กับภาคประชาชนทุกภาคส่วนในพื้นที่ ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 3.ความสามารถในการสนองความจำเป็นของพื้นที่ตามนโยบายมากกว่าสนองคนเบื้องบน 4.ความสามารถในการแก้ไขปัญหาตรงตามมูลเหตุของปัญหาที่คนในพื้นที่เรียกร้องอย่างทั่วถึงได้ 5.ความสมารถให้คนส่วนกลาง และคนในพื้นที่มีความเข้าใจกันอย่างกลมกลืน (จากปัญหาทั้ง 2 ทางคือ ส่วนกลางไม่เข้าใจคนในพื้นที่ และคนในพื้นที่ยังไม่เข้าใจส่วนกลาง)
6.ความสามารถในการวัดผลประเมินผลทุกระยะในการบริหารจัดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรภายนอก ส่วนทางด้านการเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้นนั้น 1.พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยงาน ทุกระดับชั้น 2.ความเป็นเอกภาพในระบบ ทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรส่วนท้องถิ่น ชุมชน และชมรมในทุกพื้นที่ของ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.การศึกษาต้องมีความสอดคล้องกับท้องถิ่น รายได้เศรษฐกิจจากทรัพยากรท้องถิ่น สังคมใต้ต้องมีความเอื้ออาทร ความสงบ และ ความสันติสุขปราศจากความหวาดระแวง
นายนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ต้องเข้าใจว่า สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) รับผิดชอบงานด้านจิตวิทยาสังคม และงานด้านพัฒนา มิได้รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งระบบ ซึ่งหากตั้งสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ขึ้นมาแล้ว และไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ อาจจะต้องมีการเสนอให้ยุบ สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ได้ โดยจะต้องฟังเสียงจากภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นที่ตั้ง