xs
xsm
sm
md
lg

รองผู้ว่ายะลาชี้เหตุทำร้ายผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 70 มาจากเหตุเรื่องส่วนตัว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยะลา - รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา (ฝ่ายความมั่นคง) ชี้ เหตุการณ์การลอบทำร้าย ผู้นำท้องถิ่น และผู้บริหารในองค์กรส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 70 มาจากเหตุเรื่องส่วนตัว

สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จังหวัดสงขลา เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งประชาชนผู้บริสุทธิ์ ต้องเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการก่อเหตุร้ายต่อ ผู้นำท้องถิ่น และผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไม่น้อยเช่นกัน นั้น

วันนี้ (6 มิ.ย.) นายกฤษฏา บุญราช รอง ผวจ.ยะลา ฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดยะลา หรือในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น ทางจังหวัดยะลา โดย นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้มอบหมายให้ตนเองรวบรวมสำนวนคดีที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ซึ่งตอนที่เกิดปัญหาความไม่สงบใหม่ ๆ ภาพออกมา เป็นเหตุยิงกัน ฆ่ากัน หรือเป็นการลอบวางเพลิงโรงเรียน การลอบวางเพลิงสถานที่ราชการต่าง ๆ

ดูเหมือนเป็นปัญหาความไม่สงบ หรือคล้ายกับเรื่องแบ่งแยกดินแดน แต่เมื่อไปตรวจสอบในสำนวนคดี จริงๆ แล้ว เมื่อให้เวลาพนักงานสอบสวนแล้ว พบว่าหลายเหตุการณ์ เกิดจากความคัดแย้งส่วนตัว หรือความคัดแย้งในการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น หรือว่า ผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องของยาเสพติด ซึ่งมีผลให้ประชาชนมาทะเลาะกัน และใช้ความรุนแรงเข้าหากัน

ซึ่งเหตุการณเหล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดยะลา รวมทั้งจังหวัดอื่น ก็เช่นเดียวกัน ความรุนแรงก็เหมือนกัน แต่ไม่ได้เป็นข่าวออกมา พอมาเกิดขึ้นในพื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เลยดูเป็นข่าวขึ้น ในขณะนี้ทางจังหวัดยะลา กำลังเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละชุมชน โดยให้ผู้นำชุมชน ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา สมาชิก อบต. หรือ ผู้อาวุโสประจำหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านนับถือ มาประชุมหารือกัน เพื่อกำหนด กฎกติกา เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในหมู่บ้าน

มีการวางระเบียบ กฎเกณฑ์ภายในหมู่บ้าน เหมือนในอดีตที่พี่น้องชาวมุสลิมในพื้นที่ ใช้ กฎฮูกมปากะ (กติกาหมู่บ้าน) โดยให้ผู้นำในชุมชนตั้งกฎกติกา แล้วนำมาใช้ในการควบคุมพฤติกรรม ของบุคคลในหมู่บ้านว่า ถึงเวลาหาเสียง ต้องหาเสียงยังไง ในรูปแบบไหน เพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะกัน หรือแม้ว่า การลักเล็กขโมยน้อย เรื่องยาเสพติด เมื่อมีในหมู่บ้านแล้วต้องทำยังไง ซึ่งในพื้นที่ของจังหวัดยะลา มีหมู่บ้านเข้าร่วมใช้กฎ ฮุกมปากะห์ จำนวน 108 หมู่บ้านในระยะเวลา 9 เดือน 60 เปอร์เซ็นต์ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

เช่นในพื้นที่ มี ต.บุดี อ.เมืองยะลา ในอดีตมีปัญหาเรื่องการลักขโมย ชาวบ้านขัดแย้งเป็น 2 กลุ่ม และ เรื่องของยาเสพติด ในขณะนี้ชาวบ้านสมารถแก้ปัญหาของยาเสพติดได้ ชาวบ้านที่เคยขัดแย้งกัน 2 กลุ่ม ก็กลับมาเข้าใจกัน ร่วมพัฒนาหมู่บ้าน ถ้าแยกสาเหตุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดยะลา มีจำนวน 6 สาเหตุ คือ อุดมการณ์การใช้ความรุนแรง การไม่พอใจเจ้าหน้าที่รัฐ และ อีกหลายส่วน เช่นความขัดแย้งส่วนตัว เรื่องผลประโยชน์ หรือ เรื่องยาเสพติด การทุจริตคอรัปชั่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นำมาซึ่งความขัดแย้งรวมทั้งการหาเสียงในการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น จำพวกนี้เป็นปัจจัยสำคัญ และพบว่ามีบางเหตุการณ์ที่คนในหมู่บ้าน 2 กลุ่ม ทะเลาะกัน แล้วไปเอาคนนอกพื้นที่ หรือกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ มาลอบยิง หรือลอบทำร้ายคนภายในหมู่บ้านซึ่งดูแล้วก็เป็นเหมือนการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ แต่แท้ที่จริงแล้วรากฐานเกิดจากความขัดแย้งส่วนตัว หรือ การแข่งขันกันในการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นเท่านั้นเอง
กำลังโหลดความคิดเห็น