ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – องค์กรมุสลิมแห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรมุสลิมอีกหลายหน่วยงานในจังหวัดชายแดนใต้ ร่วมกันเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี และยื่นข้อเสนอให้กับนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งหาผู้กระทำความผิด เหตุยิงถล่มมัสยิดไอร์ปาแยมาลงโทษอย่างเร่งด้วยเพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ
วันนี้ (2 ส.ค.) หลังจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดงานมกรรมเปิดโลกฮาลาล วัฒนธรรมสัมพันธ์ ที่มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา ได้มีจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีใจความว่า
เรื่อง ขอให้รัฐบาลทบทวนการทำงานและเร่งรัดหาผู้กระทำผิด กรณีลอบสังหารหมู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่มัสยิดอัลฟุรกอน หมู่บ้านไอร์ปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
สืบเนื่องจากความขัดแย้งและความรุนแรงรายวันในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐบาลพยายามกำกับดูแลแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทนำของกองทัพในขณะนี้นั้น ยังไม่สามารถควบคุมแก้ไขและเยียวยาสถานการณ์ในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกรณีโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นที่มัสยิดอัลฟุรกอน หมู่บ้านไอร์ปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2552 เวลาประมาณ 20.30 น.ขณะที่ประชาชน ประมาณ 20 กว่าคน กำลังประกอบพิธีละหมาดตามหลักศาสนาอิสลาม ได้มีคนร้ายไม่ทราบกลุ่มและจำนวน ใช้อาวุธสงครามยิงกราดเข้าไปในมัสยิด เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 10 คน และบาดเจ็บอีก 12 คน
เหตุการณ์ดังกล่าวได้ผ่านมาเกือบครบ 3 เดือนแล้วแม้จะมีการออกหมายจับผู้ต้องสงสัยแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามแระบวนการยุติธรรมได้ ในความล่าช้าของการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้ง ความเกลียดชังและความไม่ไว้วางใจ ระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ และระหว่างประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามกับที่นับถือศาสนาพุทธในพื้นที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่สถานการณ์ที่ขยายขอบเขตจนยากต่อการควบคุมได้ในอนาคต อีกทั้งเหตุการณ์ดังกล่าวยังเป็นที่สนใจของมุสลิมทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะองค์กรสิทธิมนุษยชน รวมถึงองค์กรมุสลิมระหว่างประเทศเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างโปร่งใสและเร่งด่วน
องค์กรภาคประชาชนดังรายนามด้านท้ายนี้ ขอประนาฌผู้ก่อความรุนแรง โหดร้าย ป่าเถื่อน ไม่ว่าจะมาจากกลุ่มบุคคลใดก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและร่างกายของประชาชนผู้บริสุทธิ์ รวมถึงกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนในสังคมไทย และนานาชาติเป็นอย่างมาก เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ จากอาชญากรรม ความรุนแรงในทุกๆเหตุการณ์ โดยเฉพาะในครั้งนี้ที่ฆาตกรได้กระทำอย่างโหดร้าย ป่าเถื่อน กับผู้ที่กำลังประกอบพิธีทางศาสนา และเพื่อให้สังคมของเราเกิดสันติสุข จึงขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีรีบดำเนินการดังต่อไปนี้
1.ขอให้การจัดตั้งคณะกรรมการอิสระ ที่ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากภาครัฐและตัวแทนจากภาครัฐประชาชน บูรณาการร่วมกันสืบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อนำผู้กระทำผิดหรือผู้มีส่วนร่วมในการก่อการฆาตกรรมหมู่ครั้งนี้ มาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมโดยเร่งด่วน
2.ขอให้รัฐบาลปฏิรูปการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ เพราะเป็นที่ชัดเจนว่ายังใช้นโยบายการทหารนำการเมืองอยู่ กองทัพเป็นหน่วยงานหลักที่บังคับให้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ ทั้งกฏอัยการศึก และ พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 แต่ในข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าตลอดระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมาเหตุการณ์ความรุนแรงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง นโยบาย ดังกล่าวประสบความล้มเหลวในการทำงานโดยเฉพาะการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน กลับสร้างความหมดระแวงในหมู่ประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐมากยิ่งขึ้น ทั้งยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม องค์กรภาคประชาชนจึงขอให้รัฐแก้ไขปัญหาโดยใช้นโยบายการเมืองนำการทหารอย่างจริงจัง โดยการเพิ่มอำนาจและบทบาทในการควบคุมตรวจสอบของฝ่ายพลเรือนและภาคประชาชนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากประชาชนรวมถึงทบทวนและประเมินการใช้ พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป จนเห็นเหตุให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
3.ขอให้รัฐบาลดำเนินการปลดอาวุธของพลเรือนที่ไร้สังกัดทุกฝ่ายโดยเร่งด่วน รวมทั้งยกเลอกนโยบายการติดอาวุธแก่พลเรือนทุกฝ่ายด้วย เนื่องจากรัฐยังไม่มีหลักประกันที่เพียงพอในอันที่จะควบคุมสถานการณ์ได้หากประชาชนที่ติดอาวุธไร้สักกัดเหล่านั้น นำอาวุธไปใช้การก่อเหตุร้ายและสร้างความรุนแรงเสียเอง
4.ขอให้รัฐบาลรีบดำเนินการเยียวยาต่อผู้ได้รับผลกระทบอย่างเสมอภาคและเหมาะสมโดยด่วน
ลงนามโดย สภาองค์กรมุสลิมแห่งประเทศไทย, สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย,มูลนิธอผสานวัฒนธรรม, มูลนิธิวัฒนธรรมอิลามภาคใต้, โครงการสื่อสันติภาพเพื่อลดความรุนแรง, ศูนย์ทนายความมุสลิม, สมาคมจันทร์เสี้ยว การแพทย์และสาธารณสุข, สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนใต้, เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน, องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, สถาบัน อัสสลาม, ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล, เครือข่ายวิทยุชุมชนมุสลิม จ.ยะลา, เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยททนายความ ศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดชายแดนใต้, เครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ, สมาคมมุสลิมปัตตานี, เครือข่ายชุมชนศรัทธา, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลาและคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส
วันนี้ (2 ส.ค.) หลังจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดงานมกรรมเปิดโลกฮาลาล วัฒนธรรมสัมพันธ์ ที่มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา ได้มีจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีใจความว่า
เรื่อง ขอให้รัฐบาลทบทวนการทำงานและเร่งรัดหาผู้กระทำผิด กรณีลอบสังหารหมู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่มัสยิดอัลฟุรกอน หมู่บ้านไอร์ปาแย อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
สืบเนื่องจากความขัดแย้งและความรุนแรงรายวันในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐบาลพยายามกำกับดูแลแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทนำของกองทัพในขณะนี้นั้น ยังไม่สามารถควบคุมแก้ไขและเยียวยาสถานการณ์ในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกรณีโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นที่มัสยิดอัลฟุรกอน หมู่บ้านไอร์ปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2552 เวลาประมาณ 20.30 น.ขณะที่ประชาชน ประมาณ 20 กว่าคน กำลังประกอบพิธีละหมาดตามหลักศาสนาอิสลาม ได้มีคนร้ายไม่ทราบกลุ่มและจำนวน ใช้อาวุธสงครามยิงกราดเข้าไปในมัสยิด เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 10 คน และบาดเจ็บอีก 12 คน
เหตุการณ์ดังกล่าวได้ผ่านมาเกือบครบ 3 เดือนแล้วแม้จะมีการออกหมายจับผู้ต้องสงสัยแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามแระบวนการยุติธรรมได้ ในความล่าช้าของการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้ง ความเกลียดชังและความไม่ไว้วางใจ ระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ และระหว่างประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามกับที่นับถือศาสนาพุทธในพื้นที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่สถานการณ์ที่ขยายขอบเขตจนยากต่อการควบคุมได้ในอนาคต อีกทั้งเหตุการณ์ดังกล่าวยังเป็นที่สนใจของมุสลิมทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะองค์กรสิทธิมนุษยชน รวมถึงองค์กรมุสลิมระหว่างประเทศเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างโปร่งใสและเร่งด่วน
องค์กรภาคประชาชนดังรายนามด้านท้ายนี้ ขอประนาฌผู้ก่อความรุนแรง โหดร้าย ป่าเถื่อน ไม่ว่าจะมาจากกลุ่มบุคคลใดก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและร่างกายของประชาชนผู้บริสุทธิ์ รวมถึงกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนในสังคมไทย และนานาชาติเป็นอย่างมาก เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ จากอาชญากรรม ความรุนแรงในทุกๆเหตุการณ์ โดยเฉพาะในครั้งนี้ที่ฆาตกรได้กระทำอย่างโหดร้าย ป่าเถื่อน กับผู้ที่กำลังประกอบพิธีทางศาสนา และเพื่อให้สังคมของเราเกิดสันติสุข จึงขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีรีบดำเนินการดังต่อไปนี้
1.ขอให้การจัดตั้งคณะกรรมการอิสระ ที่ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากภาครัฐและตัวแทนจากภาครัฐประชาชน บูรณาการร่วมกันสืบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อนำผู้กระทำผิดหรือผู้มีส่วนร่วมในการก่อการฆาตกรรมหมู่ครั้งนี้ มาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมโดยเร่งด่วน
2.ขอให้รัฐบาลปฏิรูปการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ เพราะเป็นที่ชัดเจนว่ายังใช้นโยบายการทหารนำการเมืองอยู่ กองทัพเป็นหน่วยงานหลักที่บังคับให้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ ทั้งกฏอัยการศึก และ พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 แต่ในข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าตลอดระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมาเหตุการณ์ความรุนแรงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง นโยบาย ดังกล่าวประสบความล้มเหลวในการทำงานโดยเฉพาะการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน กลับสร้างความหมดระแวงในหมู่ประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐมากยิ่งขึ้น ทั้งยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม องค์กรภาคประชาชนจึงขอให้รัฐแก้ไขปัญหาโดยใช้นโยบายการเมืองนำการทหารอย่างจริงจัง โดยการเพิ่มอำนาจและบทบาทในการควบคุมตรวจสอบของฝ่ายพลเรือนและภาคประชาชนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากประชาชนรวมถึงทบทวนและประเมินการใช้ พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป จนเห็นเหตุให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
3.ขอให้รัฐบาลดำเนินการปลดอาวุธของพลเรือนที่ไร้สังกัดทุกฝ่ายโดยเร่งด่วน รวมทั้งยกเลอกนโยบายการติดอาวุธแก่พลเรือนทุกฝ่ายด้วย เนื่องจากรัฐยังไม่มีหลักประกันที่เพียงพอในอันที่จะควบคุมสถานการณ์ได้หากประชาชนที่ติดอาวุธไร้สักกัดเหล่านั้น นำอาวุธไปใช้การก่อเหตุร้ายและสร้างความรุนแรงเสียเอง
4.ขอให้รัฐบาลรีบดำเนินการเยียวยาต่อผู้ได้รับผลกระทบอย่างเสมอภาคและเหมาะสมโดยด่วน
ลงนามโดย สภาองค์กรมุสลิมแห่งประเทศไทย, สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย,มูลนิธอผสานวัฒนธรรม, มูลนิธิวัฒนธรรมอิลามภาคใต้, โครงการสื่อสันติภาพเพื่อลดความรุนแรง, ศูนย์ทนายความมุสลิม, สมาคมจันทร์เสี้ยว การแพทย์และสาธารณสุข, สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนใต้, เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน, องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, สถาบัน อัสสลาม, ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล, เครือข่ายวิทยุชุมชนมุสลิม จ.ยะลา, เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยททนายความ ศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดชายแดนใต้, เครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ, สมาคมมุสลิมปัตตานี, เครือข่ายชุมชนศรัทธา, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลาและคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส