กระบี่- กรมประมงให้ความรู้ชาวประมง และผู้ประกอบการส่งออกอาหารทะเลไปประเทศกลุ่มประเทศอียู 27 ประเทศ จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ เริ่มใช้ 1 ม.ค.53
เวลา 14.00 น.วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมโรงแรมบุญสยาม อ.เมือง จ.กระบี่ ทางกรมประมงได้จัดสัมมนาเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกฎระเบียบฉบับใหม่ของสหภาพยุโรปว่าด้วยการป้องกันและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU FISHING) โดยมี ดร.จุมพล สงวนสิน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ ดร.นันทิยา อุ่นประเสริฐ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ โดยมีผู้ประกอบการด้านการประมง และชาวประมง จากจังหวัด ตรัง พังงา ภูเก็ตและกระบี่เข้าร่วมประมาณ 200 คน
ดร.จุมพล สงวนสิน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง กล่าวว่า กฎระเบียบใหม่ของอียูที่จะออกมาบังคับใช้ เพื่อป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและการควบคุม ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นกับชาวประมงและผู้ประกอบการในประเทศไทย ก็คือ จะต้องเพิ่มกระบวนการในการดำเนินการตามที่ทางอียูกำหนด ซึ่งจะเป็นผลที่ดีต่อชาวประมงและผู้ส่งออกหารทะเล ที่จะส่งสินค้าไปให้อียูได้ แต่เพียงเกิดภาระขึ้นในการทำเอกสารต่างๆเท่านั้น เช่นการทำเอกสารรับรองการทำประมงที่ไม่ใช่ไอยูยู (IUU) การทำบันทึกการทำประมงของชาวประมง ทั้งนี้ การดำเนินเพื่อให้สามารถตรวจย้อนกลับไปได้ว่าสินค้าที่ส่งออกไปยังในเครืออียูไม่ใช่สินค้าการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
สำหรับขั้นตอนการดำเนินการซึ่งคาดว่าจะไม่ยุ่งยาก พยายามปรับปรุงดำเนินการวิธีที่เหมาะสม สำหรับการบังคับใช้ของอียูจะมีการบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2553 สำหรับในส่วนของกุ้งเลี้ยงไม่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์นี้
ด้าน นายมานิต ดำกุล นายกสมาคมชาวประมงจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการให้เป็นไปตามที่ประเทศในกลุ่มอียูประมาณ 27 ประเทศเป็นไปได้ และต้องเป็นอยู่แล้ว เพื่อทำให้ถูกต้องซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหารทะเลที่ต้องการขายส่งออกไม่ถูกกีดกัน เช่นเดียวกับการเลี้ยงกุ้งที่เข้าระบบไปแล้วที่มีที่มาชัดเจน เมื่อจับกุ้งต้องขออนุญาตการขาย เช่นเดียวกันเรือประมงต้องขออนุญาตพื้นที่การจับสัตว์น้ำ และการขออนุญาตการขึ้นแพปลา ต้องทำให้ถูกต้อง ซึ่งต่อไปสัตว์น้ำทะเล จะมีที่มาชัดเจน
“การจัดการบริหารสัตว์น้ำจะง่ายขึ้น ถ้าเราไม่ทำก็จะส่งออกไม่ได้ ประมงพื้นบ้านเช่นเดียวกันก็จะต้องเข้าระบบ แต่ในช่วงแรกอาจจะมีปัญหาความไม่เข้าใจในเรื่องของเอกสารหลักฐาน แต่เชื่อว่าเมื่อใช้ไปสักระยะก็คงจะเข้าใจสำหรับสัตว์น้ำปลาทะเลที่ชาวประมงจังหวัดกระบี่จับได้ในแต่เดือนมีไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัน มูลค่าหลายร้อยล้านบาท”นายมานิต กล่าว
เวลา 14.00 น.วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมโรงแรมบุญสยาม อ.เมือง จ.กระบี่ ทางกรมประมงได้จัดสัมมนาเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกฎระเบียบฉบับใหม่ของสหภาพยุโรปว่าด้วยการป้องกันและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU FISHING) โดยมี ดร.จุมพล สงวนสิน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ ดร.นันทิยา อุ่นประเสริฐ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ โดยมีผู้ประกอบการด้านการประมง และชาวประมง จากจังหวัด ตรัง พังงา ภูเก็ตและกระบี่เข้าร่วมประมาณ 200 คน
ดร.จุมพล สงวนสิน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง กล่าวว่า กฎระเบียบใหม่ของอียูที่จะออกมาบังคับใช้ เพื่อป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและการควบคุม ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นกับชาวประมงและผู้ประกอบการในประเทศไทย ก็คือ จะต้องเพิ่มกระบวนการในการดำเนินการตามที่ทางอียูกำหนด ซึ่งจะเป็นผลที่ดีต่อชาวประมงและผู้ส่งออกหารทะเล ที่จะส่งสินค้าไปให้อียูได้ แต่เพียงเกิดภาระขึ้นในการทำเอกสารต่างๆเท่านั้น เช่นการทำเอกสารรับรองการทำประมงที่ไม่ใช่ไอยูยู (IUU) การทำบันทึกการทำประมงของชาวประมง ทั้งนี้ การดำเนินเพื่อให้สามารถตรวจย้อนกลับไปได้ว่าสินค้าที่ส่งออกไปยังในเครืออียูไม่ใช่สินค้าการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
สำหรับขั้นตอนการดำเนินการซึ่งคาดว่าจะไม่ยุ่งยาก พยายามปรับปรุงดำเนินการวิธีที่เหมาะสม สำหรับการบังคับใช้ของอียูจะมีการบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2553 สำหรับในส่วนของกุ้งเลี้ยงไม่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์นี้
ด้าน นายมานิต ดำกุล นายกสมาคมชาวประมงจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการให้เป็นไปตามที่ประเทศในกลุ่มอียูประมาณ 27 ประเทศเป็นไปได้ และต้องเป็นอยู่แล้ว เพื่อทำให้ถูกต้องซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหารทะเลที่ต้องการขายส่งออกไม่ถูกกีดกัน เช่นเดียวกับการเลี้ยงกุ้งที่เข้าระบบไปแล้วที่มีที่มาชัดเจน เมื่อจับกุ้งต้องขออนุญาตการขาย เช่นเดียวกันเรือประมงต้องขออนุญาตพื้นที่การจับสัตว์น้ำ และการขออนุญาตการขึ้นแพปลา ต้องทำให้ถูกต้อง ซึ่งต่อไปสัตว์น้ำทะเล จะมีที่มาชัดเจน
“การจัดการบริหารสัตว์น้ำจะง่ายขึ้น ถ้าเราไม่ทำก็จะส่งออกไม่ได้ ประมงพื้นบ้านเช่นเดียวกันก็จะต้องเข้าระบบ แต่ในช่วงแรกอาจจะมีปัญหาความไม่เข้าใจในเรื่องของเอกสารหลักฐาน แต่เชื่อว่าเมื่อใช้ไปสักระยะก็คงจะเข้าใจสำหรับสัตว์น้ำปลาทะเลที่ชาวประมงจังหวัดกระบี่จับได้ในแต่เดือนมีไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัน มูลค่าหลายร้อยล้านบาท”นายมานิต กล่าว