กระบี่- จังหวัดกระบี่นำร่องผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเพื่อพลังงานอย่างยั่งยืน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาเป้าโจมตี ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและ ทำลายป่า
วันนี้ (1 มิ.ย.) ที่ห้องธารา โรงแรมกระบี่มาริไทม์ ปาร์ค แอนด์สปา รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนอย่าง เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม มีความรู้ความเข้าใจ ในการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้จำนวน 150 คน
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลปลายประการ ได้แก่ราคาพลังงานจากฟอสซิลที่ถีบตัวสูงขึ้น ประเด็นเรื่องของการปกป้องสภาพภูมิอากาศและความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งนำไปสู่การผลิตพลังงานจากน้ำมันพืช รวมทั้งมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐหลายๆประเทศ เช่น ในประเทศเยอรมนี NaWaRo-กฎหมายโบนัสแหล่งพลังงานทดแทน (EEG) และโควตาผสมผสานด้านพลังงาน
การปลูกปาล์มที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องกำลังตกเป็นเป้าโจมตีจากหลายฝ่าย ที่กล่าวหาว่าระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวนั้น ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และยังมีส่วนทำลายพื้นที่ป่ารวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทของพลังงานชีวภาพที่ส่งผลต่อการแกว่งตัวของราคาสินค้าเกษตรในวิกฤติการณ์อาหารเมื่อช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา และการรายงานการทำงานในสภาพที่เลวร้ายในสวนปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบและเสริมสร้างข้อดี จึงได้มีการเจรจาและส่งเสริมมาตรฐานความยั่งยืนและระบบรับรองมาตรฐานพลังงานชีวภาพทั่วโลกขึ้น ส่วนบริษัทผู้จัดหาพลังงานทั้งหลายก็พยายามซื้อน้ำมันพืชที่ผลิตอย่างยั่งยืนและผ่านการรับรองมาตรฐานในตลาดโลกเพื่อนำมาผลิตพลังงานชีวภาพ พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อน ซึ่งระบบรับรองมาตรฐานที่มีที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด คือ RSPO
จากเหตุดังกล่าวทางกระทรวงสิ่งแวดล้อมคุ้มครองธรรมชาติและความปลอดภัยทางปรมาณู แห่งประเทศเยอรมนี ได้มอบหมายให้ GTZ ดำเนินงานโครงการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อใช้เป็นพลังงานชีวภาพในประเทศไทยเป็นเวลา 3 ปี โดยร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (สศอ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มที่ได้มาตรฐานเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากยุโรป และเพื่อแสดงให้เห็นว่าการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานชีวภาพสามารถป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมได้ รวมทั้งโครงการฯยังได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าร่วมโครงการด้วย
นายมณฑล กล่าวอีก สำหรับเป้าหมายของโครงการมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ การจัดตั้งองค์กรและระบบบริหารจัดการคุณภาพเพื่อให้บริการรับรองคุณภาพแก่กลุ่มผู้ประกอบการผลิตน้ำมันปาล์มรายย่อยในประเทศไทย ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยพัฒนาโครงสร้างองค์กรเพื่อการรับรองมาตรฐาน จัดการฝึกอบรมกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสวนปาล์มที่จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยน ส่วนที่สอง ของโครงการเป็นการเสริมสร้างให้เกิดมาตรฐาน RSPO ที่เป็นรูปธรรมในประเทศไทยและปรับให้เหมาะสมกับข้อบังคับมาตรฐานการใช้ประโยชน์ชีวมวลของยุโรป มาตรฐาน RSPO จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเจรจา ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียจากหลายภาคส่วนเพื่อร่วมกันปรับให้มีมาตรฐานสากล เหมาะสมกับประทศไทย
โครงการฯจะดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนที่เดินทางการพัฒนาการผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศไทยของคณะกรรมการน้ำมันปาล์มแห่งชาติ ทั้งนี้ได้คัดเลือกจังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดนำร่อง โดยร่วมดำเนินงานร่วมกับหน่วยราชการของจังหวัดกระบี่ และองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ม.เกษตรศาสตร์ สหกรณ์ท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชนฯ ในการดำเนินการ และจะขยายผลการดำเนินการไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง และนครศรีธรรมราช ต่อไป
วันนี้ (1 มิ.ย.) ที่ห้องธารา โรงแรมกระบี่มาริไทม์ ปาร์ค แอนด์สปา รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนอย่าง เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม มีความรู้ความเข้าใจ ในการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้จำนวน 150 คน
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลปลายประการ ได้แก่ราคาพลังงานจากฟอสซิลที่ถีบตัวสูงขึ้น ประเด็นเรื่องของการปกป้องสภาพภูมิอากาศและความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งนำไปสู่การผลิตพลังงานจากน้ำมันพืช รวมทั้งมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐหลายๆประเทศ เช่น ในประเทศเยอรมนี NaWaRo-กฎหมายโบนัสแหล่งพลังงานทดแทน (EEG) และโควตาผสมผสานด้านพลังงาน
การปลูกปาล์มที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องกำลังตกเป็นเป้าโจมตีจากหลายฝ่าย ที่กล่าวหาว่าระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวนั้น ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และยังมีส่วนทำลายพื้นที่ป่ารวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทของพลังงานชีวภาพที่ส่งผลต่อการแกว่งตัวของราคาสินค้าเกษตรในวิกฤติการณ์อาหารเมื่อช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา และการรายงานการทำงานในสภาพที่เลวร้ายในสวนปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบและเสริมสร้างข้อดี จึงได้มีการเจรจาและส่งเสริมมาตรฐานความยั่งยืนและระบบรับรองมาตรฐานพลังงานชีวภาพทั่วโลกขึ้น ส่วนบริษัทผู้จัดหาพลังงานทั้งหลายก็พยายามซื้อน้ำมันพืชที่ผลิตอย่างยั่งยืนและผ่านการรับรองมาตรฐานในตลาดโลกเพื่อนำมาผลิตพลังงานชีวภาพ พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อน ซึ่งระบบรับรองมาตรฐานที่มีที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด คือ RSPO
จากเหตุดังกล่าวทางกระทรวงสิ่งแวดล้อมคุ้มครองธรรมชาติและความปลอดภัยทางปรมาณู แห่งประเทศเยอรมนี ได้มอบหมายให้ GTZ ดำเนินงานโครงการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อใช้เป็นพลังงานชีวภาพในประเทศไทยเป็นเวลา 3 ปี โดยร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (สศอ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มที่ได้มาตรฐานเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากยุโรป และเพื่อแสดงให้เห็นว่าการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานชีวภาพสามารถป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมได้ รวมทั้งโครงการฯยังได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าร่วมโครงการด้วย
นายมณฑล กล่าวอีก สำหรับเป้าหมายของโครงการมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ การจัดตั้งองค์กรและระบบบริหารจัดการคุณภาพเพื่อให้บริการรับรองคุณภาพแก่กลุ่มผู้ประกอบการผลิตน้ำมันปาล์มรายย่อยในประเทศไทย ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยพัฒนาโครงสร้างองค์กรเพื่อการรับรองมาตรฐาน จัดการฝึกอบรมกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสวนปาล์มที่จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยน ส่วนที่สอง ของโครงการเป็นการเสริมสร้างให้เกิดมาตรฐาน RSPO ที่เป็นรูปธรรมในประเทศไทยและปรับให้เหมาะสมกับข้อบังคับมาตรฐานการใช้ประโยชน์ชีวมวลของยุโรป มาตรฐาน RSPO จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเจรจา ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียจากหลายภาคส่วนเพื่อร่วมกันปรับให้มีมาตรฐานสากล เหมาะสมกับประทศไทย
โครงการฯจะดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนที่เดินทางการพัฒนาการผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศไทยของคณะกรรมการน้ำมันปาล์มแห่งชาติ ทั้งนี้ได้คัดเลือกจังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดนำร่อง โดยร่วมดำเนินงานร่วมกับหน่วยราชการของจังหวัดกระบี่ และองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ม.เกษตรศาสตร์ สหกรณ์ท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชนฯ ในการดำเนินการ และจะขยายผลการดำเนินการไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง และนครศรีธรรมราช ต่อไป