ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้มีนโยบายกระจายยาโอเซลทามิเวียร์ สู่คลินิกเอกชน เพื่อให้คนสงขลาเข้าถึงยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้อย่างรวดเร็ว และมีมาตรการในการจ่ายยาแก่ผู้ติดเชื้ออย่างเคร่งครัด พร้อมย้ำเรื่องการรับประทานยาให้ครบเพื่อป้องกันการดื้อยา
นายแพทย์สุเทพ วัชรปิยานันทน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2552 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้มีการประชุมเพื่อชี้แจงมาตรการตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข 8 ข้อ ในการเข้าร่วมโครงการเป็นเครือข่ายบริการจ่ายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ในการให้บริการผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยมีคลินิกเข้าประชุมจำนวน 37 แห่ง และสมัครเข้าร่วมโครงการ 7 แห่ง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ของประเทศไทย พบว่าในส่วนภูมิภาค มีแนวโน้มสูงขึ้นทำให้ประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
ดังนั้น การสำรองยาโอเซลทามิเวียร์ไว้ในคลินิกเอกชนเป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงยาโอเซลทามิเวียร์ได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องมีการติดตามการให้ยาอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเน้นย้ำให้ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ฯ รับประทานยาให้ครบตามจำนวนถึงแม้ว่าอาการจะดีขึ้น โดยรับประทานครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้าและเย็น ติดต่อกัน 5 วัน
นายแพทย์สุเทพ กล่าวอีกว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาได้จัดเตรียม ความพร้อมของสถานพยาบาลในส่วนของภาครัฐในการรองรับระบบการส่งต่อ กรณีที่เกินขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลของคลินิกเอกชน และมีการสำรองยาซานามิเวียร์ไว้พร้อมในโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา เพื่อใช้สำหรับกรณีเชื้อดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ จึงขอย้ำให้ผู้ที่มีอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการไม่รุนแรง ได้แก่ มีไข้ต่ำๆ ไม่หอบเหนื่อย ให้หยุดงานหรือหยุดเรียน นอนพักผ่อนที่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น
หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง เช่น มีไข้สูง หอบเหนื่อย อาเจียน ท้องเสีย หรือกินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ให้รีบพบแพทย์ทันที ส่วนกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน หอบหืด โรคไตเรื้อรัง โรคธาลัสซิเมีย โรคเอดส์ มะเร็ง ผู้ที่อ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น หากมีอาการไข้หวัดระยะนี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที
สำหรับผู้ป่วยยืนยันสะสมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของประเทศไทยจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ 28 เมษายน – 2 สิงหาคม 2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 10,043 ราย เสียชีวิต 81 ราย ส่วนจังหวัดสงขลา (10 มิถุนายน – 1 สิงหาคม 2552) มีผู้ป่วยยืนยันสะสมรวม 364 ราย เสียชีวิต 1 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 44 พบในกลุ่มอายุ 11-20 ปี อำเภอหาดใหญ่พบผู้ป่วยสูงสุด ร้อยละ 65.66 รองลงมาคือ อำเภอเมืองสงขลา ร้อยละ 10.71 อำเภอสะเดา อำเภอบางกล่ำ และอำเภอรัตภูมิ ตามลำดับ หากมีปัญหาสงสัยเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สามารถโทรขอรับคำปรึกษาได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 0-7431-1170 หรือสายด่วน 08-7477-8919
นายแพทย์สุเทพ วัชรปิยานันทน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2552 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้มีการประชุมเพื่อชี้แจงมาตรการตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข 8 ข้อ ในการเข้าร่วมโครงการเป็นเครือข่ายบริการจ่ายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ในการให้บริการผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยมีคลินิกเข้าประชุมจำนวน 37 แห่ง และสมัครเข้าร่วมโครงการ 7 แห่ง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ของประเทศไทย พบว่าในส่วนภูมิภาค มีแนวโน้มสูงขึ้นทำให้ประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
ดังนั้น การสำรองยาโอเซลทามิเวียร์ไว้ในคลินิกเอกชนเป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงยาโอเซลทามิเวียร์ได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องมีการติดตามการให้ยาอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเน้นย้ำให้ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ฯ รับประทานยาให้ครบตามจำนวนถึงแม้ว่าอาการจะดีขึ้น โดยรับประทานครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้าและเย็น ติดต่อกัน 5 วัน
นายแพทย์สุเทพ กล่าวอีกว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาได้จัดเตรียม ความพร้อมของสถานพยาบาลในส่วนของภาครัฐในการรองรับระบบการส่งต่อ กรณีที่เกินขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลของคลินิกเอกชน และมีการสำรองยาซานามิเวียร์ไว้พร้อมในโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา เพื่อใช้สำหรับกรณีเชื้อดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ จึงขอย้ำให้ผู้ที่มีอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการไม่รุนแรง ได้แก่ มีไข้ต่ำๆ ไม่หอบเหนื่อย ให้หยุดงานหรือหยุดเรียน นอนพักผ่อนที่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น
หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง เช่น มีไข้สูง หอบเหนื่อย อาเจียน ท้องเสีย หรือกินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ให้รีบพบแพทย์ทันที ส่วนกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน หอบหืด โรคไตเรื้อรัง โรคธาลัสซิเมีย โรคเอดส์ มะเร็ง ผู้ที่อ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น หากมีอาการไข้หวัดระยะนี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที
สำหรับผู้ป่วยยืนยันสะสมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของประเทศไทยจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ 28 เมษายน – 2 สิงหาคม 2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 10,043 ราย เสียชีวิต 81 ราย ส่วนจังหวัดสงขลา (10 มิถุนายน – 1 สิงหาคม 2552) มีผู้ป่วยยืนยันสะสมรวม 364 ราย เสียชีวิต 1 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 44 พบในกลุ่มอายุ 11-20 ปี อำเภอหาดใหญ่พบผู้ป่วยสูงสุด ร้อยละ 65.66 รองลงมาคือ อำเภอเมืองสงขลา ร้อยละ 10.71 อำเภอสะเดา อำเภอบางกล่ำ และอำเภอรัตภูมิ ตามลำดับ หากมีปัญหาสงสัยเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สามารถโทรขอรับคำปรึกษาได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 0-7431-1170 หรือสายด่วน 08-7477-8919