สตูล - สำนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ 5 และที่ 8 เสริมกำลังช่วยกำจัดยุงลายตัวแก่และควบคุมโรคชิคุนกุนยาที่ระบาดเพิ่มในพื้นที่สตูล ขณะที่ชาวบ้านยอมรับใช้สูตรยาเขียวผสมน้ำมะพร้าวแก้โรคปวดข้อรักษากันเอง หากอาการหนักก็ไปฉีดยาตามคลินิกในหมู่บ้านเข็มละ 400-500 บาท มากกว่าเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
วันที่ (20 พ.ค.) ทีมควบคุมโรคจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชศรีมา ร่วมกับหน่วยควบคุมโรคติดต่อที่ 8 อ.ควนกาหลง และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล นำรถออกพ่นสารเคมีทำลายยุงตัวแก่ในสวนและตามบ้านเรือนในพื้นที่ ต.บ้านควน อ.เมืองสตูล ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สีแดงหลังพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาอย่างหนักในพื้นที่ดังกล่าว
ขณะที่ชาวบ้านในละแวกยืนยันว่ามีการระบาดของโรคชิคุนกุนยารวดเร็วมากนานกว่า 2 เดือนแล้วและขณะนี้หลายครอบครัวก็ยังติดกันงอมแงม ซึ่งชาวบ้านเองก็หาวิธีในการรักษาและป้องกันกันเอง บ้างก็หาซื้อยาตามร้านมากินเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะยาพารา และยาเขียวที่มีการซื้อไปผสมกับน้ำมะพร้าวที่เชื่อว่าจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อได้ดี
นอกจากนี้ หากอาการหนักนั้นนายอับดุลลาเต๊ะ ปาลาวัน อายุ 52 ปี บ้านเลขที่ 52 หมู่ 7 ต.บ้านควน ที่เพิ่งหายจากโรคชิคุนกุนยาบอกว่า ชาวบ้านจะไปรักษาที่คลินิกในหมู่บ้านให้ฉีดยาเข็มละประมาณ 400-500 บาท มากกว่าไปโรงพยาบาลเพราะหากไปโรงพยาบาลก็จะได้เพียงยาแก้ปวดและแก้ไข้เท่านั้นจึงไม่มีใครไปขอรับบริการ และรู้สึกดีใจที่วันนี้ทางภาครัฐเห็นความสำคัญด้วยการเข้ามากำจัดยุงลายในหมู่บ้าน
ขณะที่ นายสุทธิมาศ บินสะอาด นักวิชาการสาธารณสุขสตูล บอกว่า ปฏิบัติการควบคุมพื้นที่สีแดง และพื้นที่เสี่ยงเพื่อไม่ให้มีการขยายวงกว้างของการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาครั้งนี้จะฉีดพ่นทุกพื้นที่เป้าหมายในทุกอำเภอโดยเฉพาะในสวนและตามบ้านเรือน และจะปฎิบัติการซ้ำอีกครั้งจนกว่าจะแน่นใจว่ามีการเบาบางของโรคจริง พร้อมกันนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเนื่องจากทุกๆ 3 เดือนมีการฉีดพ่นกำจัดยุงลายอยู่แล้วซึ่งลักษณะการเป็นจะค่อยๆ เป็น แต่โรคชิคุนกุนยาจะมีการติดต่อของโรคเร็วมาก
ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคชิคุนกุนยา คือ การกำจัดยุงตัวแก่ และทำอย่างไรก็ได้อย่าให้ยุงกัด พร้อมกันนี้ฝากให้ทุกคนช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่บ้านและหากไม่จำเป็นจริงๆ อย่าไปในพื้นที่สีแดงที่อาจเสี่ยงที่มีผู้ป่วยอยู่อาจติดโรคได้
สำหรับสถานการณ์ของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ จ.สตูล ขณะนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ยืนยันจากระบบตรวจสอบของสาธารณสุขจังหวัดสตูล 3 ราย จากผู้ติดเชื้อเข้าค่าย 101 ราย และยังพบตัวเลขของผู้ที่อยู่ในค่ายสงสัยที่ไม่เข้าสู่ระบบอีก 222 ราย
วันที่ (20 พ.ค.) ทีมควบคุมโรคจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชศรีมา ร่วมกับหน่วยควบคุมโรคติดต่อที่ 8 อ.ควนกาหลง และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล นำรถออกพ่นสารเคมีทำลายยุงตัวแก่ในสวนและตามบ้านเรือนในพื้นที่ ต.บ้านควน อ.เมืองสตูล ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สีแดงหลังพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาอย่างหนักในพื้นที่ดังกล่าว
ขณะที่ชาวบ้านในละแวกยืนยันว่ามีการระบาดของโรคชิคุนกุนยารวดเร็วมากนานกว่า 2 เดือนแล้วและขณะนี้หลายครอบครัวก็ยังติดกันงอมแงม ซึ่งชาวบ้านเองก็หาวิธีในการรักษาและป้องกันกันเอง บ้างก็หาซื้อยาตามร้านมากินเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะยาพารา และยาเขียวที่มีการซื้อไปผสมกับน้ำมะพร้าวที่เชื่อว่าจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อได้ดี
นอกจากนี้ หากอาการหนักนั้นนายอับดุลลาเต๊ะ ปาลาวัน อายุ 52 ปี บ้านเลขที่ 52 หมู่ 7 ต.บ้านควน ที่เพิ่งหายจากโรคชิคุนกุนยาบอกว่า ชาวบ้านจะไปรักษาที่คลินิกในหมู่บ้านให้ฉีดยาเข็มละประมาณ 400-500 บาท มากกว่าไปโรงพยาบาลเพราะหากไปโรงพยาบาลก็จะได้เพียงยาแก้ปวดและแก้ไข้เท่านั้นจึงไม่มีใครไปขอรับบริการ และรู้สึกดีใจที่วันนี้ทางภาครัฐเห็นความสำคัญด้วยการเข้ามากำจัดยุงลายในหมู่บ้าน
ขณะที่ นายสุทธิมาศ บินสะอาด นักวิชาการสาธารณสุขสตูล บอกว่า ปฏิบัติการควบคุมพื้นที่สีแดง และพื้นที่เสี่ยงเพื่อไม่ให้มีการขยายวงกว้างของการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาครั้งนี้จะฉีดพ่นทุกพื้นที่เป้าหมายในทุกอำเภอโดยเฉพาะในสวนและตามบ้านเรือน และจะปฎิบัติการซ้ำอีกครั้งจนกว่าจะแน่นใจว่ามีการเบาบางของโรคจริง พร้อมกันนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเนื่องจากทุกๆ 3 เดือนมีการฉีดพ่นกำจัดยุงลายอยู่แล้วซึ่งลักษณะการเป็นจะค่อยๆ เป็น แต่โรคชิคุนกุนยาจะมีการติดต่อของโรคเร็วมาก
ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคชิคุนกุนยา คือ การกำจัดยุงตัวแก่ และทำอย่างไรก็ได้อย่าให้ยุงกัด พร้อมกันนี้ฝากให้ทุกคนช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่บ้านและหากไม่จำเป็นจริงๆ อย่าไปในพื้นที่สีแดงที่อาจเสี่ยงที่มีผู้ป่วยอยู่อาจติดโรคได้
สำหรับสถานการณ์ของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ จ.สตูล ขณะนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ยืนยันจากระบบตรวจสอบของสาธารณสุขจังหวัดสตูล 3 ราย จากผู้ติดเชื้อเข้าค่าย 101 ราย และยังพบตัวเลขของผู้ที่อยู่ในค่ายสงสัยที่ไม่เข้าสู่ระบบอีก 222 ราย