ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ปภ.ภูเก็ตเผยพบจุดเสี่ยงดินสไลด์-ถล่มในพื้นที่เพิ่มเป็น 26 จุด จัดอาสาสมัครสายตรวจเตือนภัยเฝ้าระวัง ระบุพบจุดเสี่ยงเพิ่มเนื่องจากมีการพัฒนาที่ดิน-โครงการสร้างบ้านจัดสรรคเกิดเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
นายโชตินรินทร์ เกิดสม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาดินถล่ม-ดินสไลด์ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝนว่า ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นเดิมจากการสำรวจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่ามีจุดเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาดินถล่ม ดินสไลด์ จำนวน 14 จุด
แต่จากการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่าขณะนี้มีจุดเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 26 จุด ซึ่งสาเหตุที่จังหวัดภูเก็ตมีจุดเสี่ยงภัยเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีการพัฒนา และการก่อสร้างเกิดขึ้นจำนวนมาก มีการเปิดหน้าดิน ทำให้หลายพื้นที่มีพื้นที่เสียงภัยดินสไลด์มากขึ้น
โดยจุดเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นนั้นกระจายไปทั้ง 3 อำเภอ พบที่อำเภอถลางมากที่สุด เนื่องจากความเจริญกระจายตัวของเมือง ส่วนอำเภอเมืองนั้นพบว่าในพื้นที่ตำบลรัษฎามีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม 26 จุดที่เป็นจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ถือว่าอยู่ในระดับสีเขียว หรือระดับ 3 ไม่อยู่ในระดับอันตราย
นายโชตินรินทร์กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าจุดเสี่ยงภัยในภูเก็ตจะอยู่ในระดับ 3 แต่จำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังกล่าวใกล้ชิดโดยมีการจัดตั้งสายตรวจเฝ้าระวังภัยขึ้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อเฝ้าตรวจสอบติดตามความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เพราะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยชุดสายตรวจดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปทุกจุดที่กำหนดไว้ในแผน ซึ่งคนเหล่านี้จะช่วยได้มาก เพราะถ้ามีปัญหาหรือพบจุดเสี่ยงก็จะแจ้งประสานมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
ด้าน นายสุรทิน เลี่ยนอุดม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลรัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการเฝ้าระวังปัญหาดินสไลด์ในพื้นที่ตำบลรัษฎาว่า จุดที่น่าเป็นห่วงนั้นมี 2 จุด คือ บริเวณบ้านเกาะสิเหร่ ม.1 และบริเวณ ม.5 ใกล้หมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง ถนนสายทุ่งคาพะเนียงแตก โดยจุดนี้ เมื่อเกิดฝนตกหนักก็จะมีดินสไลด์ลงมาบนถนน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่และสัญจรไปมาในเส้นทางดังกล่าวอย่างหนัก ซึ่งเบื้องต้นตนได้เข้าไปตรวจสอบและสั่งการให้เจ้าของโครงการได้ปรับลดขนาดกำแพงลงมาให้ต่ำกว่าเดิม
นอกจากนั้นยังให้กองช่างของเทศบาลฯเข้าตรวจสอบการก่อสร้างกำแพงโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เกิดปัญหาดินสไลด์ ซึ่งมีความยาว 500 เมตร หากไม่ได้มาตรฐานต้องมีการรื้อถอนทั้งหมด พร้อมทั้งให้เจ้าของโครงการได้จัดทำแผนแก้ไขให้เป็นระบบ และหามาตรการป้องกันในช่วงเวลาก่อสร้างทั้งเรื่องของเสียง-ฝุ่นละออง ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งป้องกันเศษวัสดุที่อาจจะตกลงใส่บ้านเรือนในระหว่างการก่อสร้าง หากเจ้าของโครงการไม่ปฏิบัติตามก็จะแจ้งความดำเนินคดีทันที
นายโชตินรินทร์ เกิดสม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาดินถล่ม-ดินสไลด์ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝนว่า ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นเดิมจากการสำรวจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่ามีจุดเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาดินถล่ม ดินสไลด์ จำนวน 14 จุด
แต่จากการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่าขณะนี้มีจุดเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 26 จุด ซึ่งสาเหตุที่จังหวัดภูเก็ตมีจุดเสี่ยงภัยเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีการพัฒนา และการก่อสร้างเกิดขึ้นจำนวนมาก มีการเปิดหน้าดิน ทำให้หลายพื้นที่มีพื้นที่เสียงภัยดินสไลด์มากขึ้น
โดยจุดเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นนั้นกระจายไปทั้ง 3 อำเภอ พบที่อำเภอถลางมากที่สุด เนื่องจากความเจริญกระจายตัวของเมือง ส่วนอำเภอเมืองนั้นพบว่าในพื้นที่ตำบลรัษฎามีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม 26 จุดที่เป็นจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ถือว่าอยู่ในระดับสีเขียว หรือระดับ 3 ไม่อยู่ในระดับอันตราย
นายโชตินรินทร์กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าจุดเสี่ยงภัยในภูเก็ตจะอยู่ในระดับ 3 แต่จำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังกล่าวใกล้ชิดโดยมีการจัดตั้งสายตรวจเฝ้าระวังภัยขึ้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อเฝ้าตรวจสอบติดตามความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เพราะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยชุดสายตรวจดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปทุกจุดที่กำหนดไว้ในแผน ซึ่งคนเหล่านี้จะช่วยได้มาก เพราะถ้ามีปัญหาหรือพบจุดเสี่ยงก็จะแจ้งประสานมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
ด้าน นายสุรทิน เลี่ยนอุดม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลรัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการเฝ้าระวังปัญหาดินสไลด์ในพื้นที่ตำบลรัษฎาว่า จุดที่น่าเป็นห่วงนั้นมี 2 จุด คือ บริเวณบ้านเกาะสิเหร่ ม.1 และบริเวณ ม.5 ใกล้หมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง ถนนสายทุ่งคาพะเนียงแตก โดยจุดนี้ เมื่อเกิดฝนตกหนักก็จะมีดินสไลด์ลงมาบนถนน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่และสัญจรไปมาในเส้นทางดังกล่าวอย่างหนัก ซึ่งเบื้องต้นตนได้เข้าไปตรวจสอบและสั่งการให้เจ้าของโครงการได้ปรับลดขนาดกำแพงลงมาให้ต่ำกว่าเดิม
นอกจากนั้นยังให้กองช่างของเทศบาลฯเข้าตรวจสอบการก่อสร้างกำแพงโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เกิดปัญหาดินสไลด์ ซึ่งมีความยาว 500 เมตร หากไม่ได้มาตรฐานต้องมีการรื้อถอนทั้งหมด พร้อมทั้งให้เจ้าของโครงการได้จัดทำแผนแก้ไขให้เป็นระบบ และหามาตรการป้องกันในช่วงเวลาก่อสร้างทั้งเรื่องของเสียง-ฝุ่นละออง ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งป้องกันเศษวัสดุที่อาจจะตกลงใส่บ้านเรือนในระหว่างการก่อสร้าง หากเจ้าของโครงการไม่ปฏิบัติตามก็จะแจ้งความดำเนินคดีทันที